ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

การผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันของ ปตท.?

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 27, 13, 15:58:23 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ข้อกล่าวหาหนึ่งเกี่ยวกับการผูกขาดธุรกิจพลังงานของปตท.ที่มีการหยิบยกขึ้นมาพูดถึงตลอดเวลาก็คือ รัฐบาลได้ให้ปตท.เข้าไปถือหุ้นในโรงกลั่นน้ำมันเกือบทุกแห่งในประเทศ (ห้าในหกแห่ง) ทำให้ปตท.มีอำนาจในการควบคุมการบริหารจัดการโรงกลั่นน้ำมันในประเทศเกือบทั้งหมด ก่อให้เกิดการผูกขาดในธุรกิจการกลั่นน้ำมัน และการสั่งน้ำมันดิบจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้น้ำมันที่ขายในประเทศมีราคาแพง เพราะมีการผูกขาดตัดตอน


เรื่องการผูกขาดธุรกิจพลังงานของประเทศโดยปตท. นั้นเป็นเรื่องที่ติดพันกันมานานตั้งแต่ปตท.ยังมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มตัว และเข้าไปทำธุรกิจพลังงานในฐานะตัวแทนของรัฐบาล ดังนั้น จึงได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ ในฐานะบริษัทน้ำมันแห่งชาติ ซึ่ง ก็เป็นเช่นนี้ในทุกประเทศที่มีการจัดตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติขึ้น เพื่อมาดูแลผลประโยชน์ด้านพลังงานให้แก่รัฐ

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการแปรรูปปตท.เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และมีการขายหุ้นบางส่วนให้กับเอกชน ทุกฝ่ายรวมทั้งปตท.ก็เห็นด้วยว่าควรจะลดการผูกขาดลงโดย เฉพาะ ในธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ซึ่งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานก็กำลังพิจารณาที่จะให้มีการเปิดเสรีมากขึ้น โดยอาจให้เริ่มในกิจการ ท่อส่งก๊าซและการนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศก่อน

แต่ในส่วนของธุรกิจการกลั่นน้ำมันซึ่งได้มีการกล่าวอ้างว่ามีการผูกขาดโดยปตท.มากถึง 83% ของกำลังการ กลั่นทั้งหมด (โดยคิดง่ายๆ ว่าปตท.ถือหุ้น 5 ใน 6 โรงกลั่น = 83%) นั้น ผมคิดว่าเป็นการกล่าวอ้างที่ง่ายเกินไปและ ไม่มีเหตุผลรองรับอย่างเพียงพอ

ก่อนอื่นผมขอย้อนกลับไปฉายภาพของธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยก่อนปีพ.ศ.2540 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่รู้จักกันดีว่า "วิกฤติต้มยำกุ้ง"

ช่วงนั้นประเทศไทยมีโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ทั้งสิ้น 6 แห่ง (เท่ากับปัจจุบัน) แต่มีอยู่สองแห่งเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ คือ สตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิง ของบริษัทคาลเท็กซ์ (ซึ่งต่อมา เปลี่ยน ชื่อเป็นโรงกลั่น SPRC ของ Chevron) และระยองรีไฟเนอรี่ (RRC) ของบริษัทเชลล์ (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น PTTAR และควบรวมเข้ากับ PTT Chemical กลายเป็น PTTGC ในที่สุด)

โรงกลั่นที่สร้างเสร็จใหม่ๆสองแห่งรวมกับโรงกลั่นแบบ Condensate Splitter ของ TPI ที่สร้างขึ้นในนิคมอุตสาหกรรมของตนเองโดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย ทำให้ไม่ต้องขออนุญาต จากกระทรวงอุตสาหกรรม ทำให้กำลังการกลั่นน้ำมันของประเทศ ในขณะนั้นพุ่งขึ้นไปถึง 800,000 บาร์เรล/วัน ในขณะที่ความต้องการในประเทศมีอยู่เพียงไม่เกิน 600,000 บาร์เรล/วันเท่านั้น

