ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

เปิดใจ "จุมพล สงวนสิน" กับภาระหลักถอดใบเหลืองอียู ภายใต้แรงกดดันระเบิดเวลา

เริ่มโดย mrtnews, เม.ย 28, 15, 06:44:12 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ - มติชนรายวัน วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

หมายเหตุ : นายจุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง ให้สัมภาษณ์พิเศษ "มติชน" ถึงประเด็นการแก้ไขปัญหาการประมงไทย หลังจากสหภาพยุโรป (อียู) แจกใบเหลืองอย่างเป็นทางการ ตามกฎการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และขาดการควบคุม (ไอยูยู) โดยให้เวลา 6 เดือนปรับปรุงให้เรียบร้อย ก่อนจะตัดสินรอบใหม่ว่าจะต่อให้อีก 6 เดือน หรือแจกใบแดงตัดสิทธิสินค้าอาหารทะเลไทยเข้าไปขายในตลาดอียู


- การโดนใบเหลืองมีผลกระทบใดกับไทยบ้าง

ขณะ นี้เป็นเพียงแค่การเตือน ยังสามารถส่งออกสินค้าทะเลไปอียูได้ตามปกติ จึงยังไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก ส่วนบางคนอาจจะตั้งข้อสังเกตว่าจะส่งผลกระทบด้านภาพลักษณ์สินค้าไทยหรือไม่ ส่วนตัวคิดว่าอยู่ที่ประเทศเราเองมากกว่า หากแสดงให้ประเทศคู่ค้าเห็นว่า เรามีการใช้มาตรการปรับปรุงการประมงให้เข้มข้นขึ้น ก็จะสร้างความมั่นใจให้กับประเทศคู่ค้าว่าไทยจะไม่โดนใบแดงในอีก 6 เดือนข้างหน้า

- อียูแนะให้ปรับปรุงอะไรบ้าง

จากการมา สำรวจล่าสุดของอียู ได้ให้คำแนะนำการแก้ไขการประมงในไทย 3 ข้อ คือ 1.การแก้ไข พ.ร.บ.ประมง พ.ศ.2490 ที่ใช้บังคับอยู่ อียูมองว่าเก่ามากและไม่มีความเป็นสากล เช่น ไม่มีบทลงโทษเรือประมงที่ทำผิดกฎหมาย ทำลายน่านน้ำทรัพยากรธรรมชาติ ควรต้องปรับปรุงให้มีอำนาจในการลงโทษ อย่างไรก็ตาม ได้ปรับปรุง พ.ร.บ.ประมงใหม่ เป็น พ.ร.บ.ประมง พ.ศ.2558 ที่ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว เหลือเพียงรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ใน 60 วันถัดจากนั้น

2.การตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง โดยอียูต้องการให้ไทยมีระบบควบคุมเฝ้าระวังเรือประมงทั้งที่อยู่ในน่าน น้ำไทย และที่ออกไปทำประมงนอกน่านน้ำอื่นๆ โดยอียูเน้นว่าต้องติดเครื่องติดตามตำแหน่งเรือ ที่เรียกสั้นๆ ว่า "วีเอ็มเอส" สามารถตรวจสอบได้ว่าเรือประมงลำใดไปทำประมงในน่านน้ำที่หวงห้ามหรืออนุรักษ์ พันธุ์สัตว์น้ำ ต้องจดทะเบียนเรือเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของเรือ ต้องทำสมุดบันทึกการทำประมง เช่น รายละเอียดลูกเรือ กัปตัน ตำแหน่งเรือที่ไปทำประมง ชนิดปลาและจำนวนปลาที่จับมาได้ เพื่อสามารถตรวจสอบกับต่างประเทศได้ว่าเรือลำนั้นมีการทำประมงที่ถูกกฎหมาย จริง รวมทั้งการเพิ่มศูนย์การแจ้งเรือเข้าออกท่าอีก 28 จุด เพื่ออำนวยความสะดวกและตรวจสอบเรือประมงได้ครอบคลุมได้มากขึ้น

