ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

เอพีวิเคราะห์ “คำตัดสินของศาล ICJ” เป็นการหาทางลงให้กับญี่ปุ่นเรื่อง “ล่าวาฬ”

เริ่มโดย mrtnews, เม.ย 19, 14, 22:29:44 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 3 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เอพี - สำนักข่าวเอพีชี้ คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ที่สั่งห้ามญี่ปุ่นล่าวาฬล่าสุดนั้นอาจเป็นการหาทางออกทางการเมืองให้กับรัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีสายเหยี่ยวอย่าง ชินโซ อาเบะ


ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับความฉุนเฉียวของกลุ่มล็อบบี้ยิสต์ต่อต้านการล่าวาฬ และถูกติเตียนจากการปะทะกับนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศต่างๆมาโดยตลอด แต่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ล่าสุด ถูกมองว่า เป็นหนึ่งในความพยายามในการหา "บันได" ให้ญี่ปุ่นสามารถก้าวลงจากจุดยืนแข็งกร้าวของตนในเรื่องการล่าวาฬได้ โดยที่โตเกียวไม่เสียหน้ามากนัก

"ผมรู้สึกเหมือนกับว่ารัฐบาลญี่ปุ่นพร้อมที่จะปล่อยให้เรื่องนี้หลุดมือพวกเขาไปโดยเร็วที่สุด" มาซายูกิ โคมัตสึ อดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านประมงของญี่ปุ่นกล่าว โดยโคมัตสึผู้นี้เป็นที่รู้จักดีในแวดวงการต่อสู้กับองค์กรนานาชาติเพื่อปกป้องการล่าวาฬของดินแดนลูกพระอาทิตย์


ก่อนหน้านี้ ในวันที่ 31 มีนาคม 57 ที่ผ่านมา ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่ตั้งอยู่ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้พิพากษาให้รัฐบาลญี่ปุ่นยุติการอนุญาตล่าวาฬสำหรับโครงการวิจัยแอนตาร์กติก ที่ญี่ปุ่นใช้เป็นข้ออ้างในการสังหารวาฬได้ถึงปีละ 1,000 ตัว โดยศาลฯที่รับคำฟ้องจากออสเตรเลียได้ตัดสินว่าโครงการวิจัยแอนตาร์กติกของญี่ปุ่นนั้นไม่ใช่ "การวิจัยทางวิทยาศาตร์" ตามที่โตเกียว กล่าวอ้าง

หลังคำพิพากษาของศาลฯ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของญี่ปุ่นพากันประณามคำพิพากษาดังกล่าว และระบุว่า "เป็นสิ่งที่น่าเสียใจ" แต่ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้น รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะกลับประกาศจะยอมทำตามมติศาล และในวันถัดมา หน่วยงานด้านประมงของญี่ปุ่นก็ประกาศบอกผ่านฤดูล่าวาฬในปีหน้า

"ญี่ปุ่นไม่ได้ไปศาลเพื่อยอมแพ้ แต่ เห็นได้ชัดว่าโครงการล่าวาฬต้องมีการเปลี่ยนแปลง" แหล่งข่าวจากรัฐบาลญี่ปุ่นเผย

ในความเป็นจริงแล้ว เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นจำนวนมากรวมถึงผู้อยู่ในแวดวงประมงต่างตระหนักถึงปัญหาของโครงการวิจัยนี้มานานแล้ว แต่ยังมีพวกหนุนการล่าวาฬแบบแข็งขันและนักการเมืองผู้ทรงอิทธิพลบางรายในญี่ปุ่นที่ยังคง "ดันทุรัง"

โครงการวิจัยที่มีจุดประสงค์แอบแฝงเพื่อการล่าวาฬของญี่ปุ่นนั้นเริ่มต้นในปี 1987 และเนื้อวาฬจำนวนมากถูกจำหน่ายในประเทศ แต่ยอดขายได้ลดลงอย่างต่อเนื่องเพราะเนื้อวาฬไม่เป็นที่นิยมเช่นในอดีต เป็นผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องให้เงินหนุนเพิ่มขึ้นเพื่อให้โครงการวิจัยแอนตาร์กติกยังดำเนินงานต่อไปได้

นับตั้งแต่แรกที่โครงการนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นราว 500 ล้านเยน (5 ล้านดอลลาร์) ต่อปี หรือ 10% ของค่าใช้จ่ายของโครงการ เพิ่มเป็น 900 ล้านเยน (9 ล้านดอลลาร์) ในปี 2007 และมีการตั้งเป้าว่าเงินสนับสนุนจะสูงเกิน 5 พันล้านเยน (50 ล้านดอลลาร์) ในครบรอบปีงบประมาณวันที่ 30 กันยายน ซึ่งรวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการต่อกรกับกลุ่มอนุรักษ์ ที่มักส่งเรือเล็กไปไล่สกัดเรือล่าวาฬของญี่ปุ่นในน่านน้ำต่างๆทั่วโลก


อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ญี่ปุ่นถอยห่างจากจุดยืนแข็งกร้าวของตนเรื่องการล่าวาฬได้โดยไม่เสียหน้า และยังเปิดช่องทางเทคนิคให้ญี่ปุ่นปรับปรุงโครงการล่าวาฬใหม่เพื่อให้สอดคล้องการวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง แม้จะยังมีนักการเมืองสายเหยี่ยวบางคนของญี่ปุ่นที่คิดว่าญี่ปุ่นควรหวนกลับไปหาการล่าวาฬเพื่อการค้าโดยไม่ต้องสนใจท่าทีของประชาคมโลก

แต่ถึงกระนั้น เริ่มมีผู้เชี่ยวชาญมากมายรวมไปถึงเจ้าหน้าที่รัฐหัวก้าวหน้าในโตเกียวที่เริ่มคัดค้านพวกสายเหยี่ยว พร้อมย้ำว่า ความดันทุรังในเรื่องการล่าวาฬจะกลายอุปสรรคต่อความพยายามของญี่ปุ่นที่ต้องการเสริมสร้างความเป็น "นิติรัฐสากล" และอาจไม่เป็นผลดีต่อญี่ปุ่น โดยเฉพาะในกรณีพิพาทเขตแดนทางทะเลกับชาติเพื่อนบ้านอย่างจีนและเกาหลีใต้

ที่มา -