ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

เปิดท่าเรือบ้านนาเกลือจังหวัดตรังสิ้นปี รับขนส่งสินค้ากลุ่มอาเซียน

เริ่มโดย mrtnews, พ.ย 06, 14, 19:36:23 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

กรมเจ้าท่าธนารักษ์ และ อบจ.ตรัง วางแผนบริหารจัดการภายในท่าเทียบเรือบ้านนาเกลือ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ มั่นใจจะรองรับการขนส่งสินค้าและการค้าระหว่างประเทศ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น


นายกิจ หลีกภัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ตรัง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้การก่อสร้างท่าเทียบเรือบ้านนาเกลือมีความคืบหน้าไปมาก และมั่นใจว่าจะแล้วเสร็จเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการได้ภายในปลายปีนี้ ซึ่งเป็นไปตามกำหนดเวลาที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน โดยการก่อสร้างล่าสุดได้ดำเนินการก่อสร้างถนนคอนกรีตเข้าสู่ท่าเทียบเรือเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยเป็นถนนขนาดความกว้าง 12 เมตร ความยาว 1,050 เมตร ใช้งบประมาณ 27,774,000 บาท

ในส่วนของตัวอาคารที่กรมเจ้าท่าดำเนินการจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆและทำความสะอาด หลังจากนี้ กรมเจ้าท่าธนารักษ์ และ อบจ.ตรัง จะมีการหารือเพื่อวางแผนบริหารจัดการภายในท่าเทียบเรือ เตรียมพร้อมสำหรับการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการต่อไป

สำหรับโครงการก่อสร้างท่าเรือชายฝั่งที่จังหวัดตรังในส่วนของท่าเทียบเรือบ้านนาเกลือกรมเจ้าท่าสนับสนุนงบประมาณ 406,945,000 บาท ดำเนินการก่อสร้างบนที่ดินของ อบจ.ตรัง มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ซึ่งที่ดินดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่หลังท่า พื้นที่เทกองสินค้า อาคารสำนักงาน ที่จอดรถ ที่ตั้งระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ถนนในโครงการ และเชื่อมต่อจนถึงถนนไปบ้านนาเกลือเหนือ โดยสะพานท่าเรือกว้าง 29 เมตร ยาว 185 เมตร ความลึกหน้าท่า 5.5 เมตร ท่าเรือรองรับเรือบรรทุกสินค้าเทกอง ขนาด 4,000 ตันกรอส เรือจอดเทียบท่าได้ 2 ลำ/ครั้ง เป็นท่าเรือสินค้าส่งออก 1 ท่า และนำเข้า 1 ท่า


นายกิจกล่าวว่า เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ จะมีประโยชน์อย่างมากต่อการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะรองรับการขนส่งสินค้าและการค้าระหว่างประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ช่วยลดความแออัดและมลพิษ เนื่องจากท่าเทียบเรือกันตังเดิมอยู่ในเขตชุมชน นอกจากนั้น ยังรองรับการพัฒนาตามโครงการความร่วมมือเศรษฐกิจสามฝ่าย (ไทย-มาเลเซีย-อินโดนีเซีย) และยังเป็นการกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่นและภูมิภาค รวมถึงลดปัญหาการเสียเวลาในการขนส่งสินค้าเนื่องจากการตื้นเขินของร่องน้ำในบางช่วงเวลาอีกด้วย

ที่มา -