ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

กระตุกหนวดลุงแซม มังกรกำหนดยุทธศาสตร์นาวี รุกพื้นที่ประกาศิต

เริ่มโดย mrtnews, มิ.ย 06, 13, 18:32:42 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ - กองทัพปลดแอกประชาชนได้ออกยุทธศาสตร์กองทัพเรือมังกรใหม่ แถลงเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา (1 มิ.ย. 56 ) ว่า จะได้ส่งทัพเรือเข้าไปปฏิบัติการภายในระยะ 200 ไมล์ทะเลห่างจากเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (EEZ) บริเวณใกล้พื้นที่ประกาศิตของสหรัฐฯ


ในเนื้อหาคำประกาศชี้ว่า จีนยอมรับบรรทัดฐานกฎหมายทางทะเลสากล ขณะที่หลายฝ่ายออกมามองว่า จีนกำลังท้าทายอำนาจสหรัฐฯ ในภูมิภาค

ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายระหว่างประเทศทางทะเลของแผ่นดินใหญ่ เผยว่า ความเคลื่อนไหวในครั้งนี้มีนัยยะสำคัญในการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ทางทะเลของจีน ตลอดจนเป็นฐานการพัฒนานโยบายต่าง ๆ ในอนาคต ขณะที่นักวิเคราะห์ด้านการป้องกันประเทศเผยว่า ปฏิบัติการที่ปักกิ่งสั่งเดินหน้าในครั้งนี้ ได้กลายเป็นแนวโน้มให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างจีนและมหาอำนาจในภูมิภาค

นักวิเคราะห์บางคนเผยว่า นโยบายจากการเจรจาแชงกรีล่าในสิงคโปร์เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา จีนพยายามสร้างความเชื่อมั่นว่า ทุกการกระทำของตนเป็นไปเพื่อสันติ

"จีนพยายามอธิบายว่าเดินหน้าปฏิบัติการอย่างสันติ แต่ผมเชื่อว่าจีนจะไม่เปลี่ยนนโยบายทางการทหารอย่างแน่นอน" มาสะยุกิ มาสุดะ ผู้เชี่ยวชาญด้านจีน ประจำศูนย์วิจัยการป้องกันประเทศ ของญี่ปุ่นเผย

เกาะกวม ในมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นปราการด่านหน้าสำคัญของทัพสหรัฐฯในแปซิฟิกตะวันตก ตลอดจนน่านน้ำรอบเกาะฮาวาย และชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ จีนบอกว่า ปฏิบัติการทัพเรือของตนห่างจากบริเวณเหล่านี้มาก

จีนและสหรัฐฯ ถกเถียงกันพักใหญ่เพื่อที่จะได้ตกลงกันในกฎฯ ปฏิบัติการทางทะเล ท่ามกลางความตึงเครียดที่จีนได้เพิ่มขีดความสามารถทางการทหารขึ้น นักวิเคราะห์บางคนถึงกับเผยว่า จีนได้ใช้เรือดำน้ำบุกเจาะเข้าไปในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของสหรัฐฯ

เมื่อเดือนที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้ตรวจจับเรือดำน้ำ 3 ลำบริเวณใกล้กับเกาะโอกินาวา เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นเผยว่า พวกเขารู้ว่าเรือดำน้ำเป็นของชาติใด และได้เป็นตัวแทนทางการทูตแจ้งไปยังรัฐบาลของชาตินั้นแล้ว

จีนแสดงความไม่พอใจมานานต่อการซ้อมรบของสหรัฐฯ ที่อ้างว่าเพื่อยืนยันสิทธิบริเวณทางผ่านไปยังเขตเศรษฐกิจจำเพาะของจีน การตัดสินใจซ้อมรบตอบโต้ในครั้งนี้ ก็เท่ากับเป็นการบอกสหรัฐฯว่า จีนก็มีศักยภาพพร้อมที่จะทำได้เหมือนกัน

โกะ อิโตะ ศาสตราจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยเมจิ โตเกียวเผยว่า การวางท่าทางของจีนเป็นการกระทำแบบหน้าซื่อใจคด เนื่องจากจีนคิดว่าบริเวณน่านน้ำที่ห่างจากเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเลล้วนเป็นอาณาเขตของจีนไปเสียทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม เจ้า ย่าตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านทัพเรือแห่งมหาวิทยาลัยรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์แห่งเซี่ยงไฮ้เผยว่า การเคลื่อนพลในครั้งนี้มีนัยยะสำคัญด้านการพัฒนานโยบายทางทัพเรือของจีน และชี้ว่าปักกิ่งกำลังเดินหน้าไปตามบรรทัดฐานระหว่างประเทศ ระบุว่าจีนยอมรับบรรทัดฐานสากลเหล่านี้ ซึ่งระบุว่า สามารถทำการเดินเรือได้อย่างอิสระบริเวณทะเลหลวง

หนี เล่อสยง ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์ทางทะเลและนโยบายการป้องกันชาติ เผยว่า ความเคลื่อนไหวของจีนเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนนโยบายทางทะเลของผู้นำชุดใหม่ ซึ่งต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมทางทะเลของจีนและเสริมเกราะมั่นคงให้ทัพเรือแกร่งขึ้นกว่าทศวรรษที่ผ่านมาแบบติดปีก

อิโตะเผยว่า ญี่ปุ่นกำลังติดตามความเคลื่อนไหวของทัพเรือจีนแบบจับตาใกล้ชิด เขาเชื่อว่าจีนจะงัดเรือดำน้ำของตนออกมาเสริมการขยายอำนาจในแปซิฟิกอย่างแน่นอน และมีโอกาสสูงที่จะเผชิญหน้ากัน


ขณะที่นายพลฉี เจี้ยนกั๋ว รองเสนาธิการของกองทัพปลดแอกประชาชนจีนได้กล่าวในการเจรจาแชงกรีล่าที่สิงคโปร์ว่า ปักกิ่งจะเก็บปัญหาขัดแย้งด้านอาณาเขตไว้สักพัก และจะแก้ปัญหาทั้งปวงผ่านการเจรจา

ที่มา -




ผบ.ทหารสหรัฐขอให้รอมชอมกันกรณีพิพาททางทะเลในเอเชีย

กัวลาลัมเปอร์ 5 มิ.ย. 56 - พล.ร.อ.แซมมวล ล็อกเลียร์ ผู้บัญชาการทหารสหรัฐประจำภูมิภาคแปซิฟิก กล่าวว่า สหรัฐคัดค้านความเคลื่อนไหวของประเทศเอเชียใดๆ ก็ตามที่จะใช้กำลังยึดครองน่านน้ำในทะเลจีนใต้แต่เพียงฝ่ายเดียว

ผู้บัญชาการทหารสหรัฐ กล่าวว่า ทุกฝ่ายที่ต่างอ้างสิทธิต้องหาทางประนีประนอมกัน เพื่อคลี่คลายความขัดแย้งในการครอบครองน่านน้ำทางทะเล ซึ่งเต็มไปด้วยทรัพยากรมากมาย แม้เจ้าหน้าที่สหรัฐไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเป็นประเทศใด แต่ช่วงนี้จีนเพิ่มการคุกคามมากขึ้นในหมู่เกาะที่แย่งสิทธิทับซ้อน และกังวลกันว่าอาจทำให้เกิดการเผชิญหน้ากับประเทศอื่น เช่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และบรูไน เขายังกล่าวสนับสนุนให้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หาแนวทางปฏิบัติร่วมกันกับจีน เพื่อไม่ให้เกิดการปะทะกัน.

ที่มา -