ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ทัพเรือลงนาม MOU กับ DTI และ TOP Engineering ร่วมวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้นักบิน

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 19, 16, 17:47:24 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2559 กองทัพเรือโดยสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. จัดพิธีลงนามในข้อตกลงร่วมวิจัยโครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้นักบินปีกนิ่ง ขึ้น-ลง ทางดิ่ง (FUVEC) ระหว่าง กองทัพเรือ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) บริษัท ท๊อป เอ็นยิเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด และโครงการวิจัยและพัฒนายานเกราะล้อยางสำหรับปฏิบัติภารกิจของ นย. ระหว่าง กองทัพเรือ กับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ณ ห้องโพธิ์สามต้น หอประชุมกองทัพเรือ


การร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมวิจัยโครงการวิจัยและพัฒนาที่สำคัญมีสองโครงการ คือ โครงการวิจัยและพัฒนายานเกราะล้อยางสำหรับปฏิบัติภารกิจ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และโครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้นักบินปีกนิ่งขึ้นลงทางดิ่ง (FUVEC) ซึ่งถือว่าเป็นก้าวย่างสำคัญอีกครั้งหนึ่งของ DTI ในการร่วมมือกับหน่วยผู้ใช้ หน่วยงานราชการ และภาคเอกชนในการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์เพื่อนำมาใช้งานในกองทัพเรือ และกองทัพไทย

สำหรับโครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้นักบินปีกนิ่งขึ้นลงทางดิ่ง (FUVEC) นั้น เป็นการร่วมมือระหว่าง DTI, สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ และบริษัท ท็อป เอ็นยีเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด โดยความเป็นมาของโครงการนั้น เกิดจากการที่บริษัท ท็อป เอ็นยีเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด ได้นำเสนอข้อมูลอากาศยานไร้นักบินปีกนิ่งขึ้น-ลงทางดิ่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกองทัพเรือได้แก่ หน่วยฝ่ายอำนวยการ (กรมยุทธการทหารเรือ) หน่วยผู้ใช้งาน (กองเรือยุทธการ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ทัพเรือภาคที่ 1 ทัพเรือภาคที่ 2 ทัพเรือภาคที่ 3 กองการบินทหารเรือ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง) หน่วยเทคนิคที่เกี่ยวข้อง (กรมอู่ทหารเรือ กรมอิเล็กทรอนิกส์ กรมสรรพาวุธทหารเรือ)

ซึ่งจากคุณลักษณะดังกล่าวสามารถนำมาใช้งานกับภารกิจของกองทัพเรือได้อย่างหลากหลายและมีความสอดคล้องกับนโยบายของกองทัพเรือในการนำอากาศยานไร้นักบินไปใช้งาน จึงเสนอเป็นโครงการวิจัยร่วมระหว่างกองทัพเรือ, DTI และบริษัท ท็อป เอ็นยีเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด โดยกำหนดความต้องการใช้งานของกองทัพเรือ 3 ภารกิจ ดังนี้

ภารกิจที่ 1 ใช้สำหรับการปฏิบัติภารกิจลาดตระเวน ตรวจการณ์ การพิสูจน์ทราบฝ่าย และชี้เป้าในระยะพ้นของฟ้าในพื้นที่ปฏิบัติการของกองทัพเรือ รวมทั้งเฝ้าตรวจการทำผิดทางทะเลต่าง ๆ การค้ามนุษย์ น้ำมันเถื่อน เป็นต้น ในระยะทางน้อยกว่า 100 กิโลเมตร
ภารกิจที่ 2 สำรวจคราบน้ำมันในทะเล ที่ระยะน้อยกว่า 300 กิโลเมตร
ภารกิจที่ 3 การทำแผนที่ภูมิประเทศแสดงขั้นความสูง (Mapping terrain)

โดยผลผลิตของโครงการจะได้ต้นแบบอากาศยานไร้นักบินปีกนิ่งขึ้น-ลงทางดิ่ง (FUVEC - Fixed Wing Unmanned Aerial Vehicle with VTOL Enabled Capability FUVEC Maritime) ประกอบด้วยโครงสร้างอย่างน้อย 4 ลำ ระบบควบคุมอัตโนมัติ 4 ชุด ระบบขึ้นลงเรือ 2 ชุด ระบบควบคุมภาคพื้นดิน 2 ชุด อุปกรณ์ถ่ายภาพ 1 ชุด และระบบรับส่งข้อมูลแบบดิจิตอลที่มีคุณลักษณะดังนี้

- รัศมีปฏิบัติการแบบ Real time ระยะ 100 กิโลเมตร
- ตรวจการณ์พื้นที่รัศมี 150 กิโลเมตร การตรวจการณ์นอกรัศมีปฏิบัติการแบบ Real Time เป็นการบินอัตโนมัติโดยกำหนด Way point บันทึกภาพไว้บนตัวยาน (Silent Mode)
- ระยะเวลาปฏิบัติการอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
- ความเร็วเดินทาง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- ทนความแรงของคลื่นลมได้ที่ระดับ 3 (Sea State 3) ความสูงของคลื่น 0.5 - 1.25 เมตร ความเร็วลม 7 - 10 น็อต (12.96-18.52 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
-สามารถขึ้นลงทางดิ่งแบบกึ่งอัตโนมัติบนดาดฟ้าเรือตั้งแต่เรือชุด ตกป. ขึ้นไปที่มีพื้นที่ท้ายเรือสำหรับการขึ้นลง 5x5 ตารางเมตร


