ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

"ผบก.รน" สะท้อนต่างมุม เรื่องแรงงานทาสบนเรือประมง ทำไมต้องปราบ...ค้ามนุษย์?!

เริ่มโดย mrtnews, มิ.ย 26, 13, 17:33:00 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 7 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

โดย กิตติ ไกรฤกษ์

"ปัญหาเวลานี้มีเรือประมงมากกว่าแรงงานที่ต้องการ เรือหลายร้อยลำต้องจอดนิ่ง ไม่ได้ออกทะเล มีจำนวนเรือเป็นร้อยลำจมทะเล เจ้าของไม่มีปัญญากู้ เพราะการออกเรือแต่ละครั้ง ต้องจ่ายเงินให้แรงงานต่างด้าวเฉลี่ยคนละ 15,000 บาทต่อครั้ง แต่ละครั้งต้องลงทุนถึง 3-4 แสนบาท โดยที่ไม่รู้ว่าจะได้ปลามาเท่าไหร่ ถึงขนาดจะกินปลาสักตัวเจ้าของเรือต้องไปขอไต้ก๋งเรือ แรงงานบางคนได้ค่าแรงแล้ว พอออกเรือไปได้แค่คืนเดียว ตอนกลางคืนก็กระโดดน้ำหลบหนี แต่ผู้ประกอบการประมงกลับถูกเอาเปรียบทั้งยังถูกยัดเยียดข้อกล่าวหาค้ามนุษย์อีก เนื่องจากการประกาศให้ จ.นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดนำร่องแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ..เรียกได้ว่าตายหยังเขียด ถึงขนาดต้องประกาศขายเรือ 300 กว่าลำ โดยทำหนังสือไปถึงรัฐบาลให้ช่วยซื้อ เพื่อให้ได้เงินสักก้อนมาต่อชีวิต


"..ยอมรับว่าผู้ประกอบการจำเป็นต้องจ้างแรงงานผิดกฎหมาย เพราะไม่มีคนให้จ้าง แต่ก็ยังมีเจ้าหน้าที่ของรัฐนำกฎหมายมาใช้เป็นช่องว่างในการหาผลประโยชน์ ..ยกตัวอย่าง ตำรวจชาวบ้าน ถ้าอยากกินเหล้าก็ไปที่หัวสะพานบ้านผม บอกว่าผมจะจับลูกน้องคุณนะ ขอสักสี่พันบาทได้ไหมจะเอาไปกินเหล้า ผมไม่มีทางหลีกเลี่ยงมันไม่ใช่ส่วย แต่เลวยิ่งกว่าส่วย" นายสุธรรม วิชชุไตรภพ นายกสมาคมประมงอำเภอสิชล กะเทาะปัญหาธุรกิจประมง

ขณะที่นายอำพล เจนเศรษฐวัช นายกสมาคมประมงอำเภอขนอม เสนอว่า ควรจะถอดถอนกรณีให้ จ.นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดนำร่องแก้ปัญหาการค้ามนุษย์

เป็นเสียงสะท้อนปัญหาจากภาคธุรกิจประมง ผ่านนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ขณะลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การค้ามนุษย์ที่ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน

มีคำถามว่าข้อเสนอของภาคธุรกิจประมงที่ให้ถอดถอนกรณีให้ จ.นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดนำร่องในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ และให้รัฐบาลซื้อเรือประมง 300 กว่าลำ สมเหตุสมผลและจะเป็นไปได้หรือไม่ ตลอดจนช่วยแก้ปัญหาภาคธุรกิจประมงได้จริงหรือ?!!