3.การจัดทำแผนระดับชาติเพื่อป้องกัน แก้ปัญหาไอยูยู (NPOA-IUU) ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ไทยที่อียูต้องการเห็น เช่น พันธกิจ ภารกิจ หน้าที่ของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาประมง เป็นการตีกรอบขึ้นให้มีความเป็นสากล จากที่ไทยเคยเสนอแผนให้อียูแล้วแต่ถูกตีกลับโดยมองว่าแผนที่เขียนไว้กว้าง เกินและไม่ชัดเจน จึงต้องร่างแผนใหม่ คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในอีก 2 สัปดาห์

- ตอนนี้มาตรการหลักที่รัฐบาลกำลังดำเนินการแก้ไขมีอะไรบ้าง

ได้ ประชุมหารือกับคณะกรรมการไอยูยูมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธาน ต่างเห็นตรงกันในสิ่งที่ต้องทำ คือออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เพื่อเติมเต็ม พ.ร.บ.ประมง พ.ศ.2490 เติมสิ่งที่ยังไม่มีในบทบัญญัติ เช่น บทลงโทษเรือประมงที่ทำผิดนอกน่านน้ำต่างประเทศ หรือสากล แล้วหนีกลับไทย จากเดิมในกฎหมายไม่มีบทลงโทษ รวมถึงการออกกฎหมายลูกบังคับให้เรือประมงทุกลำจะต้องติดวีเอ็มเอส ซึ่ง พ.ร.ก.ดังกล่าวได้ร่างไว้พร้อมแล้วเหลือเพียงรอให้ พ.ร.บ.ประมง พ.ศ.2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก็จะเสนอร่าง พ.ร.ก.ให้ ครม.อนุมัติ มีผลบังคับใช้ทันที

"ตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ขับเคลื่อนหลายมาตรการเพื่อป้องกันการถูกใบเหลืองมาตลอด เช่น การจดทะเบียนเรือให้เรือทุกลำต้องขึ้นทะเบียนเข้าระบบข้อมูลให้ถูกต้อง ปัจจุบันจดทะเบียนเรือไปกว่า 50,000 กว่าลำแล้ว เหลือเพียงการตรวจสอบตัวเลขอีกครั้งเพื่อความมั่นใจ 2.การติดตั้ง วีเอ็มเอส เรือขนาด 30-60 ตันกรอส และเรือขนาด 60 ตันกรอสขึ้นไป คืบหน้าแล้วกว่า 60% คาดว่าในเดือนพฤษภาคมนี้ที่ฝ่ายอียูจะมาสำรวจการปรับปรุงการประมงไทย การติดตั้งวีเอ็มเอสให้เรือประมงจะเรียบร้อยทุกลำ

- ทำไมถึงไม่ใช้ มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ในการแก้ปัญหาเลยทั้งที่รัฐบาลสามารถทำได้ ?

ตอน แรกกระทรวงเกษตรฯพิจารณาสองทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาการประมงอย่างรวดเร็ว คือ พ.ร.ก. และการขออำนาจ มาตรา 44 แต่หลังจากหารือกับหลายฝ่าย มองว่า มาตรา 44 ยังไม่จำเป็น ยังมีเวลาเหลือพอแก้ไข และกรมประมงร่วมกับกรมเจ้าท่า กระทรวงแรงงาน กรมศุลกากร ตำรวจ ทหารเรือได้แก้ปัญหามาเป็นระยะอยู่แล้ว น่าจะแก้ไขได้ทันใน 6 เดือน อีกทั้งเห็นว่าการแก้ไขโดยใช้ขั้นตอนปกติจะทำให้สถานการณ์ต่างๆ เป็นปกติมากกว่า แต่ถ้าไม่ทัน คงขึ้นกับฝ่ายนโยบายอาจจะปรับมาใช้มาตรา 44 ก็ได้

