ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ผ่านไป 40 ปี WWF เผยอาหารทะเลถูกพลาญไปแล้วครึ่งโลก

เริ่มโดย mrtnews, ก.ย 19, 15, 06:45:31 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

WWF (World Wide Fund for Nature) เผยรายงาน มลภาวะ การทำประมงขนาดใหญ่ และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เป็นเหตุสัตว์ทะเลกว่าครึ่งโลกหายไปในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะสัตว์ทะเลที่เป็นอาหารของคนแร้นแค้นในประเทศที่ยากจน


รายงานจากเอเอฟพีระบุถึงรายงานของ WWF องค์กรด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าซึ่งเผยรายงานของกลุ่มอนุรักษ์ลิฟวิงบลูพลาเนตรีพอร์ต (Living Blue Planet Report) ว่า สัตว์ทะเลได้ลดจำนวนลงกว่าครึ่งภายในเวลา 40 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะสัตว์ทะเลที่เป็นอาหารของคนในประเทศยากจน ปลาทูน่าและปลาแมคเคอเรลเป็นตัวอย่างของสกุลปลาที่ลดจำนวนมากถึง 3 ใน 4 ตั้งแต่ปี 1970

"ในช่วงห่างเพียง 1 ชั่วรุ่น กิจกรรมของมนุษย์ได้ทำลายมหาสมุทรอย่างหนัก โดยการจับปลาไปเกินกว่าที่พวกมันจะขยายพันธุ์ได้ทัน การเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีสัตว์ทะเลอุดมสมบูรณ์ไปถึงลูกหลานในอนาคต" มาร์โค ลัมเบอร์ตินิ (Marco Lambertini) ผู้อำนวยการ WWF สากลกล่าวคำแถลง

รายงานดังกล่าวยังพบด้วยว่า ปลาไม่ใช่สิ่งมีชีวิตทางทะเลอย่างเดียวที่ลดลงฮวบฮาบ แนวปะการัง ป่าชายแลน และหญ้าทะเลก็ลดลง เนื่องจากตายหรือถูกแพ้วถาง ซึ่งการสูญเสียดังกล่าวได้ลดจำนวนประชากรปลา ผลที่ได้กลับมาคือปะชาชนกว่า 850 ล้านคนซึ่งพึ่งพิงระบบนิเวศทางทะเลเหล่านี้โดยตรงเพื่อดำรงชีพ ต้องตกอยู่ในภาวะลำบาก

งานวิจัยก่อนหน้านี้เผยว่า ปะการังครึ่งหนึ่งของทั้งหมดได้หมดไป และที่เหลือจะสูญสิ้นภายในปี 2050 หากอุณหภูมิเฉลี่ยยังคงเพิ่มสูงขึ้นในอัตราปัจจุบัน

"แนวปะการังครองพื้นที่ในมหาสมุทรไม่ถึง 1% แต่เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลกว่า 1 ใน 3" กิลส์ เบอฟ (Gilles Boeuf) นักชีววิทยาชาวฝรั่งเศส ให้ความเห็นต่อรายงานดังกล่าว

จากการสุ่มตัวอย่างประชากรสัตว์ทะเลโดย WWF และสมาคมสัตววิทยาลอนดอน (Zoological Society of London) ได้วิเคราะห์ประชากร 5,829 กลุ่มจาก 1,234 สปีชีส์ เพื่อติดตามสถานการณ์ และได้ภาพรวมของมหาสมุทรที่ย่ำแย่กว่าเดิม

ขณะเดียวกันงานวิจัยอื่นก็เผยให้เห็นว่า ปริมาณสัตว์ทะเลลดลง รวมถึงจำนวนสปีชีส์สัตว์ทะเลที่ลดลงทั้งในมหาสมุทรและชายฝั่ง แน่นอนว่านักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกได้เข้าสู่ยุคการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่รอบที่ 6 ซึ่งจำนวนสปีชีส์ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว 100 เท่าในช่วงเวลาเพียง 1-2 ศตวรรษก่อน ขณะที่การสูญพันธุ์ 5 ครั้งใหญ่ใช้เวลากว่า 500 ล้านปี ซึ่งครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 65 ล้านปีก่อน และทำให้ไดโนเสาร์พร้อมสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ถูกกวาดล้างไปหมด

นอกจากนี้รายงาน WWF ระบุว่า 1 ใน 4 ของฉลามและกระเบนก็เสี่ยงสูญพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นผลจากการประมงเกินขนาด โดย ฟิลิปเป เคอรี (Philippe Cury) นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาในมาร์แซย์ ฝรั่งเศส เผยว่าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีฉลาม 4 สปีชีส์ที่ไม่ได้พบมา 30 ปีแล้ว ซึ่งตัวเลข 50% นั้นเป็นวิกฤตถึงจุดเปลี่ยนสำหรับการสูญเสียสิ่งมีชีวิตทางทะเล หากสิ่งมีชีวติลดต่ำกว่า 50% เมื่อไรระบบนิเวศจะเริ่มแปรปรวน

