ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

เจาะศักยภาพฮับมาริน่า-เรือสำราญไทยในอาเซียน : Yacht and Marina Hub of ASEAN

เริ่มโดย mrtnews, ก.ค 31, 15, 20:24:49 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ตามที่มติคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบล่าสุดเรื่องแนวทางการพัฒนาท่าเทียบเรือสำราญ (Yacht) และท่าเทียบเรือโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ (Cruise) ตามที่กรมเจ้าท่าเสนอนั้น ครั้งนี้ผมมีข้อมูลและข้อคิดจากหลายด้านมานำเสนอเพื่อดูศักยภาพการก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลของไทยในอนาคต  (ปฏิวัติเศรษฐกิจเรือสำราญไทย Cruise Tourism:เป้าศูนย์กลางมารีน่าของอาเซียน)


สถานการณ์การท่องเที่ยวทางทะเลในปัจจุบัน จากเหตุผลที่ว่า การเพิ่มขึ้นของการท่องเที่ยวทางทะเลในประเทศเอเชียแปซิฟิกจานวน 2.71 ล้านคน จากเรือโดยสาร 62 ลำ ในปี 2557 จะเพิ่มขึ้น 34% ในอีก 2 ปีข้างหน้า และมีแนวโน้มในการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 31% จากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวชาวจีน ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมมาท่องเที่ยวในประเทศไทย (ข้อมูลจาก บริษัท Regale International Travel และ บริษัท E.A.S. Marine Agencies (Thailand) Co. Ltd.) หากสามารถพัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเล ให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้เฉลี่ย ปีละ 400 เที่ยว ต่อจุด (ภูเก็ต พังงา กระบี่ สตูล และระนอง) ในช่วง 5 ปีแรก จากเดิม 100 เที่ยว จะสามารถเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพได้จำนวน ประมาณ 3 ล้านคน สร้างรายได้เข้าประเทศเพิ่มขึ้นประมาณ 9 พันล้านบาท และหากสามารถเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อบ้านทั้งในกลุ่ม IMT-GT และกลุ่ม AEC จะมีแนวโน้มขยายตัวตามการขยายตัวของการท่องเที่ยวปีละ 31% หรือเพิ่มขึ้นปีละ 2.79 พันล้านบาท/ปี ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ปีละกว่าหมื่นล้านบาท

ความสำคัญของการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวทางทะเล จะสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับพื้นที่ ทั้งพื้นที่หลักและพื้นที่ข้างเคียง เป็นการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนในทุกระดับ ทั้งการค้าระดับชุมชน ธุรกิจการท่องเที่ยว ร้านอาหารและภัตตาคาร ผู้ประกอบการด้านคมนาคม และด้านอื่นๆ เป็นการกระจายรายได้ให้แก่ชุมชนและประชาชนทั่วไปอย่างทั่วถึง นอกจากเป็นการสร้างรายได้แล้วยังเป็นการลดความเหลื่อมล้า และเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลและตอบสนองแก่กิจกรรมความร่วมมือในกรอบการพัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ


จนถึงสิ้นปี 2558 มีเรือที่เข้ามาในเอเชียแปซิฟิกทั้งสิ้น 62 ลำ จำนวนผู้โดยสารประมาณ 2.17ล้านคน ขยายตัวถึง 34%ภายในระยะเวลา 2ปี ในปี 2557เป็นที่น่าสังเกตว่าจานวนนักท่องเที่ยวชาวจีนเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึงเกือบ 80%จานวนนักท่องเที่ยวจากประเทศในเอเชียเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนเกือบครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับนักท่องเที่ยวชาติอื่นๆในเอเชียรวมกัน (687,000กับ 701,000)

มีผลสรุปโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เชื่อมโยงการพัฒนาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวทางทะเล ภายใต้แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ระหว่างวันที่ 3-4 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมป่าตองรีสอร์ท จังหวัดภูเก็ตที่น่าสนใจและสามารถสรุปสาระสำคัญที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลอาเซียนดังนี้

