ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

สภาพัฒน์ปรับเงินลงทุนทวายเพิ่ม 1.5 แสนล้าน

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 07, 13, 23:24:49 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

สศช.ปรับกรอบเงินลงทุนทวายเพิ่มอีก 1.5 แสนล้านบาท รวมโครงการโรงไฟฟ้าและการพัฒนานิคมฯ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าคณะกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฏร ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงเรื่องความคืบหน้าและการดำเนินงานในการเตรียมความพร้อม โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศเมียนมาร์ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 7 หน่วยงาน เช่น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สสค.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงพาณิชย์ การท่าเรือแห่งประเทศไทย และ บริษัท อิตาเลียนไทยดีเวลล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ "ITD" เป็นต้น

นายชาญวิทย์ อมตะมาทุชาติ รองเลขาธิการสศช.กล่าวว่าหลังจากที่โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายได้รับการยกระดับโครงการจากรัฐบาลไทยและเมียนมาร์ในปี 2554 ที่ผ่านมา และในการประชุมครั้งแรกที่ประเทศไทยได้มีการตั้งคณะทำงานระดับสูงเป็นกลไกร่วมกัน 3 ระดับ รวมทั้งได้มีประชุมร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศระหว่างคณะทำงานฯ 6 ชุดที่มีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นประธาน ครั้งล่าสุดที่กรุงเนปิดอว์ ประเทศเมียนมาร์ จนถึงขณะนี้โครงการทวายได้มีควาคืบหน้าไปหลายส่วน เช่นการก่อสร้างถนนจากชายแดน จ.กาญจนบุรี ไปยังโครงการทวาย ระยะทาง 132 กิโลเมตร โดยเป็นถนนเข้าสู่โครงการที่รอจะพัฒนาเชื่อมต่อกับถนนมอเตอร์เวย์และเป็นเส้นทางหลักเข้าสู่โครงการทวายในระยะต่อไป ซึ่งโครงสร้างถนนและท่าเรือน้ำลึกระยะที่ 1 จะสามารถก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2558

ส่วนโครงการก่อสร้างพื้นฐานอื่นๆของโครงการทวาย เช่นโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า การสร้างระบบรางเพื่อเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่ง การสร้างเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำจืด ระบบบำบัดน้ำเสีย รวมทั้งระบบติดต่อสื่อสารและโทรคมนาคม ขณะนี้คณะทำงานฝ่ายไทยอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดทั้งรูปแบบ ความคุ้มค่าในการลงทุน รวมทั้งการคิดค่าตอบแทนในกรณีที่จะต้องลงทุนทางธุรกิจ เพื่อให้ได้ข้อมูลส่วนหนึ่งไปเสนอกับรัฐบาลเมียนมาร์เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ ของนักลงทุนเพื่อให้โครงการนี้มีความน่าสนใจและดึงดูดนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศเข้าไปลงทุนในอนาคต

ทั้งนี้สศช.ได้ปรับประมาณการลงทุนโครงการฯทวายจากเดิมที่ ITD ได้เคยจัดทำไว้เป็นวงเงินในการพัฒนาโครงการเป็นวงเงินทั้งสิ้นประมาณ 2 แสนล้านบาท เป็นวงเงินประมาณ 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งวงเงินที่เพิ่มขึ้นเป็นวงเงินที่รวมการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมจำนวน1 หมื่นไร่ ไร่ละ 2 ล้านบาท รวมวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท และวงเงินในการพัฒนาโรงไฟฟ้าระยะที่ 1 ในโครงการได้แก่โรงไฟฟ้าก๊าซธรรชาติขนาด 33 เมกะวัตต์และโรงไฟฟ้าพลังงงานความร้อนร่วมขนาด 180 เมกะวัตต์วงเงิน 3.2 หมื่นล้านบาท โดยวงเงินลงทุน 3.5 แสนล้านบาท แบ่งเป็นประมาณการลงทุนการลงทุนระยะที่ 1 ภายในปี 2558 วงเงิน 2.04 แสนล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในเมียนมาร์ 1.48 แสนล้านบาท และลงทุนโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมเชื่อมโยงจากประเทศไทยไปยังโครงการ 5.59 หมื่นล้านบาท การลงทุนระยะที่ 2 (2559 - 2563) 1.2 แสนล้านบาท เป็นการลงทุนในเมียนมาร์ 1 แสนล้านบาท และลงทุนโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมเชื่อมโยงจากประเทศไทยไปยังโครงการ 2.03 หมื่นล้านบาท

ที่มา -




'อิตัลไทย'การันตี 'ทวายโปรเจกต์' เสร็จทันปี 58

"อิตัลไทย" การันตี "ทวายโปรเจกต์" เสร็จทันตามแผนในปี 58 ทั้งการสร้างถนนเชื่อมและท่าเรือน้ำลึก แม้ได้รับผลกระทบจากขึ้นค่าแรง 300 เชื่อการปรับแผน Framework Agreement ของพม่า จะไม่กระทบการทำงาน...


เมื่อวันที่ 9 ม.ค.2556 นายสุเมธ สุรบถโสภณ รองประธานบริหารอาวุโส บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การเดินหน้าโครงการทวายโปรเจกต์ในส่วนที่บริษัท อิตาเลียนไทยฯ รับผิดชอบ เช่น การก่อสร้าง Roadlink ระยะทาง 160 กิโลเมตร และท่าเรือน้ำลึกทวาย จะแล้วเสร็จตามแผนในปี 2558 อย่างแน่นอน แม้จะเกิดความไม่ชัดเจนในกรณีที่รัฐบาลพม่าต้องการจะปรับ Framework Agreement ประกอบกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท ซึ่งทางอิตาเลียนไทยได้เตรียมเพิ่มจำนวนคนงานและเครื่องจักรลงพื้นที่ เพื่อเร่งดำเนินการให้เสร็จทันตามแผน ซึ่งขณะนี้ท่าเรือเล็ก และ Access road เข้าโครงการดำเนินการแล้วเสร็จ และพร้อมที่จะลงมือก่อสร้างท่าเรือหลักได้ภายในปีนี้

ในวันเดียวกัน พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาจ้าง โครงการปรับปรุงทางขึ้น-ลง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร กับถนนทางรถไฟสายเก่า บริเวณทางแยกต่างระดับอาจณรงค์ ระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ วงเงินก่อสร้างกว่า 131 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 450 วัน คาดว่า จะก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการในเดือน เม.ย.2557 สำหรับการปรับปรุงทางขึ้น-ลง ดังกล่าว เป็น 1 ใน 10 จุดที่ กทพ. จะต้องสร้างใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้ใช้ทางด่วน และแก้ปัญหาการจราจรแออัดบนทางด่วน

ด้านนายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กทพ. จะทยอยติดตั้งระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ (อีซี่พาส) เพิ่มอีก 100 เคาน์เตอร์ โดยใช้งบประมาณเคาน์เตอร์ละ 2 ล้านบาท ซึ่งการติดตั้งดังกล่าวจะช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่านที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ ส่วนจะติดตั้งจุดใดบ้าง จะมีการพิจารณาตามความเหมาะสมอีกครั้ง

ที่มา -