ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ท่องสมุทรสุดชื่นฉ่ำใน "แหล่งดำน้ำเทียม" งาน Thailand Dive Expo

เริ่มโดย mrtnews, เม.ย 26, 14, 19:30:32 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ร้อนๆ แบบนี้ "ทะเล" น่าจะเป็นปลายทางอันดับต้นๆ ที่นักท่องเที่ยวสนใจ ส่วน Thailand Dive Expo 2014 ก็เป็นงานใหญ่ที่นักดำน้ำและผู้สนใจเกี่ยวกับกีฬาดำน้ำรอคอยมาแสนนาน


ความพิเศษของงาน Thailand Dive Expo ในปีนี้ไม่เพียงแต่จะให้นักท่องโลกใต้น้ำได้สัมผัสโลกใต้ทะเลและความคุ้มค่าของสินค้ารวมถึงบริการที่หลากหลายเท่านั้น ทว่า ยังมีแหล่งดำน้ำพิเศษที่จะแนะนำในงาน นั่นก็คือ "แหล่งดำน้ำเทียม"

แหล่งดำน้ำเทียมมีความแตกต่างจากแหล่งดำน้ำธรรมชาติ เนื่องจากเป็นสิ่งก่อสร้างที่ต้องอยู่ใต้น้ำ จึงต้องมีความคงทน แข็งแรง มีรูปร่างแปลกตา เพื่อเสริมประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้กับนักดำน้ำ โดยแหล่งดำน้ำเทียมในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของยานพาหนะ เช่น เรือรบ รถถัง ตู้รถไฟ เครื่องบิน เป็นต้น อีกส่วนหนึ่งจะเป็นในรูปแบบของประติมากรรมใต้น้ำ เช่น รูปปั้นช้าง พะยูน ลิง เป็นต้น

ในประเทศไทยมีแหล่งดำน้ำเทียมเกือบจะทุกจังหวัดที่ติดชายฝั่ง แบ่งเป็นฝั่งอ่าวไทยได้คร่าวๆ ประมาณ 20 จุด และฝั่งอันดามันประมาณ 16 จุด ที่ยังคงมีนักดำน้ำใช้ประโยชน์ ซึ่งแต่ละแห่งจะอยู่ใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมืองไทย

สำหรับแหล่งดำน้ำเทียมที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ฝั่งอ่าวไทย ได้แก่ เรือหลวงคราม - เกาะไผ่ และเรือหลวงกูด - เกาะสาก จังหวัดชลบุรี ไฮไลท์ที่น่าสนใจของเรือทั้ง 2 ลำนี้ คือ เป็นแหล่งดำน้ำเทียมรุ่นแรกๆ ของประเทศไทย และเป็นเรือรบที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เหมาะสำหรับนักดำน้ำที่ชอบความตื่นเต้น ผจญภัย ชอบความแปลกใหม่ของพื้นที่ดำน้ำ โดยเรือหลวงลำนี้จมดิ่งลงสู่ท้องทะเลมาเป็นระยะเวลานานถึง 11 ปี ดังนั้นสิ่งมีชีวิตใต้น้ำจึงมีความหลากหลายทั้งชนิดและขนาด เช่น ปะการังอ่อนสีชมพูต้นอวบกัลปังหาสีส้มขนาดใหญ่ ทากเปลือยหลากสีสัน ปลาสากดำ ปลาหมอ เป็นต้น

ใต้ลงมาอีกสักนิด คือ เรือหลวงสัตกูด - เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะเต่าเป็นบริเวณที่มีการเรียนการสอนดำน้ำติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ทะเลรอบเกาะเต่าจึงเป็นจุดดำน้ำแทบจะทั้งหมด การมีเรือหลวงสัตกูดเพิ่มเข้าไปยิ่งทำให้นักดำน้ำสนใจมากขึ้น นอกจากจะเป็นแหล่งดำน้ำเทียมที่ช่วยลดผลกระทบจากการดำน้ำในแนวปะการังธรรมชาติแล้ว เรือหลวงสัตกูดยังเป็นแหล่งเรียนดำน้ำหลักสูตร Wreck Dive (การดำน้ำในเรือจม) เมื่อผ่านหลักสูตรนี้สามารถก็ดำน้ำเข้าไปในตัวเรือได้อย่างปลอดภัย เรียกได้ว่านอกจากจะได้ชมระบบนิเวศใต้น้ำกันแล้ว ยังได้ชมความสวยงามแบบคลาสสิกของเรือรบหลวงอีกด้วย

