ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

เร่งท่าเรือ ‘กันตัง’ ดันส่งออกอาเซียน-เอเชียใต้

เริ่มโดย mrtnews, มี.ค 10, 15, 19:47:33 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

โดย...เมธี เมืองแก้ว

ตรัง เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการขยายตัวด้านการส่งออกไปยังต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ บังกลาเทศ ศรีลังกา และอินเดีย ที่เป็นคู่ค้าที่สำคัญ ดังนั้น หลายฝ่ายจึงมองว่าถ้าได้มีการก่อสร้างท่าเทียบเรือที่ได้มาตรฐาน จะทำให้การขนส่งสินค้าจาก จ.ตรัง รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง ไปยังประเทศต่างๆ เกิดความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะจะสามารถลดต้นทุนการขนส่งได้อย่างมาก นอกจากนี้ ยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 อีกด้วย


กิจ หลีกภัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ตรัง เปิดเผยว่า ได้รับงบประมาณจากกรมเจ้าท่า 406,945,000 บาท เพื่อก่อสร้างท่าเทียบเรือบ้านนาเกลือ ต.นาเกลือ อ.กันตัง เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือน มี.ค. 2555 เพื่อให้เป็นท่าเรือที่มีขนาดความกว้าง 29 เมตร ยาว 185 เมตร ความลึกหน้าท่า 5.5 เมตร รองรับเรือบรรทุกสินค้าประเภทเทกอง ขนาด 4,000 ตัน จอดเทียบท่าได้พร้อมกันครั้งละ 2 ลำ แยกเป็นท่าเรือส่งออก 1 ท่า และเป็นท่าเรือนำเข้า 1 ท่า บนเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่นั้น

นายก อบจ.ตรัง บอกว่า พื้นที่ท่าเรือจะครอบคลุมพื้นที่หลังท่า พื้นที่เทกองสินค้า อาคารสำนักงานบริหารท่าเรือ อาคารซ่อมบำรุง ด่านตรวจและชั่งน้ำหนัก โกดังสินค้า กักกันพืช-สัตว์ ที่จอดรถ สถานีสูบน้ำ รวมทั้งที่ตั้งระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ถนนในโครงการ และเชื่อมต่อจนถึงถนนไปบ้านนาเกลือเหนือ ส่วนถนนทางเข้าท่าเรือนาเกลือ อบจ.ตรัง ได้อนุมัติงบประมาณกว่า 28 ล้านบาท ก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีต ความกว้าง 12 เมตร ความยาว 1,050 เมตร

อบจ.ตรัง มี 3 แนวคิดในการบริหารจัดการท่าเทียบเรือนาเกลือ คือ 1.อบจ.บริหารจัดการเองในช่วงแรก หลังจากนั้นให้เอกชนเข้ามาประมูลการให้เช่า 2.อบจ.บริหารจัดการเองทั้งหมด และ 3.ให้เอกชนมาประมูลใช้ท่า ซึ่งทั้ง 3 แนวทางมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แต่ปรากฏว่ายังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เนื่องจากกรมธนารักษ์จะขอแบ่งค่าบริหารจัดการในอัตรา 50-50 ก่อนหักค่าใช้จ่าย ซึ่ง อบจ.ตรัง เห็นว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่คุ้มทุน จึงร้องขอไปยังรัฐบาลให้หาแนวทางแก้ไขปัญหานี้


ด้าน จุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า ให้ข้อมูลว่า ก่อนหน้านี้เคยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับโอนจากกรมเจ้าท่า เพื่อเข้าไปบริหารจัดการท่าเทียบเรือแห่งหนึ่งในประเทศไทย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากนั้นจึงไม่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดขอเข้าไปบริหารท่าเทียบเรืออีก และส่วนใหญ่จะเป็นเอกชน แต่กรณีของ อบจ.ตรัง ถือเป็นกรณีพิเศษ เพราะได้ลงขันร่วมทุนกับกรมเจ้าท่ามาตั้งแต่ต้น จึงจำเป็นที่จะต้องหาทางออกร่วมกัน เพื่อให้ท่าเทียบเรือนาเกลือเปิดใช้งานได้โดยเร็วที่สุด

ที่มา -