ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

งาน World Gas Conference ส่งสัญญาณก๊าซโลก ปตท.พร้อมจัดหาพลังงานสำรอง

เริ่มโดย mrtnews, มิ.ย 22, 15, 19:19:03 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ล่าสุดบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมจัดแสดงบูทแสดงศักยภาพธุรกิจของ ปตท. ในงาน World Gas Conference การประชุมวิชาการและนิทรรศการอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติระดับโลก ณ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส พร้อมกับพาสื่อมวลชนร่วมในงานครั้งนี้ด้วย งานครั้งนี้จัดโดยสมาพันธ์ก๊าซระหว่างประเทศ (International Gas Union : IGU) มีผู้นำด้านพลังงานกว่า 600 บริษัท ใน 100 ประเทศเข้าร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และขยายโอกาสในธุรกิจก๊าซ


ปตท.ติดอันดับโลก และถือเป็นผู้เล่นในธุรกิจพลังงานสำคัญในตลาดโลกด้วย และสำหรับคอนเซ็ปต์ของการประชุมครั้งนี้ ก๊าซธรรมชาติคือ "เสาหลักพลังงานแห่งอนาคต" 20 ปีข้างหน้าใช้ก๊าซเพิ่มเท่าตัวก่อนจะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม พลังงานที่ใช้ส่วนใหญ่

ขณะที่กลุ่ม ปตท.ร่วมประชุมก๊าซฯ โลก 2015 เล็งเจรจาจัดหาเชื้อเพลิงสร้างความมั่นคงพลังงานชาติ รองรับความไม่แน่นอนจากกรณีสัมปทานปิโตรเลียม พร้อมเจรจาพันธมิตรจัดหาแอลเอ็นจีระยะสั้นและระยะยาวตามแผนบริหารพลังงาน ควบคู่แสดงนวัตกรรมกลุ่ม ปตท.สู่ชาวโลกเพื่อเปิดโอกาสขยายธุรกิจในอนาคต

ระดมสมองก๊าซฯ โลก 2015

ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กลุ่ม ปตท.ได้ร่วมเวทีประชุมก๊าซฯ โลก 2015 หรือ World Gas Conference 2015 ระหว่างวันที่ 1-5 มิถุนายน 2558 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นงานประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติระดับสากล จัดโดยสมาพันธ์ก๊าซระหว่างประเทศ (International Gas Union: IGU) จัดขึ้นทุกๆ 3 ปี

ปัจจุบันปริมาณสำรองปิโตรเลียมของไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การจัดหาแหล่งก๊าซฯ ใหม่ๆ ในประเทศนั้นทำได้ยากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้น รวมถึงการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและภาคขนส่ง ซึ่งหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ (NGV) มากขึ้น

ดังนั้น ปตท.จึงต้องเร่งจัดหาก๊าซธรรมชาติให้เพียงพอเพื่อให้มั่นใจว่า เศรษฐกิจไทยจะไม่สะดุดจากภาวะขาดแคลนพลังงานภายใต้สถานการณ์ที่ประเด็นสัมปทานปิโตรเลียมและแผนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ล้วนยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งการนำเข้าแอลเอ็นจีจึงมีส่วนสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในระยะยาว

ทั้งนี้จากการคาดการณ์ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยในปีนี้ จะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4,800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และประมาณการณ์ว่าจะมีอัตราเติบโตของการใช้ก๊าซฯ เฉลี่ยปีละประมาณ 3-4%

ปตท.เดินหน้าจัดหาก๊าซรับอนาคต

สำหรับการจัดหาก๊าซฯ ปัจจุบันประกอบด้วยการจัดหาจากแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยการนำเข้าจากสหภาพพม่า ปตท. ได้นำเข้าแอลเอ็นจีตั้งแต่ ปี 2554 ทั้งนี้ เพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการจัดหาก๊าซธรรมชาติในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการ ขณะที่ปริมาณสำรองของแหล่งก๊าซธรรมชาติในปัจจุบันมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ โดยในปี 2557 จัดหาก๊าซธรรมชาติรวม 4,691 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน มาจากแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศ 3,657 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และการนำเข้า 1,034 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือคิดเป็นสัดส่วนการจัดหาจากแหล่งในประเทศและต่างประเทศ ประมาณ 78:22%