ยิ่งมาเจอวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ความต้องการน้ำมันยิ่งลดลง และเมื่อวิกฤติเศรษฐกิจลุกลามไปทั่วโลก ราคาน้ำมันดิบลดลง ค่าการกลั่นก็ลดลงจนถึงติดลบติดต่อกันหลายปี ธุรกิจ โรงกลั่นน้ำมันก็ประสพกับภาวะขาดทุนไปทั่วโลก

ในประเทศไทยธุรกิจโรงกลั่นฯ ก็ประสบกับปัญหาเดียวกัน ซ้ำร้ายค่าเงินบาทยังอ่อนค่าลงอย่างรุนแรง โรงกลั่นใหม่ๆ ที่กู้เงิน มาลงทุนจึงประสบกับปัญหาการขาดทุนอย่างมหาศาล แม้กระทั่ง โรงกลั่นเก่าอย่างเช่นไทยออยล์ที่กู้เงินจากต่างประเทศมาลงทุนปรับปรุงโรงกลั่นก็ประสบกับปัญหาขาดทุนและมีหนี้เพิ่มขึ้นอย่าง มากมายจากการลดค่าเงินเช่นเดียวกัน

โดยขณะนั้นปตท.ได้รับสิทธิ์ให้เข้าไปถือหุ้นแทนรัฐบาลในโรงกลั่นใหม่ๆ ที่ไดัรับอนุญาตให้สร้างขึ้นมาใหม่ในสัดส่วน 36% อยู่แล้ว ดังนั้นในช่วงนั้น ปตท.จึงมีหุ้นอยู่ในโรงกลั่น 4 แห่ง คือ RRC, Star Petroleum (36%) ส่วนบางจาก (BCP) และไทยออยล์ (TOP) นั้น ปตท.ถือหุ้นอยู่ในสัดส่วนที่ไม่มากนัก

จากสถานการณ์ดังกล่าว ถ้าปล่อยทิ้งไว้ก็จะต้องมีโรงกลั่น น้ำมันปิดตัวเองหลายแห่ง เพราะขาดสภาพคล่อง ซึ่งจะกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ รัฐบาลจึงต้องใช้ปตท.เป็นกลไกเข้าไปแก้ไขสถานการณ์

โดยปตท.ได้เข้าไปซื้อกิจการโรงกลั่นน้ำมันระยอง (RRC) มาจากบริษัทเชลล์ มาควบรวมกับ PTT Aromatic เป็น PTT Aromatic and Refining หรือ PTTAR และมาควบรวมอีกครั้งกับ PTT Chemical กลายเป็น PTT Global Chemical หรือ PTTGC ในที่สุด

ส่วนไทยออยล์และทีพีไอนั้น ปตท.ก็ได้เข้าไปปรับโครงสร้าง หนี้และเพิ่มทุนจนกลายเป็นบริษัทที่มีผลการดำเนินงานที่ดี โดยส่งผู้บริหารมืออาชีพจากปตท.เข้าไปบริหารจนได้รับการยอมรับจากนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ในขณะที่โรงกลั่นบางจากซึ่งประสบปัญหาทางการเงิน ทาง ปตท.ก็ได้เข้าไปเพิ่มทุนให้ทำให้บางจากสามารถปรับโครงสร้างหนี้ ได้ และสามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินมาทำการปรับปรุงโรงกลั่นให้ทันสมัย และหันไปลงทุนในพลังงานทดแทน เช่น การ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้ผลประกอบการของบริษัทบางจากดีขึ้นอย่างมาก จนเป็นบริษัทที่มีผลประกอบการที่ดีเด่นในตลาดหลักทรัพย์บริษัทหนึ่งในปัจจุบัน

จากการเข้าไปปรับปรุงกิจการของโรงกลั่นเหล่านี้ ทำให้ขณะนี้ปตท.ถือหุ้นในโรงกลั่นต่างๆ ดังนี้
ไทยออยล์ 49.1% - PTTGC 48.9% - IRPC 38.5% - SPRC 36.0% - BCP 27.2%