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีหน้าที่ปราบปรามการค้ามนุษย์และแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย เผยถึงสถานการณ์แรงงานต่างด้าวที่มาทำงานเป็นลูกเรือประมงในปัจจุบัน ดังนี้

พล.ต.ต.บุญสืบ ไพรเถื่อน ผู้บังคับการตำรวจน้ำ (ผบก.รน.) เปิดเผยกับ "มติชน" ว่า บก.รน.เน้นเรื่องการตรวจสอบแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย การบังคับใช้แรงงานโดยการล่อลวงค้ามนุษย์ในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล โดยจะมีการสรุปผลการปฏิบัติทุกพื้นที่รับผิดชอบทุกๆ 7 วัน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และดำเนินการต่อไป

จากสถิติการจับกุมแรงงานต่างด้าวลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายมาเป็นลูกเรือประมง ของ บก.รน. พบว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 ถึงมิถุนายน 2556 จับกุมแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองมาเป็นลูกเรือประมง 144 ราย จำนวน 1,608 คน เป็นชาวพม่า 706 คน ลาว 195 คน กัมพูชา 629 คน เวียดนาม 64 คน เกาหลีเหนือ 156 คน และอินโดนีเซีย 7 คน

ผบก.รน.ยังกล่าวถึงแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำประมงว่า ส่วนใหญ่แรงงานต่างด้าวจะสมัครใจลงเรือประมงเอง โดยไม่ต้องใช้พื้นฐานความรู้ และได้รับเงินเดือนสูงกว่าค่าจ้างในภูมิลำเนาที่เคยอยู่ แต่หลังจากที่ลงเรือแล้วต้องทำงานหนัก มีความเป็นอยู่ลำบาก ไม่เหมือนอยู่ที่ภูมิลำเนาของตัวเอง เพราะปัจจุบันเรือประมงจะออกเดินจับสัตว์น้ำตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เหมือนสมัยก่อนเรืออวนลากจะนำเรือออกจากชายฝั่งเวลา 06.00-18.00 น. หรืออย่างช้า 20.00 น. ส่วนอวนล้อมทำตั้งแต่เวลา 18.00-06.00 น.

"เมื่อลูกเรือแรงงานต่างด้าวพวกนี้ทนทำงานไม่ไหวจะกระโดดน้ำหลบหนี สาเหตุเพราะเจ้าของยังไม่สามารถนำเรือเข้าชายฝั่งได้เพราะยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาการเดินทางของเรือประมง ปัจจุบันมีการร้องขอความช่วยเหลือจากศูนย์ประมงชายฝั่ง เกือบทุกจังหวัดให้เข้าช่วยเหลือลูกเรือประมงและไต้ก๋งเรือ ที่เจ็บป่วยขณะออกเรือหาปลาอยู่ในทะเลเดือนละ 5-10 ราย


"สำหรับลูกเรือแรงงานต่างด้าว ที่มีใบขออนุญาตทำงานประกอบอาชีพในเรือประมงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทาง บก.รน.จะตรวจสอบเวลาเดินทางออกไปทำงาน เนื่องจากทาง พม.มีการประสานขอร่วมปฏิบัติกับ บก.รน. กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (บก.ปคม.) และแรงงานจังหวัด เบื้องต้นได้กำหนดโครงการนำร่องในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์อยู่ใน จ.สงขลา นครศรีธรรมราช ระนอง ตรัง และชลบุรี สำหรับการตรวจสอบของ บก.รน.มีการเข้มงวดตรวจสอบเรือประมงในเขตพื้นที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่องและจริงจัง กับเจ้าของเรือประมงตามกฎหมายและมีการตรวจพบการกระทำความผิดอยู่บ่อยครั้ง" ผบก.รน.กล่าว

ทั้งนี้ ผบก.รน.ยังเผยถึงเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องปราบปรามต่างด้าวลอบเข้าเมืองและปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงแรงงานประมงด้วยว่า เป็นนโยบายของรัฐบาล เกี่ยวโยงกับเรื่องความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง รวมทั้งเป็นเรื่องที่ต่างชาติจับตาดูประเทศไทยในการปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อไม่ให้ไทยถูกลดระดับลงจากกลุ่มประเทศที่มีการดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมาย แต่ได้ใช้ความพยายามอย่างมีนัยสำคัญในการปรับปรุงแก้ไข หรือ Tier 2 Watch List ตามเกณฑ์การจัดกลุ่มของสหรัฐอเมริกา!!

ที่มา -