จากแหล่งพลังงานในประเทศที่มีจำกัด กลุ่ม ปตท. จึงใช้เวทีประชุมก๊าซฯ โลก เพื่อแสวงหาโอกาสและพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อร่วมกันจัดหาก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับความต้องการใช้ของไทย โดยมีเป้าหมายในการเจรจากับคู่ค้าสำคัญเพื่อวางแผนจัดหาแอลเอ็นจีในระยะยาว อาทิ การพูดคุยกับบริษัท เชฟรอน (Chevron) ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการพลังงานโลก รวมถึงการขยายความร่วมมือกับบริษัทในกลุ่มของกาตาร์ก๊าซฯ (Qatargas) ซึ่ง ปตท.เป็นพันธมิตรที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง โดยภายใต้สัญญาที่มีในปัจจุบันนั้น กาตาร์ก๊าซก็ได้ทยอยจัดส่งแอลเอ็นจีระยะยาวให้ ปตท.จำนวน 2 ล้านตันต่อปี นอกจากนี้ผู้บริหารระดับสูงยังได้พบปะพูดคุยเจรจาทางธุรกิจกับ บริษัท เปโตรนาส (Petronas) และ บริษัท เอ็นจี้ (Engie) ในการตกลงซื้อขายแอลเอ็นจีในอนาคต ซึ่งปัจจุบันทั้งสองบริษัทก็มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ดีต่อกันกับกลุ่ม ปตท. โดย เปโตรนาสมีบริษัทลูกที่ร่วมทุนในโครงการเจดีเอ และบริษัท เอ็นจี้ ก็ถือหุ้นประมาณ 40% ใน บริษัท พีทีทีเอ็นจีดี ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม ปตท.

นอกจากนี้ กลุ่ม ปตท.ก็ยังแสวงหาพันธมิตรอื่นๆ ซึ่งอาจจะเข้ามาเสริมความแข็งแกร่งด้านเชื้อเพลิงแอลเอ็นจีโดยการจัดหาแหล่งแอลเอ็นจีระยะสั้น (ซื้อ/ขายในตลาด Spot หรือซื้อ/ขายเป็นครั้งๆ ) จากแหล่งต่างๆ โดยในงานครั้งนี้ ปตท.ก็จะมีโอกาสเจรจาทางธุรกิจร่วมกับ บริษัท โททาล (Total) และ บริษัท เชลล์ (Shell) อีกด้วย


ร่วมประชุมวิชาการโชว์นวัตกรรม

นอกจากการเข้าร่วมประชุมวิชาการทาง กลุ่ม ปตท. ยังได้จัดแสดงบูธนิทรรศการเพื่อแสดงนวัตกรรมของกลุ่ม ปตท. ภายใต้แนวคิด "นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีของธุรกิจก๊าซสู่ยุคสมัยของความยั่งยืน" (Gas Innovation Technology for Sustainable Era) เพื่อแสดงถึงวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจด้วยนวัตกรรมที่สามารถลดผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ทั้งสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดย กลุ่ม ปตท.จะมีการนำเสนอนวัตกรรมด้านธุรกิจก๊าซฯ สู่สายตาชาวโลก อาทิ อุปกรณ์ควบคุมเชื้อเพลิงร่วมดีเซลและก๊าซธรรมชาติ (ECU for Diesel-CNG Engine) การนำก๊าซคาบอนไดออกไซด์เหลือทิ้งมาทำเป็นพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อม และการนำองค์ความรู้ด้านบริหารจัดการระบบท่อส่งก๊าซฯ มารับจ้างบริหารหรือให้บริการครบวงจร เป็นต้น

สำหรับงานประชุมก๊าซฯ โลก 2015 มีบริษัทผู้นำด้านพลังงานกว่า 600 บริษัทใน 100 ประเทศเข้าร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแสวงหาโอกาสในการขยายธุรกิจอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติบนพื้นที่จัดแสดงกว่า 45,000 ตารางเมตร

