ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

อิเหนาคึกคักเตรียมการต่อเรือดำน้ำเองปลายปีนี้แรกสุดในอาเซียน.. มีลุ้นลำที่ 4-5-6

เริ่มโดย mrtnews, เม.ย 23, 16, 06:22:38 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

MGRออนไลน์ -- อู่ต่อเรือซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียแห่งหนึ่ง กำลังเตรียมการอย่างเร่งรีบ สำหรับการต่อเรือดำน้ำเองถึง 2 ลำ ซึ่งลำแรกจะเริ่มตั้งแต่เดือน ก.ย.2559 นี้เป็นต้นไป และลำที่สองจะติดตามมา โดยฝีมือของวิศวกรกรกับช่างชาวอินโดนีเซียเองทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อสนองแผนการจัดหาเรือดำน้ำจำนวน 12 ลำ ภายใน 5 ปีของกองทัพเรือ


สื่อในอินโดนีเซียรายงานเรื่องนี้ มาหลายระลอก ตั้งแต่สัปดาห์ปลายเดือน ก.พ. ท่ามกลางความไม่ชัดเจนของข้อมูล และ ปรากฏอีกครั้งหนึ่งในสัปดาห์ต้นเดือนนี้ แต่การถกเถียงยังคงดำเนินมาจนถึงสัปดาห์กลางเดือน จึงได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ ว่าา อินโดนีเซียกำลังจะต่อเรือดำน้ำเองอย่างน้อย 2 ลำ ซึ่งเป็นเรืองใหม่ ตามข้อตกลงใหม่กับรัฐบาลเกาหลี

ในวันข้างหน้า อู่ต่อเรือ PT PAL ที่เมืองสุราบายา (Surabaya) อาจจะต้องต่อเรือดำน้ำลำที่ 3, 4 และ 5 หรือ 6 อินโดนีเซียกำลังจะเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียน ที่มีขีดความสามารถต่อเรือดำน้ำได้ด้วยตนเอง ด้วยเทคโนโยลีของเยอรมนีที่ถ่ายทอดผ่าน กลุ่มอุตสาหกรรมต่อเรือขนาดใหย่ในเกาหลี

ทั้งหมดนี้เป็นอีกพัฒนาการหนึ่ง นอกเหนือจากการเตรียมความพร้อม สำหรับการรับมอบเรือดำน้ำชัง (จัง)โบโก (Chang Bogo) ลำแรกที่ต่อในเกาหลี โดยบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering ซึ่งเลื่อนการส่งมอบเข้ามาเป็นปลายปีนี้

ตามรายงานของสำนักข่าวอันตารา การเตรียมการสำหรับต่อเรือดำน้ำเองลำแรกนั้น แต่เดิมมีกำหนดในปี 2560 แต่สองฝ่ายได้ตกลงกันร่นเวลาเข้ามาอีก 1 ปี หลังจากวิศวกรกับช่างเทคนิคชาวอินโดนีเซียจำนวน 130 คน ได้เสร็จสิ้นการฝึกอบรมที่อู่อ็อคโป (Okpo Shipyard) ของ DMSE ทางตอนใต้ของเกาหลี และ เดินทางกลับแล้ว

ตามความตกลงสองฝ่าย อินโดนีเซียจะส่งวิศวกรกับช่างเทคนิครวม 206 ไปฝึกอบรมที่นั่น คราวละ 1 ปี ปัจจุบันอีกชุดหนึ่งจำนวน 30 คนยังคงอยู่ที่นั่น และจะกลับประเทศช่วงปลายปี ยังเหลืออีกจำนวนไม่มากที่จะเดินทางไปฝึกอบรมอีก ทำให้ PT PAL มีบุคคลากรเพียงพอ ที่จะเริ่มงานใหญ่อันเป็นประวัติการณ์ หนังสือพิมพ์คอมปาส (Kompas) ภาษาอินโดนีเซียรายงาน

ฝ่ายเกาหลีจะจัดส่งอุปกรณ์และชิ้นส่วนของเรือชังโบโกลำที่ 3 ให้แก่อินโดนีเซียตั้งแต่เดือน ก.ย.ปีนี้เป็นต้น คาดว่าวิศวกรกับช่างอินโนีเซียเอง จะลงมือต่อเรือลำแรก (ซึ่งเป็นลำที่ 3) พร้อมๆ กับการต่อเรือลำที่ 2 ในเกาหลี เป็นไปตามความตกลงในการจัดหาเรือดำน้ำชังโบโก หรือ DSME 209 จำนวน 3 ลำ สองลำต่อที่อู่อ็อคโป ลำที่สามที่อู่ PT PAL สำหรับลำที่ 4 ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ดังที่กล่าวมาแล้ว จะต่อในอินโดนีเซียเช่นกัน