ทางด้าน WWF ยังเรียกร้องให้ผู้นำโลกให้ความสำคัญต่อการฟื้นฟุทะเล หลังจากที่เป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่ใช้เวลาร่างนาน 15 ปีเพิ่งผ่านการเห็นชอบในเดือน ก.ย.2015 นี้ โดยลัมเบอร์ตินิระบุว่าเราควรใช้โอกาสนี้พยุงมหาสมุทรและแปรเปลี่ยนความเสียหายให้กลับคืนในขณะที่เรายังทำได้ ซึ่ง WWF ยังเน้นย้ำว่าสิ่งมีชีวิตทางทะเลสามารถฟื้นคืนได้เมื่อประชากรมนุษย์เริ่มอาศัยอยู่ภายใต้ข้อกำหนดอันยั่งยืน

รายงานจากกลุ่มอนุรักษ์ระบุว่าพื้นที่อนุรักษ์ทางทะเลซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 3.4% ควรจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าภายในปี 2020 และยังเรียกร้องให้ผู้บริโภคและจัดจำหน่ายสินค้าประมงเลือกซื้อสินค้าประมงจากรายที่ปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัด ส่วน WWF แนะว่า ภาษีจากกำไรในอุตสาหกรรมประมงควรเป็นเครื่องหมายเพื่อการฟื้นฟูสิ่งมีชีวิตทางทะเล

"หากเราไม่ลงมือปกป้องทูน่าครีบน้ำเงินในเมดิเตอร์เรเนียน ก็อาจจะไม่มีใครอีกก็ได้" เบอฟกล่าว ขณะที่ลัมเบอร์ตินิ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของเรา เราจึงต้องเป็นผู้แก้ปัญหาในตอนนี้และเราสามารถทำได้



ที่มา Data & Images -




องค์กรอนุรักษ์ชื่อดัง WWF เตือน มนุษย์จะขาดแคลนอาหารหนัก หลังจำนวนสัตว์ทะเลทั่วโลกลดลงกว่าครึ่งในช่วง 40 ปี

เอเจนซีส์ / ASTV ผู้จัดการออนไลน์ – ผลการศึกษาล่าสุดระบุ จำนวนสัตว์ทะเลทั่วโลกลดลงกว่าครึ่งในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา หวั่นส่งผลกระทบรุนแรงต่อแหล่งอาหารของมนุษยชาติ


ผลการศึกษาล่าสุดภายใต้ชื่อ "Living Blue Planet" ซึ่งจัดทำโดยทีมผู้เชี่ยวชาญขององค์กรด้านการอนุรักษ์ชื่อดังอย่าง "WWF" ที่มีฐานอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระบุว่า ปัญหาการจับสัตว์ทะเลที่มากล้นเกินไปของธุรกิจประมง ปัญหามลพิษ และปัญหาที่เป็นผลพวงจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทั่วโลก คือ 3 ต้นตอสำคัญ ที่ส่งผลทำให้จำนวนประชากรสัตว์ทะเลทุกประเภท ลดจำนวนลงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ตลอดระยะเวลา 40 ปี ระหว่างปี ค.ศ. 1970 – 2010

รายงานล่าสุดขององค์กรด้านการอนุรักษ์ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1961 แห่งนี้ ยังเตือนว่า ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์จะได้รับผลกระทบอย่างหนักหนาสาหัสที่สุดในอนาคตจากปัญหาการลดจำนวนลงของสัตว์ทะเล โดยเฉพาะ "ปลา" ซึ่งมีจำนวนลดลงมากที่สุดในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ในบรรดาสัตว์ทะเลทั้งหมด 1,234 ชนิด ที่ทีมผู้เชี่ยวชาญของ WWF ทำการสำรวจจากน่านน้ำต่าง ๆ ทั่วโลก

นอกเหนือจากการลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วของสัตว์ทะเลที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในฐานะแหล่งอาหารของมนุษย์แล้ว รายงานล่าสุดของ WWF ยังระบุว่า แนวปะการังทั่วโลกซึ่งเป็นที่อยู่และแหล่งอาหารของสัตว์ทะเลราว 1 ใน 3 ก็กำลังถูกคุกคามอย่างหนักเช่นกัน โดยเฉพาะจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งการท่องเที่ยวและการประมง และว่าการถูกทำลายของแนวปะการังทั่วโลกจะส่งผลกระทบอย่างเลวร้ายของวิถีชีวิตของประชากรโลกไม่น้อยกว่า 850 ล้านคน ที่ต้องพึ่งพาแนวปะการังในการยังชีพ

ทั้งนี้ ในตอนท้ายของรายงานฉบับนี้ ทีมผู้เชี่ยวชาญของ WWF ได้เรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก หันมาให้ความสำคัญกับการประกาศเขตอนุรักษ์ทางทะเลให้มากขึ้น เนื่องจากในเวลานี้ พื้นที่ทางทะเลที่ได้รับการปกป้องอย่างจริงจังมีสัดส่วนเพียง 3.4 เปอร์เซ็นต์ของน่านน้ำทั่วโลก



ที่มา Data & Images -