ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ภัยคุกคามจากการกระทำอันเป็นโจรสลัดในทะเลจีนใต้และช่องแคบมะละกาเติบโตขึ้น

เริ่มโดย mrtnews, ม.ค 30, 15, 06:45:11 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

2015-01-28 โดย มาร์ติน ซีฟฟ์

การกระทำอันเป็นโจรสลัดในทะเลจีนใต้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเรือ 23 ลำถูกปล้นในปี 2557 นำไปสู่ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อการต่อต้านโจรสลัดและการปล้นเรือโดยใช้อาวุธในเอเชีย [ReCAAP] เพื่อเรียกร้องให้มีการลาดตระเวนระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น


"ปัญหานี้เป็นปัญหาที่น่าวิตกกังวล โดยที่จีนเป็นเครื่องกลไกหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วทั้งเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ... ภูมิภาคอาเซียน [สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้] เป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตเร็วที่สุดและมีความเป็นพลวัตมากที่สุดในโลก" นายราล์ฟ วินนี รองประธานองค์กรการประสานงานทางธุรกิจของยูเรเชียน บอกกับเอเชีย แปซิฟิก ดีเฟนส์ ฟอรัม [ APDF] "การหยุดชะงักที่มีความสำคัญใด ๆ ของการค้าทางทะเลในน่านน้ำเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทะเลจีนใต้และช่องแคบมะละกา อาจจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อโอกาสทางการค้าและการลงทุนนอกเสียจากว่าจะได้รับการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วและอย่างเด็ดขาด

"มีเพียงแค่ความร่วมมือระหว่างประเทศที่ขยายออกไปอย่างมากเช่นนี้ที่เคยปราบโจรสลัดชาวโซมาลีจะสามารถยุติภัยคุกคามนี้และคืนความมั่นคงของเส้นทางการค้าหลักให้กลับมาได้" นายวินนีกล่าว

ความตึงเครียดที่ทวีขึ้นท่ามกลางชาติต่าง ๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ้างสิทธิ์ที่ขัดแย้งกันเองในทะเลจีนใต้ระหว่างจีนและบรรดาประเทศเพื่อนบ้าน กำลังขัดขวางความร่วมมือทางทะเลระหว่างประเทศซึ่งจำเป็นจะต้องมีเพื่อปราบพวกเหล่าร้าย IHS Jane's 360 กล่าวเตือน

"การลาดตระเวนที่เป็นความร่วมมือกันอาจจะต้องชะงักงันโดยความอ่อนไหวทางการเมือง" IHS Jane's 360 ระบุ

ReCAAP ได้เรียกร้องให้มีการดำเนินการที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นและเป็นความร่วมมือกันในการต่อต้านการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของโจรสลัดในทะเลจีนใต้ IHS Jane's 360 ตั้งข้อสังเกต องค์กรที่มี 20 ประเทศเป็นสมาชิกนี้มีฐานปฏิบัติการอยู่ในสิงคโปร์

"องค์กรระหว่างรัฐบาลได้บันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับโจรสลัดไว้ได้ทั้งหมด 23 ครั้ง [ไม่รวมการลักลอบดูดน้ำมัน] บนเรือที่ทอดสมออยู่ใน [ทะเลจีนใต้] พื้นที่สำหรับ พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นตัวเลขที่พุ่งสูงขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับเหตุการณ์เดี่ยวที่มีการรายงานสำหรับ พ.ศ. 2556" IHS Jane's 360 ระบุ

ไม่มีการรายงานเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับโจรสลัดในทะเลจีนใต้ระหว่าง พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2555 นายลีหยินมุ่ย ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการวิจัยประจำ ReCAAP บอกกับ IHS Jane's 360

ภัยคุกคามจากโจรสลัดครั้งใหม่เป็นที่รับรู้กันทั่วทั้งเอเชีย

"การกระทำอันเป็นโจรสลัดที่อยู่นอกชายฝั่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภัยหรือไม่ คำตอบคือใช่" ไอสวารยา ลักษมี นักวิเคราะห์ เขียนไว้ในเว็บไซต์ Marinelink.com เมื่อวันที่ 12 มกราคม "เส้นทางเดินเรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หนึ่งในเส้นทางการค้าที่วุ่นวายที่สุดในโลก ได้รับผลกระทบจาก 'การผุดขึ้นมาใหม่ที่น่าเป็นห่วง' ในการกระทำอันเป็นโจรสลัด" คุณไอสวารยา ลักษมี ยืนยัน

คุณไอสวารยา ลักษมี เขียนไว้ว่า "การกระทำอันเป็นโจรสลัดผุดขึ้นราวกับดอกเห็ดในบริเวณช่องแคบมะละกา ช่องแคบสิงคโปร์ บังคลาเทศ ทะเลจีนใต้ และเวียดนาม คอขวดในการขนส่งทางเรือซึ่งมีการจราจรทางทะเลเชิงพาณิชย์ถึงหนึ่งในสามของโลก ทำให้เป็นทางน้ำที่วุ่นวายที่สุดในโลก"

ช่องแคบมะละกาเป็นคอคอดในการขนส่งทางเรือ

เธอเขียนไว้ว่า "การกระทำอันเป็นโจรสลัดสมัยใหม่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในน่านน้ำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่องแคบมะละกา แนวน้ำแคบยาว 500 ไมล์ที่อยู่ระหว่างคาบสมุทรมาเลย์และเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย [ซึ่ง] เป็นทางผ่านที่สำคัญระหว่างจีนและอินเดีย ใช้งานอย่างหนักเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์ เป็นคอคอดสำหรับเรือ 50,000 ลำต่อปีซึ่งบรรทุกมากกว่าหนึ่งในสามของการค้าผ่านการขนส่งทางเรือของโลก"

