ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

สื่อกลาโหม IHS Jane’s ชี้ปัญหาทะเลจีนใต้กระตุ้นอาเซียนแข่งเสริมเขี้ยวเล็บนาวี

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 27, 15, 20:01:30 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

รอยเตอร์ - สื่อกลาโหมชื่อดัง "ไอเอชเอส เจนส์" (IHS Jane's) เตือนปัญหาทะเลจีนใต้กระตุ้นให้รัฐบาลหลายชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อัดฉีดงบประมาณเสริมกองทัพเรือและยามฝั่ง ทว่า เมื่อศักยภาพทางการทหารเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงที่จะเกิดการเผชิญหน้าในน่านน้ำพิพาทจนสถานการณ์ลุกลามบานปลายก็มีมากตามไปด้วย


นิตยสารกลาโหมรายสัปดาห์ ไอเอชเอส เจนส์ ดีเฟนซ์ ระบุว่า งบประมาณด้านกลาโหมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าจะพุ่งทะลุ 52,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปีภายในปี 2020 จากที่คาดการณ์ไว้เพียง 42,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีนี้

ไอเอชเอส เจนส์ ยังประเมินว่า กลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศจะใช้จ่ายงบประมาณรวมกันถึง 58,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในระยะเวลา 5 ปี เพื่อจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์รุ่นใหม่ๆ โดยจะเน้นสำหรับการใช้งานในกองทัพเรือ

อาวุธส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้เพื่อป้องกันอธิปไตยในทะเลจีนใต้ หลังจากที่จีนเริ่มขยายอิทธิพลโดยการก่อสร้างหมู่เกาะเทียมขึ้นบริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์ สร้างความหวั่นวิตกแก่เพื่อนบ้านในอาเซียน และยังเป็นเหตุให้เกิดการกระทบกระทั่งกับเครื่องบินของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ด้วย

จีนอ้างอธิปไตยเหนือน่านน้ำเกือบทั้งหมดในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าทางเรือมูลค่ากว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ทว่าฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย ไต้หวัน และบรูไน ก็อ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ทับซ้อนนี้เช่นกัน

"ยิ่งแสนยานุภาพทางทะเลของแต่ละชาติแผ่ขยายออกไป ขอบเขตและความรุนแรงเมื่อเกิดการเผชิญหน้าก็จะมากตามไปด้วย" ทิม ฮักซ์ลีย์ ผู้อำนวยการใหญ่สถาบันนานาชาติเพื่อการศึกษายุทธศาสตร์ในเอเชีย (International Institute of Strategic Studies in Asia) ระบุ

ความกระตือรือร้นที่จะเสริมศักยภาพด้านการป้องกันทางทะเลปรากฏชัดเจนในงานแสดงอาวุธที่สิงคโปร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งมีบุคคลระดับผู้บัญชาการกองทัพเรือและเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อด้านกลาโหมเดินทางไปพบปะผู้ผลิตอาวุธจากสหรัฐฯ ยุโรป อิสราเอล และส่วนอื่นๆ ของเอเชีย ซึ่งต่างขนเอาอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทะเลรุ่นใหม่ๆ มาโชว์กันอย่างคึกคัก ไม่ว่าจะเป็นเรือดำน้ำและเรือรบที่ติดตั้งเทคโนโลยีล้ำสมัย เรือตรวจการณ์ เรือสะเทินน้ำสะเทินบก เครื่องบินสอดแนม และอากาศยานไร้คนขับ

นอกจากข้อพิพาทในเชิงภูมิศาสตร์การเมืองแล้ว อาเซียนยังต้องรับมือวิกฤตเรื้อรังอื่นๆ เช่น ปัญหาโจรสลัด และขบวนการลักลอบขนสินค้าหรือผู้อพยพทางเรือ

แม้รายการอาวุธที่ต้องการสั่งซื้อจะยาวเป็นหางว่าว แต่ต้องยอมรับว่าประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ล้วนมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ เว้นแต่เพียงสิงคโปร์ประเทศเดียว