จะเห็นว่าโดยนิตินัยแล้ว ไม่มีโรงกลั่นใดเลยที่ปตท.ถือหุ้นเกิน 50% แต่แน่นอนว่าเราคงจะใช้จำนวนหุ้นเพียงอย่างเดียว มาเป็นตัววัดว่าปตท.มีอำนาจครอบงำการบริหารหรือไม่คงไม่ได้ คงต้องพิจารณาด้วยว่า ปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดในบริษัทหรือ ไม่ และมีอำนาจในการบริหารจัดการในบริษัทเด็ดขาดหรือไม่โดยเฉพาะในการกำหนดตัวหรือแต่งตั้งผู้บริหารระดับกรรมการ ผู้จัดการหรือประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร (CEO)

ซึ่งถ้าเราใช้เกณฑ์นี้มาวัดการครอบงำการบริหารของปตท. ในโรงกลั่นต่างๆ ห้าแห่งที่ปตท.ถือหุ้นอยู่ เราจะพบว่าปตท.มีอำนาจในการบริหารโรงกลั่นจริงๆ เพียงสามแห่งเท่านั้นคือ ไทยออยล์ (TOP), PTTGC และ IRPC เพราะทั้งสามแห่งนี้ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ถึงแม้จะไม่ใช่เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมาก แต่เป็นผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการอย่างแท้จริง สามารถส่งคนของตนเข้ามาเป็นผู้บริหารระดับสูงสุด (CEO) ได้

ส่วนอีกสองแห่งคือ SPRC และ BCP นั้น ปตท.เป็นแต่เพียงผู้ถือหุ้นเสียงข้างน้อย โดยในกรณีของ SPRC นั้นชัดเจนว่า Chevron ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถึง 64% เป็นผู้มีอำนาจในการบริหาร จัดการโรงกลั่น โดยการคัดเลือกและแต่งตั้งผู้บริหารก็ทำโดยคณะกรรมการบริษัท 9 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนของ Chevron (ปตท.มีตัวแทนอยู่ในคณะกรรมการบริษัทเพียง 2 คน) CEO ก็เป็นคนของ Chevron

ส่วนบางจากนั้นผู้ถือหุ้นใหญ่คือประชาชนซึ่งถือหุ้นบาง จากมากถึง 62.8% จึงทำให้บางจากมีลักษณะพิเศษคือเป็นบริษัท มหาชนจริงๆ และแม้ปตท.จะถือหุ้นบางจากในสัดส่วนสูงถึง 27.2% และถือว่าบางจากเป็นบริษัทในเครือปตท. แต่ปตท.ก็ไม่ได้มีอำนาจบริหารจัดการในบางจาก แม้แต่การแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบางจาก ก็มีการดำเนินการเป็นอิสระผ่านคณะกรรมการสรรหา และได้ลูกหม้อซึ่งเป็นพนักงานของบางจากมาเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่สองคนติดต่อกัน โดยปราศจากการแทรกแซงจากปตท.แต่อย่างใด อีกทั้งปตท.ยังมีตัวแทนนั่งอยู่ในคณะกรรมการบริษัทเพียงสองคนเท่านั้น จากจำนวนกรรมการทั้งหมด 14 คน และมีกรรมการอิสระถึง 6 คน

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการที่มีผู้ออกมาพูดว่าปตท.เข้าไปถือหุ้นในโรงกลั่นถึง 5 ใน 6 แห่ง แสดงว่ามีการ ผูกขาดธุรกิจ และสามารถครอบงำกิจการโรงกลั่นน้ำมันของประเทศได้นั้น เป็นการตีความที่เกินจริง เพราะยังมีโรงกลั่นฯอีกสามแห่งที่ปตท.ไม่สามารถเข้าไปบริหารสั่งการอะไรได้ นั่นคือโรงกลั่น Esso, SPRC และ BCP

