ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

อียูบีบจัดแถวเรือนอกน่านนํ้า คสช. รับลูกเรียกรายงานตัว 200 ลำ โวยกระทบ 3 เด้ง

เริ่มโดย mrtnews, พ.ย 10, 15, 19:20:42 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

คชส.เตรียมงัดมาตรา 44 บังคับเรือประมงนอกน่านน้ำขนาดเกิน 60 ตันกรอส กว่า 200 ลำให้มารายงานตามข้อเรียกร้องของอียูขีดเส้นภายใน 30 พฤศจิกายน 2558 จี้ให้ดำเนินการทันที ไม่มาโทษหนัก ทั้งยกเลิกใบอนุญาต ริบเรือ ด้านสมาคมการประมงโอด บีบให้กลับเสี่ยงถูกต่างประทศยกเลิกสัญญาทำประมง ขณะค่าใช้จ่ายบาน 3 เด้งตก 1.2-9.9 ล้านบาท/ลำ ผู้ประกอบการปูดเจ้าหน้าที่รับส่วยจากเรือผิดกฎหมาย


แหล่งข่าวจากศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในที่ประชุม ศปมผ. เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมาทางกรมประมงได้นำเสนอข้อเรียกร้องจากคณะประเมินการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมายของสหภาพยุโรป (อียู) ที่ให้ไทยดำเนินการทันที สำหรับการติดตามและควบคุมเรือประมง (เฉพาะที่มีขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไป) มี 2 ข้อ ได้แก่ 1.ห้ามเรือไทยขนถ่ายสัตว์น้ำและแรงงานในทะเลทั้งในและนอกน่านน้ำ เป็นระยะเวลา 1 ปี หากฝ่าฝืนต้องมีบทลงโทษที่เหมาะสม และ 2.ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ให้เรือประมงนอกน่านน้ำทั้งหมดมารายงานตัวที่ท่าเรือที่กำหนดโดยอธิบดีกรมประมงเพื่อตรวจ ซึ่งผู้ควบคุมเรือจะต้องแสดงรายชื่อลูกเรือ หากไม่ปฏิบัติตามให้ยกเลิกใบอนุญาตทำการประมงและริบเรือ เครื่องมือทำการประมงและสัตว์น้ำที่จับ เรื่องดังกล่าวเพื่อให้การดำเนินการมีความรวดเร็วทางคณะทำงานจะใช้วิธีออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามมาตรา 44 เรียกมารายงานตัว รวมทั้งใช้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ...( พ.ร.ก.การประมง) ที่ผ่านมาความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้วเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ทันทีหลังทรงลงพระปรมาภิไธย

ด้านนายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ที่ปรึกษาสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดียระบุถึงผลกระทบจากที่ ศปมผ. ได้มีคำสั่งเรียกให้เรือประมงนอกน่านน้ำมารายงานตัว ว่า อยากจะกลับแต่ก็กลับไม่ได้ เพราะเรือส่วนหนึ่งอยู่ในสัญญากับต่างประเทศ ถ้าประเทศคู่สัญญาไม่พร้อมจะให้เรือกลับ และหากกลับแล้วทำให้สัญญาการทำประมงสิ้นสุดลง ผู้ประกอบการก็จะไม่มีแหล่งประมงใหม่อื่น อีกทั้งเรือส่วนใหญ่อยู่ไกลจากประเทศไทย การเดินทางเข้า-ออกแต่ละครั้งต้องใช้เวลาระหว่าง 7-25 วัน นอกจากนี้กากลับมารายงานตัวจะมีค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 3 ด้าน ประกอบด้วย ค่าน้ำมันไปกลับไม่น้อยกว่าวันละ 5 หมื่นบาท ค่าจ้างลูกเรือประมงที่ต้องจ่ายโดยไม่ต้องทำงานอย่างน้อยเฉลี่ยวันละ 400 บาท เฉลี่ย 30 คน วันละ 1.2 หมื่นบาท (จับปลาวันละ 3 ตัน ราคากิโลกรัมละ 20 บาท คิดเป็นเงิน 3-9 ล้านบาท) รวมแล้วจะต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าเสียโอกาสให้ตามที่สหภาพยุโรป (อียู)ร้องขอ ลำละ 1.2-9.9 ล้านบาท ถ้าเรียกกลับ 100 ลำ ก็เสียหายเป็นพันล้านบาท


แหล่งข่าวจากสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กรณีปัญหาเรือประมงนอกน่านน้ำ คาดกว่าจะมีกว่า 200 ลำ ซึ่งพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้กฤษฎีกาตีความแล้วว่า มีความผิด ดังนั้นการเรียกกลุ่มนี้กลับมาไม่แน่ใจว่าจะถูกลงโทษหรือไม่ เพราะขณะนี้ร่างพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ...( พ.ร.ก.การประมง) ฉบับใหม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้วเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา หากทรงลงพระปรมาภิไธยนี้จะมีผลบังคับใช้ทันที ซึ่งกฎหมายนี้มีโทษรุนแรงมากปรับตั้งแต่ 1 หมื่นบาท – 30 ล้านบาท

ขณะที่แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการประมง เผยว่าจากการบังคับใช้ พ.ร.บ. การประมงปี 2558 ที่มีความเข้มที่ผ่านมามีผลให้เรือประมงพาณิชย์ประสบปัญหาไม่สามารถออกไปทำการประมงได้เพราะต้องผ่านการตรวจสอบเอกสารถึง 15 รายการ บางลำต้องจอดท่าเทียบเรือมาหลายเดือนแล้ว บางลำก็ต้องดิ้นรน เพราะครอบครัว และภาระหนี้สิน ดอกเบี้ยก็เพิ่มพูนทุกวัน ทำให้มีบ้างที่จะต้องลักลอบออกไปทำการประมง โดยเฉพาะเรือที่มีขนาดต่ำกว่า 30 ตันกรอสที่ไม่ต้องแจ้งศูนย์ควบคุมการเข้า-ออกเรือประมง (ศูนย์PIPO) ไต๋เรือต้องพกเงินสดไว้ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท เพื่อจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อแลกกับการอำนวยความสะดวกเป็นค่าผ่านทางกรณีเอกสารไม่ครบ หรือใช้เครื่องมือทำประมงผิดกฎหมาย "ขณะนี้ได้มีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นแล้ว ดีกว่าที่จะมาจอดเรืออยู่ ขณะที่ปัจจุบันผู้ประกอบการบางรายก็เปลี่ยนมาใช้เรือขนาดต่ำลงมาเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงศูนย์ และใช้ความถี่ในการเข้าออกจับปลา อย่างน้อยก็มีเงินเข้ามา แต่ถ้าเป็นเรือขนาดใหญ่ก็ยังจอดทุกวันนี้เงินซักกะบาทยังไม่ได้เลยแม้แต่เงินชดเชยเยียวยา"



ที่มา Data & Images -