ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

เอกชนหวังรัฐคุมบริษัทเดินเรือต่างชาติ ปรับค่า THC ไม่เป็นธรรมได้

เริ่มโดย mrtnews, ม.ค 07, 15, 21:19:34 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เอกชนหวังรัฐคุมบริษัทเดินเรือต่างชาติ ปรับค่า THC ไม่เป็นธรรมได้ หวั่นเปิด AEC ถูกกดดันต่อ


นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ที่ปรึกษาสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือ สรท. กล่าวถึงการปรับขึ้นค่าภาระการขนถ่ายสินค้าหน้าท่า (THC) ที่สายเดินเรือประกาศปรับขึ้นในช่วงต้น ม.ค. 2558 ในอัตราที่สูงกว่าเดิม 75% ว่า ขณะนี้ได้ขอความร่วมมือกับสายเดินเรือให้ชะลอการปรับขึ้น THC ออกไปเป็นระยะเวลา 60 วันแล้ว

โดยทาง สรท. คาดหวังว่าทางภาครัฐจะสามารถควบคุมการปรับขึ้นค่า THC ให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสมได้ เพื่อดูแลผู้ประกอบการไทยไม่ให้สายเดินเรือต่างชาติมีอำนาจเหนือตลาดมากจนเกินไปเพราะหากปล่อยให้เป็นเช่นนั้น ในการเปิดเออีซี ไทยและประเทศสมาชิก อาจต้องโดนกดดันต่อไป และประเทศในอาเซียนจะไม่ได้ประโยชน์ในการเปิดเออีซีอย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงต้องการให้ภาครัฐมีการทบทวนดูแลเรื่องการปรับขึ้นค่าขนส่งให้เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการไทยด้วย

ที่มา -




ผู้ส่งออกไทยวิ่งสู้ฟัด อียูตัดจีเอสพี

นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยถึงกรณีที่สหภาพยุโรป (อียู) ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ที่ให้กับสินค้าไทยกว่า 6,200 รายการ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2558 เป็นต้นมาว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่จำนวนมาก ได้ปรับแผนการส่งออก โดยทยอยซื้อที่ดินในประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับสิทธิจีเอสพี เพื่อสร้างโรงงานผลิตสินค้าส่งออกไปประเทศต่างๆ เพื่อให้ได้สิทธิจีเอสพีอยู่ เหมือนบริษัทขนาดใหญ่ของไทย อย่างกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์, เซ็นทรัล, ปูนซีเมนต์ไทย เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้สินค้าจากผู้ผลิตไทยสามารถรักษาตลาดไว้ได้ หลังจากที่อียูเริ่มตัดสิทธิ์จีเอสพีสินค้าไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2558


"การย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน เพราะต้องการแรงงานขั้นต่ำ ไม่ใช่ประเด็นแล้ว แต่ประเด็นหลักอยู่ที่การอาศัยประเทศเหล่านั้นส่งออกสินค้าไปตลาดต่างๆ ที่ให้สิทธิจีเอสพี รวมถึงสิทธิประโยชน์จากการเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่เพื่อนบ้านไทยทำกับตลาดใหญ่ๆ เพราะการได้รับสิทธิประโยชน์ในการส่งออกจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยมีต้นทุนไม่สูงเหมือนกับการส่งออกจากประเทศไทย"

อย่างไรก็ตาม ในช่วง 6 เดือนแรกของการถูกอียูตัดสิทธิจีเอสพี คาดว่า สถานการณ์ส่งออกของไทยยังไม่น่าห่วง เพราะคู่ค้าอียูได้สั่งซื้อสินค้าไปกักตุนก่อนที่จะต้องกลับมาเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติ หรือสูงขึ้นจากอัตราภายใต้สิทธิจีเอสพี แต่หลังจากที่สินค้าที่สต๊อกไว้หมดลง อาจทำให้คำสั่งซื้อสินค้าบางประเภทลดลง

ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหา และทำอย่างไรให้เกิดความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ ทั้งการผลิต การสร้างนวัตกรรม เพิ่มการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ประเทศไทย แข่งขันและทำการค้าในระยะยาวได้มากขึ้น.

ที่มา -