ศักยภาพการท่องเที่ยวทางทะเล

ผลการเสวนา พบว่า การท่องเที่ยวทางทะเลซึ่งประกอบด้วย เรือสาราญ มีแนวโน้มการขยายตัวในเอเชีย ซึ่งมีส่วนแบ่งในตลาด 8.5% และมีการขยายตัว ประมาณ 34% ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยว ในปี 2558 จานวน 2 ล้านคน และเพิ่มเป็น 2.5 ล้านคนในปี 2562 จานวนเที่ยวเรือที่แวะประเทศไทย จานวน 365 เที่ยว จากจำนวน 3,280 เที่ยว หรือคิดเป็น 11.13% แต่ส่วนใหญ่กว่า 96% เป็นเรือที่จอดผ่าน (Port of Call) มากกว่าการจอดเพื่อรับผู้โดยสาร (Turnaround) ซึ่งทาให้ได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวทางทะเลด้วยเรือสาราญนั้น ยังน้อยอยู่

ในส่วนของการท่องเที่ยวโดยเรือ Yacht นั้น ปัจจุบันมีการขยายตัวสูงมาก แต่มีท่าเทียบเรือที่ Yacht ที่มีมาตรฐาน 5 แห่งอยู่ในภูเก็ต 4 แห่งและ กระบี่ 1 แห่ง ซึ่งสามารถรองรับเรือ Super-yacht ได้ปัจจุบันมีเรือ Yacht ที่มาท่องเที่ยวในพื้นที่แถบอันดามันจานวนกว่า 1,600 ลา โดยเข้ามาเฉลี่ย 33 ลำ/วัน และคาดว่าจะเป็น 2,100 ลาในปี 2560 โดยมีจานวนเรือเข้ามาโดยเฉลี่ย 76 ลำ/วัน หรือเพิ่มขึ้น 2 เท่า ในอีก 2 ปีข้างหน้า


คุณวัฒนา โชคสุวณิช กรรมการบริหาร E.A.S Maritime Agencies (Thailand) จากัด กล่าวว่า คนเอเชียไม่นิยมวางแผนท่องเที่ยวระยะยาว จะนิยมท่องเที่ยวระหว่าง 3-5 วัน เนื่องจากวันหยุดมีน้อย ต่างจากยุโรป นิยม 7 วัน โดยประเทศจีนเป็นศูนย์กลางเรือสาราญในเอเชียเหนือ สิงคโปร์ เป็นศูนย์กลางเอเชียใต้

ปัจจัยในการขับเคลื่อนธุรกิจเรือสำราญ 1. ผลกาไร 2. ย้ายเรือไปใกล้กับกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพ 3. การสำรวจความนิยมของแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวประทับใจ ปัจจัยในการขับเคลื่อน 1. Profitability for cruise line 2.competitive port cost

"ข้อได้เปรียบของไทยคือ มีประเพณีและวัฒนธรรมที่โดดเด่น มีสถานที่ท่องเที่ยวมีชื่อเสียง ภูมิประเทศเหมาะสม  ส่วนข้อเสียเปรียบ ท่าเรือไม่ได้มาตรฐาน กฎระเบียบพิธีการไม่เป็นสากล ไม่มีหน่วยงานหลักรับผิดชอบ ทาให้ขาดการพัฒนาอย่างมีเอกภาพ ขาดบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ"


ข้อเสนอคุณวัฒนาได้เสนอแนะไว้คือ การพัฒนาระยะเร่งด่วน 1-2 ปี ควรเร่งพัฒนาด้านการบริหารโครงสร้างพื้นฐาน และจัดการระบบโลจิสติกส์ของท่าเรือ รวมทั้ง การอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวเพื่อการท่องเที่ยวให้มีศักยภาพทั้งด้าน hardware และ software โดยปรับปรุงท่าที่มีอยู่ และพัฒนาท่าเทียบเรือขนาดเล็ก การพัฒนาระยะกลาง 3-5 ปี พัฒนาประสิทธิภาพ โดยเพิ่มและปรับปรุงมาตรฐานและคุณภาพ และการพัฒนาระยะยาว พัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลางเรือสาราญในภูมิภาค

เรื่องเชื่อมโยง : ปฏิวัติเศรษฐกิจเรือสำราญไทย Cruise Tourism:เป้าศูนย์กลางมารีน่าของอาเซียน

Posted by อาคม

ขอบคุณข้อมูล - บจก. อี.เอ.เอส. มาริไทม์เอเยนซี่ (ไทยแลนด์)
อ้างอิง และที่มา : http://www.jpp.moi.go.th/


ที่มา OK Nation - Blog