แก๊งอาชญากรรมขโมยของบรรทุกที่เป็นเชื้อเพลิงเหลว บางครั้งก็ใช้เรือขนถ่ายน้ำมันของตนเองในการขนถ่ายของที่ปล้นมาไปยังผู้ซื้อที่ได้ติดต่อไว้ล่วงหน้าแล้ว เว็บไซต์ marinelink.com รายงาน

เพราะความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ พร้อมด้วยกองทัพเรือสหรัฐฯ ซึ่งมีบทบาทสำคัญ การบดขยี้โจรสลัดโซมาลีจึงถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งโดยประสบผลสำเร็จ ผลที่ตามมาคือ "การกระทำอันเป็นโจรสลัดในทะเลหลวงลดลง [ใน พ.ศ. 2557] ถึงระดับต่ำสุดทั่วโลกในรอบแปดปี" หนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์ในสิงคโปร์ตั้งข้อสังเกตเมื่อวันที่ 14 มกราคม อย่างไรก็ตาม จำนวนการปล้นเรือที่ประสบความสำเร็จกลับเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนการโจมตีในน่านน้ำนอกฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำนักงานทางทะเลระหว่างประเทศ [IMB] มีการบันทึกการโจมตีโดยโจรสลัดทั่วโลกในปี 2557 ถึง 245 ครั้ง ซึ่งลดลงจาก 264 ครั้งในปีก่อนหน้า และเกือบถึงครึ่งหนึ่งของ 445 ครั้งที่มีการรายงานในปี 2553 เมื่อโจรสลัดนอกชายฝั่งโซมาเลียนั้นรุนแรงมาก เหตุการณ์โจรสลัดทั่วโลกล้มคว่ำลงนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเนื่องจากการลาดตระเวนของกองทัพเรือหลายชาตินอกชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก รวมทั้งการรักษาความปลอดภัยบนเรือที่มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น หนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์ระบุ

IMB ระบุว่าในปี 2557 มีการโจมตีจากโจรสลัดชาวโซมาลีเพียง 11 ครั้งเท่านั้น และทั้งหมดก็ถูกขัดขวาง

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพื้นที่ยอดฮิตของโจรสลัด

"อย่างไรก็ตาม ทะเลนอกชายฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน่านน้ำระหว่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ได้เติบโตขึ้นเรื่อยมาเป็นพื้นที่ยอดฮิต โดยมีการโจมตีเรือบรรทุกน้ำมันขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้น" IMB ระบุ


"การโจมตีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมกันเป็นเหตุการณ์ส่วนใหญ่ที่มีการรายงานทั่วโลก ในปี 2557 ภูมิภาคนี้ประสบเหตุโจรสลัด 141 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่นั้นอยู่ในน่านน้ำอินโดนีเซีย เหตุการณ์เหล่านี้รวมถึงการปล้น การขึ้นเรือ และความพยายามโจมตีที่ถูกขัดขวาง ซึ่งเทียบกับจำนวนเหตุการณ์ทั้งหมด 128 ครั้งในปี 2556 ในภูมิภาคนี้" หนังสือพิมพ์ สเตรทไทมส์ระบุ

ช่องแคบมะละการะหว่างมาเลเซียและสุมาตรานั้นเต็มไปด้วยโจรสลัด หนังสือพิมพ์จาการ์ตาโพสต์พาดหัวข่าวเมื่อวันที่ 2 มกราคม หนังสือพิมพ์ฉบับนี้รายงานคำมั่นสัญญาโดยนายไรอามิซาร์ด ไรอาคูดู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียคนใหม่ ว่าเขาจะพบกับรัฐมนตรีกลาโหมจากสิงคโปร์และมาเลเซียเพื่อหารือถึงสถานการณ์ความมั่นคง

"ช่องแคบมะละกาเป็นพื้นที่ทางทะเลที่ล้อมรอบรัฐสี่รัฐ นั่นคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย ช่องแคบนี้เชื่อมมหาสมุทรทั้งสามไว้ด้วยกัน นั่นคือ ทางตอนเหนือของทะเลจีนใต้ โดยมีมหาสมุทรอินเดียทางตอนใต้ พร้อมด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออก" หนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์ระบุ

สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทยยังคงร่วมกันลาดตระเวนทางทะเลและทางอากาศในบริเวณมะละกา หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวระบุ

"อาชญากรรมที่พบเห็นทั่วไปบ่อยที่สุดก็คือการปล้นเรือ เหล่าอาชญากรจู่โจมเรือเร็วขนาดเล็กหรือเรือหาปลาแล้วก็ปล้นเรือเหล่านั้น ณ ที่นั้นเลย" พล.ร.จ. มานาฮาน ซิมอรังคีร์ โฆษกกองทัพเรืออินโดนีเซีย บอกกับหนังสือพิมพ์จาการ์ตาโพสต์

ขั้นตอนใดที่ประเทศต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้ในการร่วมงานกันขจัดการกระทำอันเป็นโจรสลัดในภูมิภาคนี้ โปรดแสดงความคิดเห็นของคุณในส่วนแสดงข้อคิดเห็นที่ด้านล่าง

ที่มา -