อีกทั้งที่ระบุว่าการที่ปตท.เข้าไปถือหุ้นโรงกลั่น 5 ใน 6 แห่ง ทำให้ปตท.ผูกขาดการสั่งน้ำมันดิบเข้ามากลั่นในประเทศ ได้ทั้งหมดก็ไม่เป็นความจริงอีก เพราะโรงกลั่นทั้งสามแห่งที่ปตท.ไม่ได้เป็นผู้บริหาร เขาก็สั่งน้ำมันดิบของเขาเอง ปตท. จะมีสิทธิ์นำน้ำมันดิบเข้ามากลั่นได้ ก็เฉพาะในสัดส่วนที่ไม่เกินจำนวนหุ้นที่ตัวเองถืออยู่ ตาม Supply and off take Agreement เท่านั้น อีกทั้งยังต้องมีการตรวจสอบราคาและหรือประมูล ผ่านขั้นตอนการจัดซื้อตามระเบียบของโรงกลั่นนั้นๆ อีกด้วย

อนึ่ง การที่ปตท.เข้าไปมีอำนาจในการบริหารจัดการโรงกลั่นน้ำมัน 3 ใน 6 แห่งนั้นจะเป็นการผูกขาด ตัดตอนหรือทำให้น้ำมันมีราคาแพงเกินจริงหรือไม่ คงต้องดูข้อมูลหรือพฤติกรรมอย่างอื่นประกอบด้วย จะเหมาเอาง่ายๆ จากการถือหุ้นว่า ถ้าถือ หุ้นมากก็แสดงว่าครอบงำได้ เมื่อครอบงำได้ย่อม มีพฤติกรรมผูกขาดตัดตอนเอาเปรียบประชาชน ผมว่ามันจะเป็นการสรุปบนความคิดเห็นส่วนตัวที่ง่ายไปหน่อย และอาจมีอคติได้หรือเปล่า

ผมเขียนบทความนี้โดยทราบดีว่าเดี๋ยวก็จะมีพวกที่ทนอ่านความคิดเห็นที่แตกต่างจากของตนไม่ได้ ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ผมอีกว่าเป็นขี้ข้าปตท. แก้ตัวแทนปตท. รับเงินปตท. มาหรือเปล่า ซึ่งผมก็ชินเสียแล้วกับข้อกล่าวหาแบบนี้ ซึ่งถ้าวิพากษ์วิจารณ์กันดีๆ ใช้เหตุใช้ผลโต้แย้งกัน อ้างอิงข้อมูลตัวเลขมาหักล้างกัน ผมก็จะรับฟังโดยดี แต่ประเภทใช้อารมณ์ ด่าว่า ใช้วาจาหยาบคายขึ้นมึงขึ้นกู คนประเภทนี้อ่านดูก็รู้ระดับ สติปัญญาและจิตใจ ผมจึงไม่ถือสา ได้แต่แผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลไปให้และหวังว่าสักวันหนึ่งเขาจะรู้สำนึก

สิ่งที่ผมทำอาจจะฟังดูเหมือนแก้ตัวแทนปตท. แต่ถ้าท่านอ่านและพิเคราะห์ให้ดีๆ ผมไม่ได้บอกว่าไม่มีการผูกขาดในธุรกิจพลังงานไทย แต่ผมกำลังบอกว่าข้อมูลของฝ่ายที่ระบุว่ามีการผูกขาดในธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันนั้นเป็นข้อมูลที่เกินจริง และผมถือว่าสิ่งที่ผมพยายามทำตลอดมา กำลังทำอยู่ และจะทำต่อไป ก็คือการให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชน

ผมอาจจะชินกับการถูกด่า แต่ไม่เคยชินกับการบิดเบือนข้อมูลเพื่อให้ตัวเองดูดี เป็นฮีโร่ในสายตาของประชาชนครับ !!! 

ที่มา -