ปตท.เตรียมพร้อมพลังงานสำรอง

กลุ่ม ปตท. ดำเนินธุรกิจก๊าซธรรมชาติแบบครบวงจร ตั้งแต่การสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติ จัดหาก๊าซธรรมชาติ การขนส่งก๊าซธรรมชาติผ่านระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีการขนส่งเพื่อนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ จากทั้งในและต่างประเทศการแยกก๊าซธรรมชาติ และการจัดจำหน่าย เพื่อจัดหาพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการของโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคทำให้ประเทศมีความมั่นคงด้านพลังงาน

ด้วยวิสัยทัศน์ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานภายในประเทศ และสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ปตท. จึงได้เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทางธุรกิจทุกด้านทั้งขยายระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติให้เชื่อมโยงครอบคลุมพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศการสร้างสถานีรับก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อรองรับการนำเข้า LNG เพิ่มเทคโนโลยีที่ทันสมัยในระบบบริหารจัดการต่างๆ มากขึ้น และจัดทำโครงการหลากหลายรูปแบบ ที่ส่งเสริมให้เกิดการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นทางเลือก และตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในภาคคมนาคมขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม และสาธารณูปโภค

จากการคาดการณ์ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยในปีนี้ จะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4,800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และประมาณการณ์ว่าจะมีอัตราเติบโตของการใช้ก๊าซฯ เฉลี่ยปีละประมาณ 3-4% มากน้อยขึ้นอยู่กับอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจไทย

สำหรับการจัดหาก๊าซฯ ประกอบด้วยการจัดหาจากแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยการนำเข้าจากสหภาพพม่า และนำเข้า LNG ตั้งแต่ ปี 2554 ทั้งนี้เพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการจัดหาก๊าซธรรมชาติในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการ ขณะที่ปริมาณสำรองของแหล่งก๊าซธรรมชาติในปัจจุบันมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ โดยในปี 2557 จัดหาก๊าซธรรมชาติรวม 4,691 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน มาจากแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศ 3,657 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และการนำเข้า 1,034 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือคิดเป็นสัดส่วนการจัดหาจากแหล่งในประเทศและต่างประเทศ 78:22%

จากสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นรวมถึงการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและภาคขนส่ง ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันสูงขึ้น ประชาชนจึงหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ (NGV) มากขึ้น และการชะลอแผนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ปตท.จึงต้องเร่งให้มีการจัดหาก๊าซธรรมชาติให้เพียงพอมากยิ่งขึ้น ซึ่งการนำเข้า LNG นี้ นับว่ามีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางที่หลายประเทศได้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะเห็นได?ว่ามีโครงการก่อสร้าง LNG Receiving Terminal เกิดขึ้นหลายแห่งในโลก


ผุดคลังลอยน้ำแก้ปัญหาก๊าซ

ส่วนของประเทศไทยนั้น ปัจจุบันต้องพึ่งพาการใช้ก๊าซธรรมชาติที่ร้อยละ 70 เดิมคิดว่าเป็นความเสี่ยง แต่เมื่อพิจารณาจากเวที World Gas Conference ครั้งนี้ มองว่าประเทศมาถูกทางแล้ว แต่ความเสี่ยงของประเทศขณะนี้มีเพียงเรื่องเดียว คือ ก๊าซในอ่าวไทยจะลดลงต่อเนื่อง ฉะนั้นสิ่งที่ภาครัฐและ ปตท.จะต้องดำเนินการคือ การหาก๊าซจากภายนอกประเทศเพิ่มขึ้นซึ่งขณะนี้เริ่มสร้างท่าเรือ-คลังสำหรับรับก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่มาบตาพุด ในเฟสแรก 5 ล้านตัน/ปี และกำลังเริ่มก่อสร้างในเฟสที่ 2 อีก 5 ล้านตัน นอกจากนี้ยังได้เสนอแผนที่จะเพิ่มอีก 5 ล้านตัน รวมเป็น 15 ล้านตัน เนื่องจากมองว่า LNG มี 2 หน้าที่คือ 1) การนำเข้ามารองรับการใช้ และ 2) เป็นบันไดหนีไฟของระบบก๊าซธรรมชาติ เพราะทุกวันนี้ไม่ได้มีการเก็บสำรอง ถ้าเป็นของเหลวแล้วเก็บใส่ถังไว้ การพยายามเพิ่ม LNG ขึ้นมา จริงๆ แล้ว นั่นคือคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ในอีกความหมายหนึ่ง

