ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

เกาะสิงคโปร์สำลักควันไฟป่าอิเหนา “คุณภาพอากาศอยู่ในขั้นอันตราย”

เริ่มโดย mrtnews, ก.ย 25, 15, 19:12:47 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เอเอฟพี - วันนี้ (24 ก.ย. 58) หลังจากที่ต้องเผชิญกับหมอกควันพิษไฟป่าอินโดนีเซียนานร่วม 3 สัปดาห์ สำนักงานสิ่งแวดล้อมสิงคโปร์ NEA แถลงว่า คุณภาพอากาศสิงคโปร์ต่ำกว่ามาตรฐานความปลอดภัยเป็นครั้งแรก


สำนักงานสิงแวดล้อมสิงคโปร์ NEA ออกแถลงการณ์แนะนำล่าสุดในเหตุวิกฤตหมอกควันไฟป่าอินโดนีเซียในวันพฤหัสบดี (24 ก.ย. 58) ว่า "สภาวะหมอกควันในสิงคโปร์เลวร้ายลง นับตั้งแต่คืนที่ผ่านมา เพราะควันพิษไฟป่าจากเกาะสุมาตรากระแสลมฝ่ายใต้ถูกพัดเข้ามาจำนวนเพิ่มมากขึ้น"

และล่าสุดวันนี้ (24 ก.ย. 58) พบว่า ผลดัชนีค่ามาตรฐานมลพิษ PSI บ่งบอกว่า สภาพอากาศสิงคโปร์นั้นอยู่ในขั้นอันตราย

"สภาวะหมอกควันในสิงคโปร์ที่เป็นอยู่นี้ คาดว่าจะยังคงอยู่ต่อไป และผลจากหมอกควันพิษเหล่านี้จะทำให้คุณภาพอากาศแย่ลงภายหลังในวันนี้" รายงานจากแถลงการณ์ NEA

ในแถลงการณ์ยังให้คำแนะนำ เตือนชาวสิงคโปร์หลีกเลี่ยงทำกิจกรรมภายนอก หรือไม่ควรใช้เวลาอยู่นอกบ้านนานออกไป รวมไปถึงเตือนผู้สูงวัย สตรีมีครรภ์ และเด็ก จำกัดการที่ต้องออกไปสัมผัสอากาศมลพิษภายนอก

เอเอฟพีรายงานวันนี้ (24 ก.ย. 58) ว่า สิงคโปร์ถูกปกคลุมไปด้วยหมอกควันไฟป่าจากอินโดนีเซียนานกว่า 3 สัปดาห์แล้ว และเหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นการเผชิญปัญหาหมอกควันพิษครั้งร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่กลางปี 2013 เป็นต้นมา โดยล่าสุดชาวสิงคโปร์ต้องอยู่ในสภาพที่ต้องทนอยู่กับสภาพอากาศต่ำกว่ามาตรฐาน และทำให้ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย โจโก วิโดโด ต้องอออกมาข้อโทษทั้งมาเลเซีย และสิงคโปร์ จากเหตุการณ์ร้ายแรงทางด้านมลพิษที่เกิดขึ้น

และในวันอาทิตย์ (20 ก.ย. 58) ล่าสุด มีความวิตกก่อนหน้านี้ว่าสภาพอากาศหมอกควันจะเป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันรถแข่งฟอร์มูลาวันที่สนามสตรีทเซอร์กิต

เอเอฟพีรายงานเพิ่มเติมอีกว่า เนื่องมาจากแรงกดดันของประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับผลกระทบ ทำให้วิโดโดต้องออกมาแถลงอย่างจริงจังจะจัดการกับผู้ที่อยู่เบื้องหลังไฟป่าครั้งล่าสุดนี้

ในอินโดนีเซีย การเกิดไฟป่าและหมอกควันพฺษพบได้ทุกปี เนื่องมาจากเกษตรกรอิเหนาใช้วิธีเผาป่าซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดในการเตรียมพื้นที่ทำการเกษตร และโดยเฉพาะในปีนี้หมอกควันพิษไฟป่าอินโดนีเซียวิกฤตมากที่สุดเนื่องมาจากได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่น้ำในมหาสมุทรอุ่นขึ้นมากกว่าปกติโดยอุ่นกว่าระดับอุณหภูมิต่างๆ ในตอนกลางและตอนตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่ในเขตร้อน



ที่มา Data & Images -





อากาศในสิงคโปร์วิกฤติจากไฟป่าอินโดฯ

ระดับมลภาวะทางอากาศในสิงคโปร์เข้าขั้น "วิกฤติ" ซึ่งเป็นผลจากหมอกควันที่เกิดขึ้นจากการดับไฟป่าในอินโดนีเซีย


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2558 ว่าสำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติของสิงคโปร์ ( เอ็นอีเอ ) ออกประกาศเตือนภัยประชาชน โดยเฉพาะเด็ก คนชรา และสตรีมีครรภ์ ให้พยายามออกนอกเคหะสถานน้อยที่สุด หรือหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาดในระยะนี้หากเป็นไปได้ เนื่องจากระดับมลภาวะในอากาศอยู่ในขั้น "อัตรายต่อสุขภาพอย่างมาก" ตามค่าดัชนีมาตรฐานมลภาวะทางอากาศ ( พีเอสไอ )

นอกจากนี้ การที่วิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมครั้งนี้อาจกินเวลาอีกระยะ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชนในระยะยาว ผู้ที่มีมีความจำเป็นต้องออกจากเคหะสถานควรสวมหน้ากากป้องกันอย่างมิดชิดตลอดเวลา

ปัญหามลภาวะในสิงคโปร์เป็นผลสืบเนื่องจากไฟป่าในอินโดนีเซีย ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีความรุนแรงที่สุดระหว่างปี 2540-2541 สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจให้แก่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงถึง 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 324,000 ล้านบาท ) เนื่องจากควันไฟลอยไปปกคลุมน่านฟ้าของหลายประเทศ ต่อมาสถานการณ์เมื่อปี 2556 กินเวลานานถึง 3 สัปดาห์ สร้างความไม่พอใจอย่างรุนแรงให้แก่สิงคโปร์และมาเลเซีย จนประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ผู้นำอินโดนีเซียในเวลานั้น ต้องออกมาขอโทษด้วยตัวเอง

ขณะที่ประธานาธิบดีโจโค วิโดโด ผู้นำอินโดนีเซียคนปัจจุบัน พยายามแก้ไขปัญหาอย่างหนักท่ามกลางแรงกดดันจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยวิโดโดลงพื้นที่เกิดไฟป่าด้วยตัวเอง พร้อมทั้งประกาศใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดกับผู้ที่อยู่เบื้องหลังการเกิดไฟป่า และระดมกำลังทหารร่วมภารกิจดับไฟป่า ที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นบนเกาะสุมาตรา ด้านผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหลายคนวิเคราะห์ว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญในปีนี้ที่มีความรุนแรงกว่าหลายปีที่ผ่านมา ทำให้อากาศแล้งและแห้งกว่าปกติ การดับไฟจึงยากลำบาก



ที่มา Data & Images -