กลุ่มแดวูเริ่มต่อเรือให้กองทัพเรืออินโดนีปลายปี 2555 ในเดือน เม.ย.2556 อินโดนีเซียขอปรับเปลี่ยนขนาดจาก 1,200 เป็น 1,400 ตัน ทำให้แผนการส่งมอบล่าช้าออกไปเป็นปี 2560 แต่ในที่สุดก็เลื่อนเข้ามาเป็นปลายปีนี้ ด้วยความร่วมมือสองฝ่าย ในที่สุดได้ทำพิธีปล่อยลงน้ำเมื่อเดือนที่แล้ว ภาพพิธีที่เผยแพร่โดยแดวู แสดงให้เห็นเรือชังโบโก 309 (หรือ DSME 209) ที่ต่อเสร็จแล้วในสภาพสมบูรณ์

นี่คือเรือดำน้ำที่พัฒนาจากเรือ Type 209 ของบริษัทโฮวาลด์สเวิร์ค-ดอยช์ เวิร์ฟต์ (Howaldtswerke-Deutsche Werft) แห่งเยอรมนีเมื่อก่อน เวอร์ชั่นสำหรับกองทัพเรืออินโดนีเซียเป็นขนาด 1,400-1,500 ตัน ใหญ่กว่าของกองทัพเรือเกาหลีจำนวน 9 ลำ ที่เป็นขนาด 1,200 ตันทั้งหมด โดยมีกำหนดสร้างทั้งหมด 13 ลำ

เรือชังโบโกทุกรุ่น มีรูปลักษณ์ "สเตลธ์" ช่วยในการหลบเลี่ยงการตรวจจับ เรือติดตั้งท่อยิงตอร์ปิโดขนาด 530 มม.จำนวน 8 ท่อ บรรทุกได้ทั้งหมด 21 ลูก กับ SUT ตอร์ปิโด อีก 24 ลูก ติดจรวดนำวิถียิงเรือแบบฮาร์ พูน (Hapoon) หรือจรวดมาตรฐานนาโต้ได้อีกหลายรุ่น

กองทัพเรืออินโดนีเซียมีความจำเป็นจะต้องมีเรือดำน้ำประจำการอย่างเร่งด่วน เนื่องจากถึงกำหนดต้องปลดระวางเรือดำน้ำ Type 209 รุ่นเก่าทั้ง 2 ลำในปี 2563 หลังใช้งานมาตั้งแต่ปี 2524 ซึ่งก็คือเรือชั้นจักรา (Cakra-Class) ในปัจจุบัน


เมื่อปีที่แล้วทางการอินโดนีเซียประกาศแผนการจัดหาเรือดำน้ำอย่างน้อย 12 ลำในระยะ 5 ปี และ ได้พิจาณาทั้งเรือชังโบโก เรือชั้นอามูร์ (Amur-Class) จากรัสเซีย เรือ Type 214 จากเยอรมนี กับเรือชั้นคิโล (Kilo-Class) จากรัสเซีย แบบเดียวกับของกองทัพเรือเวียดนาม 6 ลำ

เรือดำน้ำมีความจำเป็นล้นพ้น สำหรับภารกิจในการรักษาน่านน้ำที่กว้างใหญ่ กับหมู่เกาะที่อยู่หางไกลจากเมืองหลวงออกไปหลายพันกิโลเมตร มีความสลับซับซ้อนทั้งทางด้านการเมือง และด้านภูมิรัฐศาสตร์

นิตยสารเจนส์ (Jane's Defence) รายงานสัปดาห์ที่แล้วว่า อินโดนีเซียมีแผนการที่จะจัดตั้งฐานทัพเรือแห่งใหม่ที่เกาะใหญ่เพียงแห่งเดียวในทะเลจีนใต้ เช่นเดียวกับฐานทัพอากาศ

ทางการอินโดนีเซียประกาศเจตนาเรื่องนี้ หลังจากการความตึงเครียด ระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้านในย่านนี้เพิ่มทวีขึ้นสูง นับตั้งแต่จีนประกาศครอบครองผืนน้ำกว่า 80% ในทะเลจีนใต้ ครอบคลุมเอาน่านน้ำในเขตเศรษฐกิจ 200 ไมล์ทะเล ประกาศเอาหมู่เกาะใหญ่น้อยทั้งหมดเป็นของตน รวมทั้งสร้างเกาะเทียมหลายแห่งขึ้นในเขตหมู่เกาะสแปร็ตลีย์ ซึ่งเป็นเขตแดนพิพาทระหว่างจีนกับอีก 5 ประเทศกับดินแดน ถึงแม้ว่าเกาะของอินโดนีเซียจะอยู่นอกเขตน่านน้ำพิพาทก็ตาม.

ความสัมพันธ์ระหว่างอินโดนีเซียกับจีนเลวร้ายลงเมื่อปลายเดือนที่แล้ว หลังจากอินโดนีเซียจับยึดเรือประมงจีนกว่า 10 ลำ ลูกเรืออีกหลายสิบคนที่รุกล้ำน่าน้ำ และ อินโดนีเซียปฏิเสธที่จะปล่ยอเรือกับลูกเรือเหล่านั้น ตามคำร้องขอจากจีน.



ที่มา Data & Images -


..