แหล่งดำน้ำฝั่งทะเลอันดามันนับว่ามีความแตกต่างอย่างน่าสนใจ แหล่งดำน้ำเทียมส่วนใหญ่อยู่ในรูปประติมากรรม เนื่องจากในช่วงที่เกิดสึนามิ แนวปะการังธรรมชาติเกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก ผลกระทบที่เกิดจากคลื่นสึนามิทำให้จำนวนแหล่งดำน้ำในประเทศไทยลดลง รวมทั้งจุดดำน้ำที่เหลืออยู่มีความเสื่อมโทรมลง ซึ่งวิธีการที่จะช่วยฟื้นฟูแหล่งดำน้ำธรรมชาติ คือการสร้างแหล่งดำน้ำหรือจุดดำน้ำใหม่เพิ่มขึ้น และแหล่งดำน้ำเทียมฝั่งอันดามันที่นักดำน้ำนิยม คือ สวนสิบสองนักษัตร - หมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา ซึ่งมีความลึกมากสุดเพียง 9 เมตร น้ำใสพื้นทรายขาว จึงเป็นแหล่งดำน้ำเทียมที่เหมาะสำหรับนักดำน้ำที่ห่างการดำน้ำไปนานต้องมีการทบทวน หรือนักดำน้ำที่เพิ่งผ่านหลักสูตร open water diver (ดำน้ำได้ที่ความลึกมากสุด 18 เมตร)


บริเวณใกล้นี้ยังมีแหล่งประติมากรรมที่น่าสนใจ คือ แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นภาพสาวน้อยรวบผมผลงานจาก อาจารย์กำจร สุนพงษ์ศรี บรมครูศิลปิน และตู้ไปรษณีย์ใต้น้ำแห่งแรกของเอเชีย ที่มีต้นแบบมาจากตู้ไปรษณีย์ที่ใหญ่สุดในโลก ณ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา นอกจากนี้ยังมี พะยูนกามเทพ จังหวัดตรัง ซึ่งทุกๆ ปีที่มีการจัดงานวิวาห์ใต้สมุทร ก็จะมีการดำน้ำชมประติมากรรมและถ่ายรูปคู่ประติมากรรมเป็นที่ระลึกด้วย

หากใครชอบการผจญภัยใต้น้ำ และมีแหล่งดำน้ำเทียมในใจ แนะนำให้แวะไปศึกษาเพิ่มเติมที่งาน Thailand Dive Expo 2014 ที่จัดพร้อมกับงาน " วันธรรมดาที่ไม่ธรรมดา " ตอน วันธรรมดา ราคาเดียว ระหว่างวันที่ 15 -18 พฤษภาคม 2557 ณ เพลนารีฮอลล์ 1 (Plenary Hall 1) ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่เวลา 11.00 - 20.00 น.

การดำน้ำไม่ว่าจะเป็นแหล่งดำน้ำเทียมหรือแหล่งดำน้ำธรรมชาติสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงอยู่เสมอ คือ ความปลอดภัยในการดำน้ำ ดังนั้นควรตรวจเช็คสภาพร่างกายว่าพร้อมที่จะดำน้ำหรือไม่ รวมถึงความพร้อมของอุปกรณ์ และก่อนการดำน้ำทุกครั้งจะต้องมีการอธิบายเกี่ยวกับพื้นที่แหล่งดำน้ำ กระแสน้ำ สภาพใต้ท้องทะเล นักดำน้ำควรให้ความสนใจด้วย

ที่มา -