ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

กองทัพมาเลย์รุกซื้อ 'เรือดำน้ำ' รับภัยคุกคามหมู่เกาะสแปรตลีย์

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 30, 13, 17:44:46 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ตะลุยกองทัพ โดยทีมข่าวความมั่นคง

กองทัพมาเลเซียถือเป็นกองทัพระดับหัวแถวในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะแสนยานุภาพทางทะเล เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่มีพื้นที่ติดทะเลแทบทุกด้าน รวมทั้งการรักษาความมั่นคงภายในที่รัฐซาบาห์ ซึ่งมีปัญหาความขัดแย้งภายใน โดยมาเลเซียได้ส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ ทั้งเฮลิคอปเตอร์ และรถถัง พร้อมกำลังพลจากกองทัพบก และกองทัพเรือ เข้าไปรักษาความสงบเป็นจำนวนมาก


ปัจจุบันมาเลเซียใช้งบประมาณในปีงบประมาณ 2556 จำนวน 251,600 ล้านริงกิต (2.29 ล้านล้านบาท) โดยจัดสรรงบให้กองทัพเป็นจำนวนไม่น้อย โดยก่อนหน้านี้ได้จัดซื้อรถถังหลักแบบ PT-91 M จำนวน 1 กองพัน (51 คัน) มาประจำการในกองทัพบก ท่ามกลางคำถามว่า มีความเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ไม่ค่อยเหมาะสมนักในการปฏิบัติการด้วยรถถัง

ทั้งนี้ กองทัพบกมาเลเซียมีการติดตั้งระบบมาตรฐาน NATO กับ รถถัง PT-91M ในหลายๆ ส่วน ทั้งปืนกล ร่วมแกน FN MAG 7.62mm NATO, ปืนกลต่อสู้อากาศยาน FN M2HB .50cal ระบบกล้องเล็ง และควบคุมการยิงเป็นของ Sagem และระบบสื่อสารใช้ของ Sapura

มาเลเซียยังจัดซื้อจรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานอากาศสู่อากาศ และจรวดต่อสู้อากาศยานนำวิถีพิสัยกลาง จำนวน 35 ชุด ทั้งหมดเป็นแบบ RVV-AE หรือ AA-12 "แอ็ดเดอร์" ซึ่งมีอานุภาพเทียบเท่ากับจรวด AIM-10 หรือ "อัมราม" (AMRAAM) ของสหรัฐอเมริกา รวมถึงการจัดซื้อกระสุนปืน เครื่องยิงลูกระเบิดอาร์พีจี และอาวุธติดรถถังขนาดเบาอีกเป็นจำนวนมาก

ส่วนกองทัพอากาศได้มีการจัดซื้ออากาศยานอย่างหลากหลายทั้งในค่ายโลกเสรี และค่ายหลังม่านเหล็ก โดยซื้อเครื่องบินรบจากรัสเซียทั้งหมด 34 ลำ เป็น MiG-29 "ฟัลครัม" จำนวน 16 ลำ ซึ่งประจำการมาตั้งแต่ปี 2537 ปัจจุบันมีเพียง 10 ลำ ที่ยังใช้ปฏิบัติการอยู่ รวมถึงเครื่องรบ Su-30 MKM "แฟลงเคอร์" อีก 18 ลำ ตั้งแต่กลางปี 2552 และกำลังเดินหน้าจัดซื้อเพิ่มเติมอีก 18 ลำ

สำหรับอากาศยานจากค่ายโลกเสรี กองทัพอากาศมาเลเซียได้จัดซื้อเครื่องบินรบรุ่น F-18 และ F-5 จากสหรัฐอเมริกา เช่น  F/A18D "ฮอร์เน็ต" จำนวน 8 ลำ เครื่อง F-5 จำนวน 18 ลำ เครื่อง F-5E จำนวน 16 ลำ และเครื่อง RF-5 อีก 2 ลำ รวมทั้งเครื่องบิน Hawk 108/208 จากอังกฤษ เครื่องบิน MB-339 จากอิตาลี และเครื่องบิน PC-7 จากสวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น

ขณะที่กองทัพเรือมาเลเซียมีกองเรือใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอาเซียน (อันดับ 1 คือประเทศสิงคโปร์) โดยมาเลเซียมีโครงการที่จะต่อเรือรบเพิ่มอีก 26 ลำ ซึ่งเป็นเรือบัญชาการยกพลขึ้นบกที่มีโรงเก็บที่สามารถเก็บอากาศยานได้ทั้งเฮลิคอปเตอร์ และเครื่องบิน STVOL แบบแฮริเออร์ รวมทั้งยานยกพลขึ้นบก รถถัง หรือยานเบาะอากาศ

