ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

อุทยานเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ใต้ท้องทะเล - ทิศทางเกษตร

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 15, 13, 14:27:01 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

การนำวัสดุที่ปลดระวางการใช้ประโยชน์มาเป็นสิ่งที่เอื้อประโยชน์อีกครั้งดูจะได้รับการนิยมมากขึ้นในปัจจุบันโดยเฉพาะการนำมาจัดสร้างปะการังเทียมในท้องทะเล นับตั้งแต่ รถถังจากกองทัพไทย ตู้รถไฟจากการรถไฟ รถขนขยะจาก กทม. ไปจนถึงเรือรบหลวง  มาหย่อนลงสู่ท้องทะเลตามพิกัดที่เหมาะสม ที่ไม่กระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล การเดินเรือ และเส้นทางการไหลของน้ำใต้ท้องทะเลในรูปแบบ "ปะการังเทียม" ตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในการอนุรักษ์ท้องทะเลไทยให้มีความสมบูรณ์ อย่างยั่งยืนและยาวนาน


ที่ผ่านมาได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมน้อมนำพระราชดำริมาดำเนินการอย่างต่อเนื่องทั้งพื้นที่ทะเลอ่าวไทย และอันดามัน และล่าสุดทางโครงการอนุรักษ์ท้องทะเลไทยได้จัดทำโครงการอุทยานเรียนรู้ใต้ท้องทะเลขึ้น เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จ.พังงา  ซึ่งเกิดจากความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนในจังหวัดพังงา โดยการนำเรือหลวงพระทองที่ได้รับการปลดประจำการมาจมลงสู่ท้องทะเลพังงาเพื่อเป็นแหล่งปะการังเทียม

โครงการนี้เป็นความร่วมมือของหลายหน่วยงานประกอบด้วย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองทัพทหารเรือ มูลนิธิเอนไลฟ์ จังหวัดพังงา กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  กรมเจ้าท่า  การรถไฟแห่งประเทศไทย  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงภาคเอกชนในพื้นที่ ผู้ประกอบการท่องเที่ยว หอการค้าพังงา ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งตะกั่วป่า คุระบุรี และมูลนิธิรักษ์พังงา

เรือรบหลวงพระทอง เป็นชื่อเดียวกับ เกาะพระทอง อ.คุระบุรี จ.พังงา เพื่อใช้เป็นแหล่งฟื้นฟู และเรียนรู้ทางทะเล ในรูปแบบอุทยานเรียนรู้วิทยาศาสตร์ใต้ท้องทะเลของไทย และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ของพื้นที่อีกด้วย

สำหรับความคืบหน้าในโครงการ หลังจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการกำหนดพิกัดในการจมเรือเพื่อทำเป็นอุทยานเรียนรู้วิทยาศาสตร์ใต้ท้องทะเลซึ่งอยู่ในบริเวณกองปลาเหลือง หน้าเกาะพระทอง ประมาณ 5 ไมล์ทะเล มีความลึก 25-30 เมตร เหมาะสมที่จะเป็นจุดดำน้ำชมปะการัง และเป็นจุดที่มีระบบน้ำไหลเวียนตามธรรมชาติที่เหมาะสม และสามารถทำเป็นเขตรักษาพันธุ์พืชและสัตว์ในอนาคตได้ โดยเฉพาะเต่าทะเลที่พบมากในแถบนี้ ล่าสุดได้มีการส่งมอบซากเรือ เพื่อชักลากจากอ่าวอุดม จ.ชลบุรี ไปยัง จ.พังงาแล้วคาดว่าจะถึง จ.พังงา และน่าจะจัดงานสมโภชในเดือนเมษายน 2556 นี้


นอกจากการทำให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นอุทยานเรียนรู้วิทยาศาสตร์ใต้ท้องทะเลแล้ว ในอนาคตท้องทะเลอันดามันยังจะได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งศึกษาด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทน โดยเฉพาะพลังงานคลื่น,ลมและแสงแดด ซึ่งปัจจุบันมีใช้แล้วในหลายประเทศ รวมถึงเทคโนโลยีในการกำจัดน้ำเสียและของไม่พึงประสงค์ในพื้นที่ชายฝั่งและท้องทะเลอีกด้วย นอกจากนี้ยังจะเป็นแหล่งดำน้ำ รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวทั้งบนฝั่งและใต้ท้องทะเลอีกด้วย.

ที่มา -