ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

สายเรืออียู-สหรัฐงัดคาร์บอนเครดิต ใช้โปรแกรมขนส่งสีเขียว "GFE" บีบผู้ส่งสินค้า

เริ่มโดย mrtnews, ก.ค 10, 13, 18:45:54 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

สายเดินเรือประกาศกร้าวกลางที่ประชุม European Shippers" Council โลกจับมือซัพพลายเออร์ 120 บริษัทเตรียมงัด 3 มาตรการบังคับผู้นำเข้าและส่งออกตลอดซัพพลายเชนทำ Green Freight Europe (GFE) ลดปริมาณมลภาวะในระบบขนส่ง บีบทำ Slow Steaming ลดต้นทุนเชื้อเพลิงให้เรือ ด้านสภาผู้ส่งออกเผยสายเดินเรืออเมริกา-ยุโรปรุกจ้องเก็บค่าเซอร์ชาร์จทุกรูปแบบ หลังส่งออกหด ตู้ขนส่งทางทะเลลดฮวบ พร้อมชี้รัฐบาลไทยควรชูธงผู้นำอาเซียนปรับตัวรับมือ ก่อนประกาศใช้


นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ที่ปรึกษาสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือสภาผู้ส่งออก เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ตัวแทนจากสภาผู้ส่งออกได้เดินทางไปประชุมร่วมกับผู้แทนจาก European Shippers" Council (ESC), Indonesian National Shippers" Council (INSC), Hong Kong Shippers" Council (HKSC), Macau Shippers" Association (MSA) และ Korean Shippers" Council (KSC) เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ การแลกเปลี่ยนข้อมูล สถานการณ์ทางการค้า พบว่าช่วงเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกทำให้การขนส่งสินค้าทางทะเลมีปริมาณสินค้าน้อยกว่าปริมาณกองเรือทั่วโลกที่มีอยู่ ทางสายการเดินเรือหาทางประหยัดต้นทุน จึงมีความพยายามในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม (เซอร์ชาร์จ) รูปแบบต่าง ๆ ตลอดเวลา ซึ่งหลายรายการเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สมเหตุสมผล ทำเพื่อลดภาระการขาดทุนของสายการเดินเรือเอง ทำให้ไม่สามารถยอมรับได้ หลายประเทศได้มีการฟ้องร้องไปยังภาครัฐให้พิจารณา และแก้ไขปัญหา ทางสภาผู้ส่งออกอยากให้ภาครัฐไทยเป็นผู้นำในระดับอาเซียนก่อนต่อรองในระดับโลก

กรณีที่ประชุมหยิบยกปัญหาการแจ้งข้อมูลน้ำหนักผิดพลาดของผู้ส่งออกในสหรัฐ ส่งผลให้เรือล่ม จึงผลักดันให้ทั่วโลกต้องชั่งน้ำหนักตู้สินค้า เพื่อป้องกันความผิดพลาด และต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการแจ้งน้ำหนักไม่ตรงกับความเป็นจริง เรื่องนี้ไม่ควรบังคับทุกสินค้าทั่วโลก เพราะการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีการสุ่มตรวจน้ำหนักอยู่แล้ว และกฎระเบียบของบริษัทเรือให้แจ้งภายใน 24 ชม.ก่อนโหลด ว่าสินค้าเป็นอะไร ไปไหน ลูกค้าคือใคร เส้นทางอยู่ตรงไหน ดังนั้น ภาครัฐควรไปเจรจาให้แยกกลุ่มสินค้าที่มีความเสี่ยงและมีประวัติ ไม่ต้องชั่งน้ำหนักหมดทุกราย

ในเดือนพฤศจิกายน 2556 ทางสภาผู้ส่งออกจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม Shippers" Council ที่เชียงรายจึงอยากผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐของไทยที่เกี่ยวข้องมาหารือกันในประเด็นต่าง ๆ และผลักดันไปหารือในระดับรัฐบาลอาเซียนต่อไป

นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งออกกล่าวว่า ทาง European Shippers Council (ESC) ได้แจ้งในที่ประชุมว่า ขณะนี้ทางบริษัทผู้ผลิตในยุโรป ซัพพลายเออร์ 120 กว่ารายได้รวมตัวกันดำเนินโครงการ Green Freight Europe (GFE) Programme เพื่อให้ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม จะให้ผู้ประกอบการประเมินผลและการจัดทำรายงานการลดปริมาณมลภาวะในระบบการขนส่งของผู้ประกอบการภาคการผลิต การค้า และผู้ให้บริการขนส่งสินค้าตลอดซัพพลายเชน รวมถึงการขนส่งเที่ยวเปล่า การดำเนินโครงการอาจกระทบผู้ผลิตไทยที่เป็นส่วนหนึ่งในซัพพลายเชน แม้ไม่ได้บังคับให้ทำ แต่จะมีการแจ้งผู้ซื้อว่า บริษัทไหนไม่เข้าร่วมอาจส่งผลให้สินค้าขายไม่ได้


"หน่วยราชการไทยที่เกี่ยวข้องควรมาหารือกัน เพื่อเตรียมความพร้อม โดยไทยควรเป็นผู้นำในอาเซียนที่ทำเรื่องนี้ ก่อนยุโรปจะนำมาตรการนี้มาใช้ในอนาคต" นายนพพรกล่าว

นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาผู้ส่งออกกล่าวเพิ่มเติมว่า ได้มีการหารือถึงปัญหาการเดินเรือแบบ Slow Steaming เพื่อประหยัดเชื้อเพลิงน้ำมัน โดยบริษัทเรือตั้งเป้าเดินเรือช้าลงประมาณ 50% เพื่อประหยัดต้นทุนให้ได้ 80% ทำให้กระทบเวลาการผลิตของผู้นำเข้าและส่งออกอย่างมาก เพราะจะเดินทางช้าลง 3-7 วัน เช่น ปกติเรือขนส่งสินค้าจากไทย-อเมริกาฝั่งตะวันออกใช้เวลา 27 วัน ต้องเพิ่มเป็น 30-32 วัน, จากไทย-อเมริกาฝั่งตะวันตกใช้เวลา 20 วันเพิ่มเป็น 25 วัน มาตรการนี้ใช้แล้วเฉพาะสินค้าจากยุโรปมาเอเชีย ผู้นำเข้าจะมีปัญหา แต่สินค้าจากเอเชียไปยุโรปมีปริมาณมาก บริษัทเรือยังไม่ทำ ซึ่งรัฐบาลไทยและอาเซียนต้องมาดูแลความเดือดร้อนเหล่านี้

ที่มา -