"กองทัพบางประเทศยังได้รับคำสั่งให้ซ่อมแซมและใช้งานอุปกรณ์บางอย่างซึ่งควรจะโละทิ้งไปตั้งหลายสิบปีแล้ว" แหล่งข่าวด้านการทหารในภูมิภาคซึ่งไม่ประสงค์ออกนาม ให้สัมภาษณ์ที่งานแสดงอาวุธ IMDEX ในสิงคโปร์

ริชาร์ด บิตซิงเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกลาโหมจากวิทยาลัยนานาชาติศึกษา เอส. ราชารัตนัม ในสิงคโปร์ ระบุว่า หลังจากที่สิงคโปร์ร่วมกับบริษัท DCNS ของฝรั่งเศสผลิตเรือฟริเกตชั้นฟอร์มิดาเบิล จำนวน 6 ลำ ซึ่งสามารถใช้ปฏิบัติภารกิจได้หลากหลาย ประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เริ่มดำเนินรอยตามบ้าง โดยมาเลเซียได้สั่งซื้อเรือคอร์เวตจำนวน 6 ลำ รวมมูลค่า 9,000 ล้านริงกิตจาก DCNS ขณะที่อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย ก็อยู่ระหว่างเจรจากับซัพพลายเออร์จากรัสเซียและยุโรป

เวียดนามมีเรือดำน้ำชั้นกีโล (Kilo-class) ซึ่งผลิตในรัสเซียจำนวน 3 ลำ และได้สั่งซื้อเพิ่มไปแล้วอีก 3 ลำ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมองว่าเป็นการตอกย้ำว่าฮานอยมีเจตนาท้าทายแสนยานุภาพทางทะเลที่เหนือกว่าของจีน

สิงคโปร์ซึ่งมีเรือดำน้ำมือสองอยู่แล้ว 4 ลำได้สั่งซื้อเพิ่มเติ่มอีก 2 ลำจากบริษัท ธีสเซนครุป มารีน ซิสเต็มส์ ของเยอรมนี ส่วนอินโดนีเซียก็ทำสัญญาสั่งผลิตเรือดำน้ำ 3 ลำกับบริษัท แดวู ของเกาหลีใต้


เรือสะเทินน้ำสะเทินบกซึ่งสามารถขนรถถัง เฮลิคอปเตอร์ ทหาร และใช้ในปฏิบัติการค้นหาและช่วยชีวิต ก็กำลังได้รับความนิยม

"พาหนะเหล่านี้ใช้ปฏิบัติภารกิจได้หลายอย่าง จึงเหมาะอย่างยิ่งกับกองทัพเรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีงบประมาณค่อนข้างจำกัด ทว่ามีความจำเป็นหลายด้าน" ฮักซ์ลีย์กล่าว

ฟิลิปปินส์เตรียมรับมอบเรือยามฝั่ง 10 ลำที่สั่งผลิตในญี่ปุ่นภายในสิ้นปีนี้ โดยโตเกียวยังรับหน้าที่ผลิตเรือตรวจการณ์ให้แก่กองทัพเรือเวียดนามด้วย

อากาศยานปีกคงที่ (fixed-wing aircraft) เฮลิคอปเตอร์ และเครื่องบินไร้คนขับ (โดรน) ซึ่งจะช่วยยกระดับความสามารถในการลาดตระเวนทางทะเล ก็กำลังได้รับความสนใจมากเช่นกัน

ในงานแสดงอาวุธที่เกาะลังกาวีของมาเลเซียเมื่อต้นปีนี้ โบอิ้งได้พยายามโปรโมตเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลรุ่นใหม่ซึ่งติดตั้งเรดาร์และเซ็นเซอร์แบบเดียวกับเครื่องบิน พี-8 โพไซดอน เพียงแต่ไม่มีระบบอาวุธต่อต้านเรือดำน้ำ

ที่มา -