ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

โขกค่ายกตู้คอนเทนเนอร์ 1.2 พันล. ลานสินค้าแสบโบ้ยผู้ส่งออกวิ่งโร่ฟ้อง ก.พาณิชย์

เริ่มโดย mrtnews, ก.ค 16, 14, 19:51:02 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

สภาผู้ส่งออกฯโร่ฟ้องกรมการค้าภายใน คุมค่าใช้จ่ายขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 15 ก.ค. 57 นี้ หลังผู้ประกอบการลานตู้ เรียกค่ายกตู้คอนเทนเนอร์จากผู้ประกอบการเรือไม่ได้ หันมาไล่เก็บจากผู้ส่งออกแทน ทั้งที่ไม่เคยเรียกเก็บมาก่อน หวั่นกระทบต้นทุนขนส่งสินค้า 1,200 ล้านบาทต่อปี


นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ที่ปรึกษาสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตามที่สภาผู้ส่งออกฯได้รับการร้องเรียนจากสมาชิก เรื่องการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และค่าบริการต่าง ๆ บริเวณท่าเรือ โดยเฉพาะค่ายกตู้คอนเทนเนอร์จากลานตู้คอนเทนเนอร์ (Lift on Charge) ของผู้ประกอบการลานตู้คอนเทนเนอร์อย่างไม่เป็นธรรมต่อผู้ส่งออก เพราะไม่เคยมีการเรียกเก็บค่าบริการนี้มาก่อน ทั้งยังไม่มีการแจ้งล่วงหน้า และไม่ชี้แจงรายละเอียดถึงปัจจัยและสาเหตุที่เรียกเก็บ ทำให้ผู้ส่งออก-นำเข้าได้รับผลกระทบ จึงได้ทำหนังสือขอหารือไปยังกรมการค้าภายในตั้งแต่เดือนที่ผ่านมา ล่าสุดทางกรมการค้าภายในได้มีหนังสือให้สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยเข้าประชุมหารือถึงกรณีดังกล่าวในวันที่ 15 กรกฎาคม 2557 นี้ เพื่อหาทางออกเรื่องนี้

"เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา ทางสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือ ทางผู้ส่งออกและผู้ประกอบการเรือ และผู้เกี่ยวข้องนัดประชุมหารือกันภายในเรื่องดังกล่าว เพื่อพูดคุยถึงสาเหตุของการปรับขึ้นค่าบริการบริเวณท่าเรือแล้วว่า มีปัจจัยอะไรที่ทำให้มีการคิดค่าบริการเพิ่มขึ้นจากต้นทุนของรัฐบาลหรือไม่ หรือปัจจัยอื่น ๆ เพื่อรวบรวมปัญหาที่ส่งผลกระทบ และจะได้เจรจาร่วมกันเพื่อหาทางออก โดยให้ทั้งสองฝ่ายยอมรับค่าบริการที่เกิดขึ้นให้ได้ แต่ภายในการประชุมผู้ประกอบการลานตู้คอนเทนเนอร์ไม่ได้ร่วมประชุม ขณะที่ผู้ประกอบการทางเรือได้แจงว่าไม่ได้ปรับขึ้นค่าบริการแต่อย่างใด"

กลไกการแก้ปัญหาที่ผ่านมา จะมีคณะทำงานร่วมกันเพื่อดูค่าบริการบริเวณท่าเรือ ซึ่งจะร่วมกันทั้งผู้ส่งออก-ผู้นำเข้า ผู้ประกอบการ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ แต่มีการประชุมน้อยครั้ง เนื่องจากหากมีการคิดค่าบริการที่เปลี่ยนไปจากเดิมก็จะหารือกันภายในเพื่อหาข้อสรุปหรือตกลงกันได้ เรื่องก็จบ ไปไม่ถึงคณะทำงาน ยกเว้นกรณีที่ตกลงกันไม่ได้เรื่องถึงเข้าสู่คณะทำงาน ซึ่งโดยปกติผู้ประกอบการเรือจะมีการปรับขึ้น-ลดอัตราการค่าบริการ ตามปัจจัยทางเศรษฐกิจและการแข่งขันในช่วงเวลานั้น แต่ปัจจุบันค่าบริการต่าง ๆ ปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเรียก Lift on Charge ของผู้ประกอบการลานตู้คอนเทนเนอร์โดยไม่มีการชี้แจงหรือบอกล่วงหน้า ส่งผลให้ผู้ส่งออกมีภาระเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังถูกเรียกเก็บค่าบริการอื่น ๆ เช่น ค่าแรง ค่าจัดหา หรือค่าตู้คอนเทนเนอร์ และค่าบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ผู้ส่งออก-นำเข้าจะต้องจ่ายนอกเหนือจากระวางเรือ

แต่ครั้งนี้ทางผู้ส่งออกไม่มีอำนาจจะบังคับให้ลดค่าบริการดังกล่าวลงมา ไทยก็ไม่มีกฎหมายว่าด้วยบริการเดินเรือระหว่างประเทศเข้ามาควบคุมอย่างเช่นในสหรัฐและญี่ปุ่นที่มีกฎหมายนี้ กรมการค้าภายใน ในฐานะผู้ดูแลกฎหมายทั้ง พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ และ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า ซึ่งจะสามารถกำกับดูแลการเรียกเก็บค่าบริการที่ไม่เป็นธรรม หรือการผูกขาด การค้ากำไรเกินควร


"เข้าใจว่าการทำธุรกิจต้องมีกำไร แต่ก็ไม่ควรที่จะทำธุรกิจจนกระทบผู้ประกอบการอื่น หากสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้จะเกิดประโยชน์ต่อการยกระดับการแข่งขันของผู้ส่งออกไทย และช่วยผลักดันในการส่งออกทั้งปี 2557 ขยายตัวได้ในระดับ 3% ปัจจุบันความต้องการตู้คอนเทนเนอร์เพื่อการส่งออกได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น 10-15% ทุกปี ซึ่ง 1 ใน 3 จะเป็นตู้คอนเทนเนอร์นำเข้า"

นายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร สภาผู้ส่งออกฯ กล่าวว่า อัตราการเรียกเก็บค่ายกตู้คอนเทนเนอร์จากลานตู้ขนาด 20 ฟุต อัตรา 300 บาทต่อครั้ง ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต อัตรา 600 บาทต่อครั้ง โดยยังไม่รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าบริการที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผู้ส่งออกขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่มีอำนาจต่อรอง มีต้นทุนเพิ่มขึ้น สภาพคล่องของบริษัทชิปปิ้ง บริษัทหัวลาก หากขนส่งปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ 4 ล้านตู้ คิดเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมูลค่า 1,200 ล้านบาทต่อปีเฉพาะในส่วนของท่าเรือแหลมฉบัง แต่กังวลว่าจะขยายไปท่าเรืออื่นเพิ่ม

ที่มา -