ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

สหรัฐ-ญี่ปุ่น ทดสอบขีปนาวุธ SM-3 รุ่นใหม่สำเร็จ

เริ่มโดย mrtnews, มิ.ย 08, 15, 19:56:04 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

สหรัฐ-ญี่ปุ่นทดสอบขีปนาวุธรุ่นใหม่ สหรัฐและญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการยิงทดสอบขีปนาวุธ "สแตนดาร์ด มิสไซล์-ทรี" รุ่นล่าสุด ที่ทั้งสองประเทศลงทุนร่วมกันหลายล้านดอลลาร์สหรัฐ วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน 2558 เวลา 11:00 น.


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 58 ว่าสำนักงานป้องกันขีปนาวุธของสหรัฐ ( เอ็มดีเอ ) ออกแถลงการณ์เมื่อวันอาทิตย์ เรื่องการประสบความสำเร็จในการยิงทดสอบขีปนาวุธ "สแตนดาร์ด มิสไซล์-ทรี" ( เอสเอ็ม-ทรี ) รุ่น "IIA" ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง21 นิ้ว ซึ่งเป็นขีปนาวุธนำวิถีข้ามทวีปจากพื้นสู่อากาศ ผลิตโดยบริษัทเรธีออน จากเรือพิฆาตเอจิสของกองทัพเรือสหรัฐลำหนึ่ง ซึ่งจอดอยู่ที่แหลมมูกู ในเขตเวนทูรา ริมชายฝั่งทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อวันเสาร์

ทั้งนี้ การยิงทดสอบอาวุธที่เกิดขึ้นถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกสำหรับโครงการร่วมมือด้านอาวุธระหว่างสหรัฐกับญี่ปุ่น โดยรัฐบาลอวอชิงตันทุ่มงบประมาณเพื่อการนี้กว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 67,400 ล้านบาท ) ขณะที่รัฐบาลโตเกียวสมทบอีก 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 33,700 ล้านบาท ) เพื่อต่อยอดโครงการพัฒนาขีปนาวุธเอสเอ็ม-ทรี

เบื้องต้นกองทัพสหรัฐต้องการทดสอบและพัฒนาขีปนาวุธรุ่นนี้ต่ออีกระยะ ก่อนนำออกใช้งานจริงภายในปี 2561 โดยจะนำไปติดตั้งบนเรือพิฆาตทั้งของสหรัฐและญี่ปุ่น เพื่อเสริมศักยภาพด้านกลาโหมของกองทัพทั้งสองประเทศ ในการทำลายและสกัดกั้นอาวุธที่เป็นภัยคุกคามจากภายนอกได้รวดเร็วขึ้น และมีรัศมีการทำลายล้างที่กว้างขึ้นอีกด้วย"

ที่มา -




"สหรัฐฯ-ญี่ปุ่น" โวยิงทดสอบขีปนาวุธ SM-3 รุ่นใหม่สำเร็จ

รอยเตอร์ - สหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีคำแถลงร่วมวานนี้ (7 มิ.ย. 58) เกี่ยวกับความสำเร็จในการยิงทดสอบขีปนาวุธ สแตนดาร์ด มิสไซล์-3 (SM-3) รุ่น IIA ของบริษัทเรย์ธีออน ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาอาวุธร่วมระหว่างทั้ง 2 ประเทศที่ใช้งบประมาณหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ


ริค เลห์เนอร์ โฆษกสำนักงานป้องกันขีปนาวุธสหรัฐฯ (MDA) ระบุว่า การยิงทดสอบขีปนาวุธจริงที่ พอยต์ มูกู ซี เรนจ์ นอกชายฝั่งรัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อวันเสาร์ (6) ที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

เลห์เนอร์ เปิดเผยว่า สหรัฐฯ ทุ่มงบประมาณราว 2,000 ล้านดอลลาร์ให้กับโครงการพัฒนาขีปนาวุธรุ่นนี้ ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นร่วมสนับสนุนเงินทุนอีกราว 1,000 ล้านดอลลาร์

SM-3 IIA ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 21 นิ้วถูกพัฒนาต่อยอดมาจากขีปนาวุธ SM-3 รุ่นเดิม ซึ่งใช้งานในระบบป้องกัน-โจมตีแบบเอจิสที่บริษัท ล็อกฮีด มาร์ติน คอร์ป เป็นผู้พัฒนา

ริกี เอลลิสัน หัวหน้ากลุ่มพันธมิตรสนับสนุนการป้องกันขีปนาวุธ (Missile Defense Advocacy Alliance) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ชี้ว่า "นี่เป็นกรณีที่ดีเยี่ยมที่สุดที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้สนับสนุนเงินทุนและความรู้ด้านวิศวกรรมร่วมกับประเทศพันธมิตร เพื่อพัฒนาระบบอาวุธรุ่นใหม่ที่จะช่วยยกระดับความมั่นคงของทั้ง 2 ชาติ"

เรย์ธีออน แถลงว่า ขีปนาวุธ SM-3 IIA ติดตั้งมอเตอร์จรวดขนาดใหญ่ขึ้น และมีศักยภาพสูงกว่าในการทำลายขีปนาวุธอื่น ซึ่งจะช่วยป้องกันภัยคุกคามจากขีปนาวุธพิสัยใกล้และกลางได้อย่างรวดเร็วกว่าเดิม และยังปกป้องพื้นที่ได้กว้างขวางยิ่งขึ้นด้วย

เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และพนักงานของเรย์ธีออน ระบุว่า การยิงทดสอบเมื่อวันเสาร์ (6 มิ.ย. 58) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการทำงานของส่วนปลายแหลมด้านหน้าของจรวด (nosecone) ระบบควบคุมวิถี การแยกตัวของบูสเตอร์ และการทำงานของขีปนาวุธในขั้นที่ 2 และ 3 โดยไม่ได้กำหนดให้มีการยิงสกัดหรือปล่อยขีปนาวุธเป้าหมายแต่อย่างใด

"ความสำเร็จครั้งนี้คงจะทำให้ขีปนาวุธ SM-3 IIA สามารถนำไปใช้งานจริงทั้งในทะเลและภาคพื้นดินได้ภายในปี 2018" เทย์เลอร์ ลอว์เรนซ์ ประธานฝ่ายธุรกิจระบบขีปนาวุธของ เรย์ธีออน เผย

เอลลิสัน ชี้ว่า สหรัฐฯ มีแผนที่จะทดสอบขีปนาวุธรุ่นนี้อีกเป็นเวลา 3 ปี ก่อนนำไปติดตั้งบนเรือรบเอจิสของกองทัพเรืออเมริกัน เรือรบคอนโกของญี่ปุ่น และระบบเอจิสภาคพื้นดินในโปแลนด์และโรมาเนีย

ที่มา -