เรือในชั้นนี้ที่น่าจับตา เช่น KD Jebat (No.29) และ KD Lekiu (No. 30) โดยระบบอาวุธแทบทั้งหมดเป็นของยุโรป ไล่ตั้งแต่จรวดจนถึงเรดาร์ โดยมีอุปกรณ์ของจากทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น โดยเรือชั้นนี้ต้องสามารถปฏิบัติการได้ครบทั้ง 3 มิติอย่างสมบูรณ์ (ใต้น้ำ ผิวน้ำ อากาศ) โดยมีขีปนาวุธอากาศสู่พื้น exeocet MM40 Block II 8 ลูก ระยะยิงไกลกว่า 100 กม.

ส่วนระบบขีปนาวุธอากาศสู่อากาศนั้น มาเลเซียเลือกใช้ Seawolf ของอังกฤษ ซึ่งเป็นขีปนาวุธระยะใกล้ที่มีระยะยิงประมาณ 6 กม. เดินทางด้วยความเร็ว 2.5 มัค โดยติดตั้งในท่อยิงทางดิ่ง (Vertical Launching) จำนวน 12 ท่อยิง

นอกจากนี้ยังมีเรือในชั้นนี้อีก 2 ลำ คือ KD Kasturi (Nio. 25) และ KD Lekir (No. 26) ซึ่งติดตั้งจรวด exeocet MM40 Block II 4 ลูก ส่วนระบบป้องกันภัยทางอากาศใช้ปืน 30 มม. แท่นคู่

กองทัพเรือมาเลเซียยังมีเรือที่ทรงอานุภาพอีก 4 ลำ ประกอบด้วย KD Hang Nadim (No.134) KD Tun Abdul Jamil (No.135) KD Mohammad Amin (No.136) และ KD Tan Pusmah (No.137) ซึ่งเป็นเรือที่อิรักสั่งต่อเพื่อใช้ในกองทัพเรืออิรัก แต่เกิดสงครามอ่าวเปอร์เซียเสียก่อน ประเทศผู้ต่อคืออิตาลีจึงไม่จัดส่งเรือให้ มาเลเซียจึงรับซื้อไปทั้ง 4 ลำ

เรือชั้นนี้ใช้ขีปนาวุธโจมตีเรือ Otomat Mark 2/Teseo ของอิตาลีจำนวน 6 ลูก ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลางแบบ Aspide บนแท่นยิงแบบ Albatros

นอกจากนี้มาเลเซียสั่งต่อเรือชั้นนี้จากเยอรมนีจำนวน 6 ลำ และได้รับแล้วจำนวน 2 ลำ โดยสามารถติดตั้งขีปนาวุธพื้นสู่พื้นโจมตีเรือได้ 8 ลูก ขีปนาวุธพื้นสู่อากาศติดตั้งในท่อยิงทางดิ่ง (Vertical Launching System : VLS) จำนวน 16 ท่อยิง และระบบ Close-In Weapon System เช่น Phalanx หรือ Goalkeeper พร้อมทั้งสามารถรับเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางได้อีกด้วย


กองทัพเรือมาเลเซียยังมีเรือโจมตีเร็วติดอาวุธนำวิธีอีก 8 ลำ ซึ่งติดตั้งจรวด Exeocet MM40 Block II ซึ่งนับว่า เพียงพอที่จะทำให้กองทัพเรือมาเลเซียมีแสนยานุภาพในลำดับต้นๆ ของภูมิภาค ไม่นับ "เรือดำน้ำ" ที่กองทัพเรือมาเลเซียสั่งต่อ "เรือดำน้ำชั้นสกอร์ปิเน่" ซึ่งเป็นเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงแบบหนึ่งของโลก

เรือดำน้ำนี้หนักประมาณ 1,500 ตัน ติดระบบ AIP แบบ Mesma มีระยะปฏิบัติการ 6,400 ไมล์ทะเล ระยะเวลาปฏิบัติการในทะเล 50 วัน ติดตอร์ปิโด 6.21 นิ้ว จำนวน 18 ลูก ซึ่งเป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์ที่เตรียมพร้อมสำหรับรับมือภัยคุกคาม โดยเฉพาะความขัดแย้งกรณีหมู่เกาะสแปรตลีย์ในทะเลจีนใต้ และนับเป็นความก้าวหน้าที่กองทัพเรือไทยกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิดเช่นกัน

ที่มา -