"ปตท.มองเห็นจุดอ่อนจากก๊าซ อย่างพม่าที่มี 3 แหล่งคือ เยดานา เยตากุน และซอติก้า ส่งเข้ามาไทย 3 แหล่งนี้จะต้องมีการผูกรวมกัน แล้วส่งเข้ามา แต่เนื่องจากพม่ามีคุณภาพต่างกันจึงต้องผสม หากแหล่งใดมีปัญหาเท่ากับว่าต้องหยุดทั้งหมดในขณะที่ไทยต้องพึ่งพาก๊าซจากพม่าถึง 1 ใน 4 จึงต้องหาทางออกเพิ่ม"

เมื่อเร็วๆ นี้ได้นำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อหารือกับประเทศเมียนมาที่จะทำโครงการคลังสำรองก๊าซ LNG ลอยน้ำ หรือ FSRU (Floating Storage & Re-gas Unit) แทนที่จะสร้างคลังขนาดใหญ่ไว้ที่ริมทะเล แปลงสภาพบนเรือและส่งเข้าระบบท่อจะเป็นการลงทุนที่ประหยัดและเร็ว สามารถแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น เพราะปัจจุบันมีการผลิตเรือที่ขนาด 3 ล้านตันแล้ว กำลังอยู่ในระหว่างเลือกพื้นที่เหมาะสมระหว่างพื้นที่เมืองคันบ่อง (kanbouk)และพื้นที่เหนือทวายที่ติดกับทางเขตเศรษฐกิจพิเศษ

ทั้งนี้ฝั่งเมียนมาเองจะมีสำรองเพิ่มขึ้นด้วย อีกจุดที่ล่อแหลมด้านพลังงานของประเทศคือ ภาคใต้ มีท่อก๊าซจากโครงการพื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย หรือ JDA ขึ้นมาที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และส่งก๊าซให้ภาคใต้ผลิตไฟฟ้า แต่ปัจจุบันมีท่อรับก๊าซเพียงเส้นแดียว เมื่อแหล่ง JDA หยุดผลิต จะส่งผลต่อโรงไฟฟ้าในภาคใต้ จึงต้องมีสำรอง จึงเสนอโครงการ FSRU อีก 1 ยูนิต ปริมาณ 3 ล้านตัน ข้อเสนอบางส่วนเสนอ กพช.พิจารณาแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้รับข้อมูลแล้ว จะเป็นประโยชน์ทางการตัดสินใจระดับนโยบายต่อไป

สำหรับโครงการ FSRU ทางฝั่งเมียนมาอยู่ระหว่างดำเนินการเจรจา ในขณะที่ฝั่งอำเภอจะนะรอรัฐบาลตัดสินใจ รวมถึงท่อก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 5 บอร์ดก็อนุมัติไปแล้ว รวมการลงทุนทั้งหมด 200,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในงบฯ ลงทุน 5-6 ปีข้างหน้าของปตท.เพื่อสร้างความมั่นคงในระบบก๊าซธรรมชาติของประเทศ

เล็งประชุมก๊าซฯ โลกรอบหน้า

ด้านนายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ บมจ. ปตท. กล่าวว่าปตท.เตรียมเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ ในเดือนมิ.ย.นี้ เพื่อพิจารณาแผนจัดซื้อแอลเอ็นจีสัญญาระยะกลาง 2 ราย จำนวนรวม 1.5-2 ล้านตัน/ปี คาดว่าจะเริ่มทยอยรับแอลเอ็นจีใน1-2 ปีข้างหน้า หากบอร์ดฯ อนุมัติก็จะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)เพี่ออนุมัติต่อไป

ก่อนหน้านี้ ปตท.ได้ทำสัญญาซื้อขายแอลเอ็นจีระยะยาวกับการ์ตาจำนวน 2 ล้านตัน/ปี โดยทยอยรับแอลเอ็นจีปีนี้เป็นปีแรก

สำหรับการจัดการประชุมก๊าซฯ โลกในครั้งหน้าที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ปตท.มีไอเดียที่จะนำร้านคาเฟ่ อเมซอน มาอยู่ในบูธ ปตท.ด้วย เพื่อสร้างสีสัน รวมทั้งจะมีการแสดงนวัตกรรมความก้าวหน้าในการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม ปตท.ด้วย

ที่มา -