ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

พระราชวังเดิม แหล่งเรียนรู้ของมวลชน

เริ่มโดย mrtnews, ม.ค 11, 15, 12:31:28 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

คอลัมน์ สยามประเทศไทย - โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

A ป้อมที่ฝรั่งเศสรักษา B ป้อมวิไชยประสิทธิ์ C บรรดาค่ายที่ไทยตั้งล้อมฝรั่งเศส D ทิศทางปืนใหญ่ที่ฝรั่งเศสยิงเรือกำปั่นหลวง E โรงทหารฝรั่งเศส F ที่พักนายทหารฝรั่งเศส G โรงเก็บเสบียงอาหารของฝรั่งเศส H ที่อยู่นายทหารผู้ใหญ่ฝรั่งเศส I โรงสวดของฝรั่งเศส L แนวค่ายซึ่งฝรั่งเศสรื้อ M แนวกำแพงเมืองธนบุรี N วัดเลียบ (คือวัดราชบุรณะ) O ที่ว่าการเมืองธนบุรี P ตึกดิน Q ค่ายไทย R หอคอยไทย S แผนที่แม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปากน้ำ


สมควรอย่างยิ่งให้มีการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณพระราชวังเดิม และพื้นที่ต่อเนื่อง (เหมือนที่ทำแล้วในวังหน้า)

เพื่อแสดงหลักฐานความเป็นเมืองธนบุรีมาแต่ยุคอยุธยา แล้วมีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมายตรงนี้ จนเป็นพระราชวังเดิม(ของพระเจ้าตาก)

เมื่อขุดค้นตรวจสอบรอบด้านแล้ว ควรเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของมวลชน เหมือนวังอื่นๆ เช่น วังหน้า, วังหลัง, ฯลฯ

โดยไม่หวงห้ามไว้ให้คนกลุ่มเดียวอย่างน่าเกลียดเหมือนที่ผ่านมา

ป้อมเมืองธนบุรี

พระราชวังเดิมของพระเจ้าตาก อยู่บริเวณที่เคยเป็นศูนย์กลางเมืองธนบุรีสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ยุคอยุธยา มีพยานหลักฐานชุดหนึ่งเป็นแผนที่ของนายทหารฝรั่งเศสทำไว้ โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมจากนักวิชาการ ต่อไปนี้

แผนที่นี้กลับเอาทิศตะวันออกขึ้นด้านบน มีแนวรั้วค่าย (คือแนวกำแพงเมืองธนบุรี) เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าวางตัวตามยาวประชิดตรงมุมที่คลองบางกอกใหญ่ไหลออกแม่น้ำเจ้าพระยา ป้อมวิไชยประสิทธิ์ (B) จึงอยู่ทางมุมขวาบนของแนวรั้วค่าย

ใต้ป้อมวิไชยประสิทธิ์ลงมาเล็กน้อย มีลำคูขนาดเล็กแยกจากคลองบางกอกใหญ่ออกมา มุดแนวรั้วค่ายเข้าไปแล้วหักศอกขึ้นไป แล้วมุดแนวรั้วค่ายทางทิศตะวันออกลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

คูนี้คงขุดขึ้นเพื่อชักน้ำเข้ามาใช้ภายในป้อมค่าย และอาจใช้เป็นแนวล้อมป้องกันพื้นที่สำคัญภายในป้อมเมืองธนบุรีทางฝั่งทิศใต้เอาไว้ด้วย สังเกตได้จากนอกแนวคูนี้ออกไปไม่มีสถานที่สำคัญใดๆ แต่เป็นพื้นที่ว่างเปล่า (อาจเป็นสวนหรือไร่นา) ไปจนจรดรั้วกำแพง

เข้าใจว่าที่ว่างตรงนี้ ในภายหลังได้สร้างเป็นวัดขึ้น คือวัดแจ้ง หรือวัดอรุณฯ พื้นที่ของวัดอรุณฯ จึงติดต่อยาวออกไปด้านหลังเป็นสวนเสียมากที่เรียกกันว่า ปรกวัดอรุณ


เมื่อตรวจสอบตำแหน่งกับภาพถ่ายจากดาวเทียมในบริเวณเดียวกันในปัจจุบัน ไม่พบแนวคูนี้แล้ว เป็นไปได้สองประการคือ

1.ถูกถมไปเมื่อคราวใดคราวหนึ่งในอดีต ซึ่งอาจเป็นไปได้ในช่วงที่พระเจ้าตากลงมาตั้งกรุงธนบุรีเป็นที่มั่น และมีการปรับปรุงเมืองธนบุรีครั้งใหญ่

2.ถูกขุดแนวต่อขึ้นไปทางทิศเหนือให้กลายเป็นคูเมืองกรุงธนบุรีเชื่อมต่อออกไปถึงคลองบางกอกน้อย ตามที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่าโปรดให้เอาไม้ทองหลางทั้งต้นมาทำแนวกำแพงเมืองกรุงธนบุรี ซึ่งคงล้อไปกับคูน้ำนี้เอง

อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถตรวจสอบได้แน่นอน เพราะไม่มีการพิสูจน์ชั้นดินทางโบราณคดี และสำรวจร่องรอยภาคสนาม เนื่องจากพื้นที่ได้เปลี่ยนแปลงใช้งานหลายต่อหลายสมัยจากการเป็นชุมชนเมืองที่ซ้อนทับไปมาหลายครั้ง

[อธิบายโดยประภัสสร์ ชูวิเชียร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร]

ที่มา -