- พ.ร.บ.ประมง พ.ศ.2558 มีความพร้อมเพียงใด

มี ความพร้อมในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะความเป็นสากล จะขาดเพียงรายละเอียดบางข้อตามที่อียูต้องการ เช่น บทบัญญัติเรือที่ออกทำประมงนอกน่านน้ำไทย และทำผิดกฎหมาย เราไม่ได้บัญญัติไว้ เนื่องจากเดิมคิดว่าเป็นหน้าที่ของประเทศนั้นๆ ที่ต้องกำกับดูแลเรือประมงไทย เนื่องจากอยู่ในอาณาเขตตัวเอง จึงต้องแก้ไขเรื่องนี้ก่อน

- เดือนพฤษภาคมที่อียูจะเข้ามาตรวจอีกครั้ง รัฐบาลต้องแสดงความพร้อมในด้านใดบ้าง

ความ คืบหน้าในการติดตั้ง วีเอ็มเอส น่าจะเสร็จทันภายใน 2-3 เดือน เรื่องการปรับปรุงกฎหมาย และแผนระดับชาติ โดยจะขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากอียูเพื่อให้ปรับปรุงทันเดือนตุลาคมนี้ซึ่งจะ พิจารณาผลประเทศไทยอีกครั้ง

- ตั้งแต่ไทยโดนใบเหลือง ได้หารือกับภาคเอกชนและชาวประมงบ้างหรือไม่

ได้ ทำหนังสือแจ้งให้เอกชนทราบรัฐบาลกำลังแก้ไขในจุดนี้อยู่ พร้อมย้ำว่า การส่งออกสินค้าอาหารทะเลยังทำได้ตามปกติ ขณะที่ทูตกระทรวงเกษตรฯ ประจำต่างประเทศก็ต้องทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์และประสานกับอียู ส่วนชาวประมง เราได้หารือกับสมาคมประมงต่างๆ แล้ว และขอให้ช่วยกันร่วมมือ ทำตามระเบียบข้อบังคับ

- การโดนใบเหลืองไอยูยู จะส่งผลต่อรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา ที่จัดลำดับไทยให้อยู่ระดับต่ำสุด หรือที่เรียกว่า "เทียร์ 3" ด้วยหรือไม่

ต้อง แยกประเด็นกัน กฎไอยูยูเน้นด้านการประมง เช่น เครื่องมือการประมง การทำประมงในและนอกน่านน้ำ การตรวจสอบย้อนกลับเรือประมง แต่รายงานค้ามนุษย์ของสหรัฐเป็นเรื่องการค้ามนุษย์ที่มีหลายๆ อาชีพ ไม่ใช่เฉพาะประมง ต้องอย่ามาโยงกัน

- พล.อ.ประวิตร กำชับการแก้ปัญหาใดเป็นพิเศษ

พล.อ.ประวิตร ขอให้กรมประมงเร่งแก้ไขกฎหมาย โดยเฉพาะการออกกฎหมายลูก รวมทั้งการติดตั้งวีเอ็มเอสให้เสร็จภายใน 60 วัน ได้ตั้งทีมเฉพาะกิจ ประกอบด้วยหลายหน่วยงาน เช่น กรมเจ้าท่า ในฐานะหัวหน้าทีม ทหารเรือ ตำรวจเรือ กรมศุลกากร กรมประมง เพื่อตั้งจุดและตรวจสอบเรือประมงตามท่าเรือเข้า-ออกต่างๆ

- อีก 6 เดือนข้างหน้าก่อนอียูจะประกาศผล มีการประเมินสถานการณ์ว่าจะเกิดอะไรได้บ้างเพื่อรับมือ?

ได้ จำลองสถานการณ์ แบ่งเป็น 3 กรณี คือ 1.ไทยดำเนินการป้องกันจนมีผลสำเร็จเป็นรูปธรรม อียูจะให้ใบเขียว ประกาศยกเลิกใบเหลือง 2.ถ้าอียูเข้ามาตรวจและพบว่า ไทยมีความพยายามในการแก้ไขปัญหา แต่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ อาจขยายเวลาให้ปรับปรุงต่อในอีก 6 เดือน และ 3.ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหา รวมทั้งไม่แสดงท่าทีในการตั้งใจจะแก้ไข อียูคงประกาศให้ใบแดง ซึ่งหมายถึงประเทศไทยจะไม่สามารถส่งออกสินค้าประมงที่ใช้วัตถุดิบจากการจับ จากทะเลไปยังสหภาพยุโรป

