ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

‘ปตท.สผ’ ระดมทุน 5 หมื่นล้านภายในเดือนเดียว

เริ่มโดย mrtnews, มิ.ย 20, 14, 21:51:54 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ปตท.สผ. ระดมทุน 5 หมื่นล้านบาทภายในเดือนเดียว ล่าสุดประกาศเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์มูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์


จากการรวบรวมข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพบว่า ในเดือน มิ.ย.2557 บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิรโตเลียม (PTTEP) ระดมทุนมูลค่าเกือบ 5 หมื่นล้านบาท โดยเมื่อวันที่ 6 มิ.ย.2557 ได้ระดมทุนโดยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินบาท มูลค่า 1.96 หมื่นล้านบาท โดยหุ้นกู้แบ่งเป็น 2 ชุดๆ แรก อายุ 5 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 3.91% มูลค่า 8.2 พันล้านบาท ชุดที่สอง หุ้นกู้อายุ 15 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.82%มูลค่ารวม 1.14 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ จากบริษัททริสเรทติ้ง ที่ระดับ AAA โดยบริษัทจะนำเงินในครั้งนี้ไปใช้ในโครงการสำรวจและผลิตต่างๆ

ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2557 บริษัทได้ดำเนินการออกและเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน ไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท (Hybrid Bonds) ให้กับนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ จำนวน 1,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ต่อปี 4.875% ใน 5 ปีแรกสำหรับการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในปีถัดไปมีรายละเอียดตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน

ทั้งนี้ ปตท.สผ.มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ทั้งจำนวนภายหลังครบกำหนด 5 ปีหรือ 10 ปีนับจากวันออกหุ้นกู้ หรือวันชำระดอกเบี้ยหุ้นกู้แต่ละครั้งภายหลังจากปีที่ 10 รวมถึงตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจาก สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส และ มูดี้ส์ ที่ระดับ BBB- และ Baa3 ตามลำดับ สำหรับเงินที่ได้รับจากการออกหุ้นกู้ในครั้งนี้ บริษัทจะนำไปใช้เพื่อการพัฒนาโครงการสำรวจและผลิตต่างๆ รวมถึงใช้ในกิจการทั่วไปเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของบริษัทในอนาคต

การเคลื่อนไหวราคาหุ้นปตท.สผ. ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และราคาเคยปรับตัวขึ้นไปสูงสุดที่ 167.50 บาท ซึ่งเป็นราคาสูงสุดรอบ 5 เดือน ล่าสุดปิดตลาดที่ราคา 164.50 บาท

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เคที ซีมิโก้ กล่าวว่า ฝ่ายวิจัยประเมินหุ้นปตท.สผ.นั้น น่าจะเป็นหุ้นที่ปลอดภัยในระยะสั้น และระยะยาว ก็มีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากผลบวกของราคาน้ำมันโลกพุ่งสูงขึ้น จากเหตุความไม่สงบในอิรัก อีกทั้งเป็นหุ้นปลอดภัยที่คาดจะไม่ได้รับผลกระทบจากการปฏิรูปราคาพลังงาน ขณะที่การเร่งสะสางประเด็นต่างๆ ของคสช. ที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม (การเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21/แนวทางที่ชัดเจนสำหรับสัญญาสัมปทานแหล่งปิโตรเลียมที่จะหมดอายุลง/การเร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา) อาจเพิ่มศักยภาพในการขยายฐานปริมาณสำรอง และการผลิตปิโตรเลียมของบริษัทในระยะยาวตลาดกังวลศักยภาพของอิรักในการเพิ่มปริมาณการส่งออกน้ำมัน

"จากสถานการณ์ในอิรักที่ทวีความรุนแรงทางตอนเหนือของประเทศ ทำให้ตลาดกังวลต่อความเสี่ยงของการชะงักของอุปทานน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 9 เดือน แม้ความเสี่ยงของการลดลงของอุปทานน้ำมันจากอิรักจะอยู่ในระดับจำกัดในระยะสั้น เนื่องจากแหล่งน้ำมันดิบส่วนใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งยังไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุความรุนแรงรอบนี้ ส่วนในอิหร่าน จากผลกระทบของมาตรการคว่ำบาตรทำให้บริษัทปตท.สผ.ได้ประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน" นักวิเคราะห์กล่าว

เขากล่าวว่า บริษัทปตท.สผ.มีสัดส่วนปริมาณการขายน้ำมันคิดเป็น 1 ใน 3 บริษัทจึงได้รับผลบวกจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบ จากการศึกษาพบว่า สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบ 105 ดอลลาร์ในปี 2557 ราคาเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันอยู่ที่ 104.8 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ที่เปลี่ยนแปลงไปทุกๆ 1 ดอลลาร์จะมีผลกระทบต่อกำไรสุทธิของ PTTEP ราว 1% หรือประมาณ 650 ล้านบาท


ในขณะที่ผู้ประกอบการปลายน้ำ โดยเฉพาะผู้ค้าปลีกน้ำมัน ยังมีความเสี่ยง จากแนวทางการปฏิรูปราคาพลังงานของ คสช.ที่ได้มีการนำร่องในการลดราคาน้ำมันดีเซลลง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับลดค่าการตลาดของผู้ค้าปลีกน้ำมันลง ดังนั้น สัญญาณการแทรกแซงของรัฐบาลดังกล่าว ทำให้ตลาดเกิดความกังวลต่อความเสี่ยงเชิงลบต่ออัตรากำไรของผู้ประกอบการปลายน้ำศักยภาพในการขยายฐานปริมาณสำรองและปริมาณการผลิตในระยะยาว ซึ่งอายุปริมาณสำรองก๊าซฯ และน้ำมันของไทยที่เหลืออยู่ราว 7 ปี และ 3 ปี ตามลำดับ

คาดว่าจะเร่งให้คสช. หยิบยกประเด็นที่ยังคาราคาซังเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม อาทิการเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 แนวทางที่ชัดเจนสำหรับสัญญาสัมปทานแหล่งปิโตรเลียมที่จะหมดอายุลง (ต้องมีความชัดเจน 5 ปีล่วงหน้า ก่อนที่สัมปทานส่วนใหญ่จะหมดอายุลงในปี 2565) และการเร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ซึ่งอาจนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพในการขยายฐานปริมาณสำรอง และการผลิตปิโตรเลียมของบริษัทในระยะยาว

ที่มา -