ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

พลังงานเตรียมรับมือปิดซ่อมแหล่งก๊าซ หวั่นภาคใต้ไฟดับ

เริ่มโดย mrtnews, มี.ค 21, 14, 20:19:43 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

กระทรวงพลังงานวางแผนรับมือแหล่งก๊าซบงกช-เจดีเอ ปิดซ่อม รับเป็นห่วงพื้นที่ภาคใต้ หวั่นเกิดไฟฟ้าดับ เร่งหามาตรการป้องกัน...


นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานได้เรียกคณะทำงานติดตามการบริหารเชื้อเพลิงเพื่อหารือการปิดซ่อมแหล่งก๊าซ 2 แหล่งในปีนี้ คือ แหล่งบงกช ในช่วงวันที่ 10-27 เม.ย. 57 และแหล่งเจดีเอ ระหว่าง 13 มิ.ย.-10 ก.ค. 57 นี้ ทำให้โรงไฟฟ้าจะนะ ขนาด 700 เมกะวัตต์ ในภาคใต้ ต้องหยุดเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วย

ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงเป็นห่วงเรื่องไฟฟ้าภาคใต้ดับ จึงเตรียมมาตรการรองรับไว้หลายแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นการส่งไฟฟ้าจากภาคกลางให้กับภาคใต้ และสั่งการให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ หามาตรการเพื่อป้องกันไฟฟ้าดับในภาคใต้

ทั้งนี้ ได้สั่งการให้ ปตท.เตรียมน้ำมันเตาและดีเซลให้เพียงพอ เพื่อนำมาสำรองผลิตไฟฟ้า ส่วน กฟผ.ให้ทดสอบเตรียมความพร้อมโรงไฟฟ้า เพื่อใช้น้ำมันดีเซลทดแทนในช่วงก๊าซขาด รวมทั้งตรวจสอบสายส่งไฟฟ้าให้อยู้ในสภาพพร้อมใช้งาน ห้ามมีการหยุดซ่อมในช่วงที่เจดีเอปิด ขณะที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติก็จะทำหน้าที่กำกับการปิดซ่อมแหล่งก๊าซให้อยู่ ในกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้

ทางด้าน นายชาครีย์ บูรณกานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ปตท. เปิดเผยว่า การปิดซ่อมแหล่งเจดีเอ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตเอ็นจีวีในพื้นที่ภาคใต้ด้วย เนื่องจากโรงแยกก๊าซและท่อส่งก๊าซ ไทย- มาเลย์ (ทีทีเอ็ม) ได้ปิดซ่อมเป็นระยะเวลา 10 วัน ทำให้ก๊าซหายไปจากระบบด้วย

สำหรับสถานีบริการเอ็นจีวีในภาคใต้มี 14 แห่ง แบ่งเป็นนอกแนวท่อ 13 แห่ง และแนวท่อ 1 แห่ง ซึ่งภาคใต้มีความต้องการใช้เอ็นจีวีอยู่ที่ 190 ตันต่อวัน ดังนั้น ในช่วงที่แหล่งเจดีเอปิดซ่อม 28 วัน จะทำให้ในช่วง 10 วันแรก ก๊าซจะหายไปจากระบบ ทำให้ต้องขนส่งก๊าซจากราชบุรีและสมุทรปราการเข้ามาทดแทน ซึ่งยอมรับว่าอาจไม่เพียงพอ แต่ในช่วง 18 วัน หลังจากที่โรงแยกก๊าซทีทีเอ็มดำเนินการตามปกติ จะมีก๊าซค้างท่อ 110 ตันต่อวัน ปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลายลง.

ที่มา -




พลังงาน ห่วง 13 มิ.ย.- 10 ก.ค. ไฟฟ้าภาคใต้ไม่พอ

กระทรวงพลังงาน เผย แหล่งก๊าซเจดีเอ ปิดซ่อม 13 มิ.ย. - 10 ก.ค. 57 เสี่ยงไฟฟ้าภาคใต้ไม่พอ นัดวางแผนรับมือหลังสงกรานต์ เร่งลงทุนโรงผลิตก๊าซจากหญ้าเนเปียร์ ตั้งเป้ากำลังการผลิตในอนาคต 3 พันเมกะวัตต์ ภายในปี 64

นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การเตรียมแผนรับมือวิกฤติไฟฟ้า กรณีแหล่งก๊าซหยุดซ่อมบำรุง 2 แหล่งหลัก ในปี 2557 คือ แหล่งบงกช ในช่วงระหว่างวันที่ 10 - 27 เมษายน 2557 ทางกระทรวงพลังงาน จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อป้องกันปัญหา ยืนยัน จะไม่มีปัญหาไฟฟ้าดับ เพราะยังมีสำรองไฟฟ้าเหลืออยู่ประมาณ 4,000 เมกะวัตต์ แต่ทั้งนี้ มีความเป็นห่วงถึงการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้ ที่มีความเสี่ยงปริมาณไฟฟ้าไม่เพียงพอ จากการหยุดซ่อมแหล่งก๊าซธรรมชาติ ในพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและมาเลเซีย (เจดีเอ) ที่ปิดซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ ในระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน - 10 กรกฎาคม ทำให้โรงไฟฟ้าจะนะ จ.สงขลา กำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ ต้องหยุดผลิต ในขณะที่ความต้องการใช้ คาดว่าจะอยู่ที่ 2,543 เมกะวัตต์ เมื่อคำนวณจากกำลังการผลิตในพื้นที่แล้ว ทำให้ในช่วงพีคที่เกิดขึ้นในช่วงค่ำ ไฟฟ้าในภาคใต้จะขาดแคลนประมาณ 200 เมกะวัตต์

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานดูแลไม่ให้เกิดไฟฟ้าดับทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ เช่นปีที่ผ่านมา โดยกำหนดมาตรการหลัก 3 ข้อ คือ รณรงค์ประหยัดพลังงานลดการใช้ลงประมาณร้อยละ 10 ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปเสริมภาคใต้เพิ่มจาก 500 เมกะวัตต์ เป็นไม่ต่ำกว่า 700 เมกะวัตต์ และหากกรณีไฟฟ้าไม่เพียงพอ จะประสานงานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยอาจจำเป็นต้องดับไฟฟ้าบางพื้นที่ แต่จะพิจารณาให้ประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุด โดยจะวางแผนซ้อมรับมือหลังสงกรานต์

'พลังงาน' เร่งลงทุนผลิตก๊าซจากหญ้าเนเปียร์

นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงโครงการศึกษาวิจัยต้นแบบวิสาหกิจชุมชนพลังงานสีเขียวจากพืชพลังงานว่า กองทุนอนุรักษ์พลังงานได้ให้เงินสนับสนุนโครงการจำนวน 260 ล้านบาท เพื่อใช้ส่งเสริมและจูงใจภาคเอกชนที่สนใจจะลงทุน โดยมีแผนจะจัดสร้างโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพจากหญ้าเนเปียร์รวม 10 แห่งภายในปี 2558 ในพื้นที่แล้งน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ และพื้นที่ที่ปลูกข้าวไม่ได้ทั่วประเทศ กำลังการผลิตโรงละ 1 - 2 เมกะวัตต์ แต่ละโรงใช้หญ้าเนเปียร์ 100 - 120 ตันต่อวัน ซึ่งเป็นโครงการที่จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกหญ้าขายให้แก่โรงผลิตก๊าซ และจะเร่งส่งเสริมการปลูกหญ้าเนเปียร์มากขึ้น ด้วยการบรรจุลงในแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี หรือ EEDP เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซรวมเป็น 3,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2564 โดยขณะนี้มีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย 2 - 3 แห่ง เข้าร่วมวิจัยด้วย โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยจากเยอรมัน ซึ่งเป็นประเทศที่มีโรงผลิตก๊าซจากหญ้าเนเปียร์ กว่า 10,000 โรง ขณะที่อัตรารับซื้อไฟฟ้าระบบสนับสนุนเงินการผลิตไฟฟ้า ตามต้นทุนที่แท้จริง หรือ ฟีด อินทารีฟ ที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือ สนพ. กำหนดไว้ที่ 4.50 บาทต่อหน่วย แต่ภาคเอกชนเห็นว่าต่ำจนไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ขณะนี้กระทรวงพลังงาน ได้สั่งการให้ สนพ. ทบทวนและหาอัตราฟีดอินฯ ที่เหมาะสมแล้ว ก่อนที่จะนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. เมื่อการจัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้วเสร็จ

ที่มา -




หวั่นไฟฟ้าใต้ดับช่วงเจดีเอหยุด กำหนด 3 แผนรับมือ

กรุงเทพฯ 19 มี.ค. 57 - กระทรวงพลังงานวางแผนรับมือก๊าซฯ บงกชและเจดีเอปิดซ่อม แต่หวั่นพื้นที่ภาคใต้ไฟขาด 200 เมกะวัตต์ ช่วงเจดีเอหยุดซ่อม ทำ 3 แผนรับมือ วอนประชาชนประหยัดพลังงาน แต่หากเกิดปัญหาอาจต้องดับไฟบางพื้นที่ ส่วนเอ็นจีวีภาคใต้มีแนวโน้มขาดเช่นกัน พร้อมเปิดคิกออฟโรงไฟฟ้าหญ้าเนเปียร์

นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า แม้ว่าช่วงนี้จะมีอากาศร้อน แต่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ประเมินว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) ของปีนี้จะอยู่ปลายเดือนเมษายน ที่ 27,077 เมกะวัตต์ และในช่วงหล่งก๊าซฯ บงกชปิดซ่อมระหว่างวันที่ 10-27 เม.ย. 57 จะอยู่ในช่วงวันที่23-24 เม.ย. 57 อยู่ที่ 26,752 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้กระทรวงพลังงานได้ร่วมกับทุกภาคส่วนป้องกันปัญหา และขอยืนยันว่าไฟฟ้าจะไม่ดับ เพราะจะมีสำรองเหลืออยู่ประมาณ 4,000 เมกะวัตต์


อย่างไรก็ตาม น่าเป็นห่วงการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้ที่มีความเสี่ยงจากการหยุดซ่อมแหล่งผลิตจากก๊าซฯ ในพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทย-มาเลเซีย (เจดีเอ) ระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน-10 กรกฎาคม 2557 ทำให้โรงไฟฟ้าจะนะ จ.สงขลา 700 เมกะวัตต์ ในขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้สูงสุดช่วงนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 2,543 เมกะวัตต์ เมื่อคำนวณจากกำลังการผลิตในพื้นที่ที่มีเหลือ 2,300 เมกะวัตต์แล้วไฟฟ้าในภาคใต้จะขาดแคลนในช่วงพีคที่เกิดขึ้นในช่วงค่ำ 200 เมกะวัตต์

ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยง ทางกระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานช่วยดูแลไม่ให้เกิดไฟฟ้าดับใน 14 จังหวัดภาคใต้  โดยกำหนด 3 แผนหลัก คือ 1.รณรงค์ประหยัดพลังงาน 2.ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)ส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปเสริมภาคใต้เพิ่มจาก 500 เมกะวัตต์ เป็นไม่ต่ำกว่า 700 เมกะวัตต์ และ 3 หากกรณีไฟฟ้าไม่เพียงพอจริง กฟผ.ประสานงานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยอาจจำเป็นต้องดับไฟฟ้าบางพื้นที่  ซึ่งจะพิจารณาให้ประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุด และจะวางแผนซ้อมรับมือหลังสงกรานต์

นอกจากนี้ กระทรวงฯ ได้สั่งห้ามปิดซ่อมโรงไฟฟ้า สายส่ง โรงแยกก๊าซ และแหล่งผลิตก๊าซอื่นๆ ขอความร่วมมือให้หน่วยงานพื้นที่ทีมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองที่ผลิตจากเชื้อเพลิงทั้งจากน้ำมันดีเซล เช่น กฟผ. กองทัพบก รวมทั้งมีแคมเปญรณรงค์ประหยัดพลังงานทุกภาคส่วน มีการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพลังงานชุมชน เพื่อร่วมรับมือวิกฤติที่อาจเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันได้ให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติประสาน ปตท.และผู้ผลิตปิโตรเลียม ทำแผนการปิดซ่อมบำรุง 5 ปี เพื่อเตรียมแผนงานในการจัดหาพลังงานให้เพียงพอ

นายชาครีย์ บูรณกานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ปตท.กล่าวว่า ปตท.ได้สำรองเชื้อเพลิงทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเหลว หรือแอลเอ็นจี รองรับช่วงการปิดซ่อมในช่วงดังกล่าว ซึ่งในช่วงเดือนเมษายนจะไม่กระทบเรื่องการให้บริการเอ็นจีวี แต่ในช่วงเจดีเอปิดซ่อมจะกระทบต่อการบริการเอ็นจีวีใน 3 จังหวัดคือ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสงขลา จำนวน 14 ปั๊ม เพราะการผลิตก๊าซเอ็นจีวีจากแหล่งเจดีเอ 190 ตัน/วัน จะหายไปจำนวน 10 วัน หลังจากนั้นอีก 18 วัน จะผลิตได้ 110 ตัน/วัน ซึ่งในขณะนี้เตรียมแผนขนส่งจากภาคกลางลงไปบริการ และในช่วงนั้นอาจะเกิดปัญหาเอ็นจีวีขาดแคลนบ้าง ซึ่งจะมีการประชาสัมพันธ์แจ้งให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง   

นายสุเทพยังได้มอบสัญญาความร่วมมือให้เอกชน 10 แห่ง เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากหญ้าเลี้ยงช้าง หรือหญ้าเนเปียร์ ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งกำหนดเป้าหมายผลิตไฟฟ้าจากหญ้าเนเปียร์ได้ 3,000 เกะวัตต์ แต่ภาคเอกชนเห็นว่าราคารับซื้อไฟฟ้า หรือฟีดอินทารีฟ ที่ปัจจุบันรับซื้อในราคา 4.50 บาทต่อหน่วย เป็นอัตราต่ำไม่คุ้มต่อการลงทุน จึงได้สั่งการให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ทบทวนราคารับซื้อไฟฟ้าจากหญ้าเนเปียร์ เพื่อเตรียมเสนอรัฐบาลใหม่. - สำนักข่าวไทย

ที่มา -