- จากมาตรการแก้ไขปัญหาทั้งหมดที่ขับเคลื่อนคิดว่าเพียงพอหรือไม่

เพียง พอ ประเทศฟิลิปปินส์และเกาหลีใต้เคยโดนใบเหลืองในกรณีเดียวกับเรา ติดใบเหลืองนานถึง 1 ปีกว่า ก่อนอียูจะถอดออก สิ่งที่ทำให้ถอดใบเหลืองได้นั้น เนื่องจากมีการปรับแก้กฎหมายเก่าเหมือนเรา เกาหลีใต้ต้องปรับแก้ถึง 2 ครั้งจึงผ่าน ส่วนเราได้เตรียม พ.ร.บ.ประมงไว้แล้ว ได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่อียูมาตลาด ดังนั้นในอีก 6 เดือน ไทยน่าจะได้ใบเขียวแน่นอน

"แต่ก็ต้องขึ้นกับพี่น้องชาวประมง

ตามก็ต้องขอความร่วมมือกัน โดยเฉพาะพี่น้องชาวประมง และเจ้าหน้าที่ข้าราชการ เพราะหากมีกฎหมายแล้ว แต่ไม่ได้บังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่ก็จะไม่มีประโยชน์

ที่มา -




ทหารเรือบุกจับกุมเรือประมงไทยผิด IUU

ทัพเรือภาคที่ 1 ส่งเรือตรวจการณ์ 111 เข้าจับกุมเรืออวนลาก 2 ลำ ขณะออกทำประมงบริเวณปากอ่าวหีบ ผิดข้อกำหนด IUU


พล.ร.ท.สุชีพ หวังไมตรี ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 และผู้อำนวยการศูนย์ไทยอาสาป้องกันชาติในทะเล เขตทัพเรือภาคที่ 1 (ศรชล.เขต 1) ได้รับการประสานจากกลุ่มประมงพื้นที่ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ว่า ได้มีเรือประมงอวนลาก มีไต๋เรือและลูกเรือ เป็นคนสัญชาติกัมพูชาและเมียนมา ล่องเรือทำประมงอยู่บริเวณปากอ่าวสัตหีบ จึงสั่งการให้ น.อ.จรัญวีร์ ญาดี เสนาธิการกองเรือปฏิบัติการ พร้อม ร.อ.เจษฎา ตาลลักษมณ์ ผู้บังคับการเรือตรวจการณ์ 111 นำเรือออกจากท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ ออกลาดตระเวนค้นหาเรือเป้าหมาย

ต่อมาได้รับรายงานจากเรือตรวจการณ์ 111 ว่า ได้พบเรือเป้าหมายชื่อ โชคชัยนาวี 22 และโชคชัยนาวี 11 ตัวเรือสีเทา คาดขาว กำลังจอดลอยลำคู่กัน ด้านทิศตะวันตกของเกาะคราม อยู่ห่างจากชายฝั่ง อ.สัตหีบ ออกไปประมาณ 2 ไมล์ทะเล จึงได้เข้าควบคุมพร้อมตรวจสอบพบเรือทั้ง 2 ลำพบ ไต๋เรือเป็นชาวสัญชาติกัมพูชา โดยเป็นลูกเรือชาวกัมพูชา จำนวน 5 คน และ เมียนมา 11 คน รวม 16 คน จึงได้ตรวจยึดตัวเรือและควบคุมตัวไต๋เรือพร้อมลูกเรือมาทำการสอบสวนยังท่าเทียบเรือกลางอ่าว กองเรือยุทธการ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

ทั้งนี้ เรือประมงทั้ง 2 ลำ ได้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติการประมง โดยให้ผู้ควบคุมเรือเป็นชาวต่างด้าวซึ่งถือมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติและตามยุทธศาสตร์ข้อกำหนด IUU

ที่มา -