ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงต้องการพื้นที่ลานตัดแยกซากเรือเพิ่มมากขึ้นอีก

เริ่มโดย mrtnews, ม.ค 29, 15, 06:51:17 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

จากปริมาณซากเรือสินค้าเก่าหมดอายุทั้งหมดจำนวน 1026 ลำที่ถูกรื้อถอนตัดแยกเป็นเศษเหล็กทั่วโลกในช่วงปี 2557 ที่ผ่านมา ซากเรือจำนวน 641 ลำหรือคิดเป็น 74% ของระวางบรรทุกรวม (GT - gross tonnage) ถูกขายทิ้งให้กับประเทศที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น อินเดีย ปากีสถาน และ บังคลาเทศ สถานที่ซึ่งเรือสินค้าที่หมดอายุแล้วจะถูกรื้อถอนเป็นชิ้นๆ บนชายหาดขณะที่มีน้ำขึ้นน้ำลง  องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ที่ทำงานผลักดันเกี่ยวกับมาตรฐานลานตัดแยกชิ้นซากเรือ (Shipbreaking Platform's demolition) ได้แสดงสถิติการรื้อถอนดังกล่าว


สำหรับลานตัดเรือในเอเชียใต้นั้น ไม่ต้องกล่าวถึงว่ามีมาตรฐานสากลสำหรับการรีไซเคิลเรือเก่าที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางเสียงหรือไม่

ในปี 2558 พบรายงานว่าธุรกิจลานตัดเรือ มีคนงานเสียชีวิต 23 คนและอีก 66 คนได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุในการตัดแยกเศษเรือ เช่น การระเบิด คนงานถูกแผ่นเหล็กหล่นใส่จากที่สูงหรือล้มทับร่างกาย ในพื้นที่ลานตัดเรือในเอเชียใต้

ตามรายงานจากองค์กรพัฒนาเอกชน NGO ระบุว่าบริษัทเจ้าของเรือเยอรมันเ Ernst Komrowski  มียอดการส่งเรือเข้าทำลายที่ลานตัดเรือสูงที่สุดของโลกคือ 14 เรือสินค้าที่หมดอายุ (end-of-life vessels) ขายไปยังชายหาดของลานตัดเรือ ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือสินค้า Maersk fleet

อันดับที่สองเป็นบริษัทเจ้าของเรือตูสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้คือบริษัท Hanjin Shipping ด้วยเรือตู้สินค้าจำนวน 11 ลำ ตามมาด้วยบริษัทเรือของสวิสชื่อ Mediterranean Shipping Company หรือ MSC  ผู้ซึ่งมีเรือบรรทุกสินค้าแบบตู้คอนเทนเนอร์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก


ตามรายงานยังกล่าวอีกว่า กิจกรรมของลานตัดแยกซากเรือ MSC ในอินเดีย เคยคร่าชีวิตคนงานไปแล้ว 6 คนในปี 2552 เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้บนซากเรือสินค้า MSC Jessica

ที่มา - | แปลและเรียบเรียงข่าวโดย