สำหรับอีกโครงการหนึ่งคือโครงการวิจัยและพัฒนายานเกราะล้อยางสำหรับปฏิบัติภารกิจ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาต้นแบบยานเกราะล้อยางสำหรับปฏิบัติภารกิจ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน เป็นรถยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบกสำหรับลำเลียงพล อาวุธยุทโธปกรณ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ของกำลังรบยกพลขึ้นบกในการเคลื่อนที่จากเรือสู่ฝั่ง สามารถบรรทุกไปกับเรือ และปฏิบัติการทางยุทธวิธียกพลขึ้นบกจากในทะเลชายฝั่งเข้าสู่ที่หมายหัวหาดและต่อเนื่องในยุทธบริเวณ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยเป็นความร่วมมือของ DTI และสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพเรือ

ความเป็นมาของโครงการนั้น เนื่องด้วยกองทัพเรือนอกจากจะรับบทบาทในการปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเลแล้ว ยังต้องมีขีดความสามารถในการสถาปนากำลังรบบนฝั่ง ทำการยึดรักษาหัวหาดอย่างมั่นคง ด้วยกำลังรบยกพลขึ้นบกไปยังชายฝั่งข้าศึกหรือพื้นที่ชายฝั่งที่ข้าศึกยึดครองอยู่ ซึ่งข้อได้เปรียบของการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบกคือความอ่อนตัว ขีดความสามารถในการรวมกำลังที่เข็มแข็งและความรวดเร็วในการปฏิบัติภารกิจ และในปัจจุบันสภาพแวดล้อมของการดำเนินกลยุทธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้กำลังรบยกพลขึ้นบกจะมีภารกิจในการดำเนินกลยุทธ์ภาคพื้นดินที่ต่อเนื่องด้วย ซึ่งจะต้องดำรงขีดความสามารถในการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว มีอำนาจการยิงสนับสนุนที่รุนแรง และมีการป้องกันเพื่อเพิ่มความอยู่รอดในสนามรบ

ยานเกราะล้อยางแบบ 8x8 เป็นรถที่ได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อให้มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ มีอำนาจการยิงที่รุนแรงด้วยอาวุธที่หลากหลายสอดคล้องกับภารกิจ มีเกราะป้องกันแรงระเบิดด้านใต้และด้านข้าง ช่วยปกป้องทหารภายในรถ อีกทั้งมีความสามารถในการเคลื่อนที่ในน้ำ ทำให้ยานเกราะล้อยางมีคุณลักษณะและขีดความสามารถที่สอดคล้องและเหมาะสมต่อการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของหน่วยนาวิกโยธินในการปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก ครอบคลุมถึงการปฏิบัติการอื่น ๆ ของหน่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ DTI ได้ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบยานเกราะล้อยาง 8x8 สำหรับปฏิบัติภารกิจของกองทัพบกแล้วจำนวนหนึ่งคัน ซึ่งทำให้ DTI ได้รับองค์ความรู้อย่างมากในด้านการออกแบบ กำหนดคุณลักษณะของยานเกราะล้อยางตามความต้องการของผู้ใช้งาน และการดำเนินการสร้างต้นแบบที่มีรายละเอียดซับซ้อน ซึ่งจากความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติการของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ทำให้นำมาสู่ข้อตกลงดังกล่าว

ผลผลิตของโครงการวิจัย จะได้ต้นแบบยานเกราะล้อยางสำหรับปฏิบัติภารกิจ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน จำนวน 1 คัน พร้อมทั้งผลการทดสอบสมรรถนะและการทดลองระบบย่อยต่าง ๆ และคู่มือการใช้งานการซ่อมบำรุง รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ร่วมกันของนักวิจัย DTI และเจ้าหน้าที่ของกองทัพเรือ โดยต้นแบบกำหนดคุณสมบัติดังนี้

- สามารถบรรทุกเจ้าหน้าที่ประจำรถประกอบด้วย ผบ.รถ/ผบ.หมู่ 1 นาย พลขับ 1 นาย และพลยิง 1 นาย และอัตราบรรทุกทหารราบไม่น้อยกว่า 11 นาย
- มีความเร็วเดินทางบนบกโดยประมาณไม่ต่ำกว่า 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- มีความเร็วเดินทางในน้ำสูงสุด 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- มีระยะปฏิบัติการบนบก 600 กิโลเมตร
- มีระบบเติมลมและปล่อยลงยางอัตโนมัติ
- มีระบบอาวุธหลักขนาด 12.7 – 30 มม. และมีระบบอาวุธรองขนาด 7.62 มม.
- มีเกราะด้านข้างสามารถกันกระสุนตามมาตรฐานยุทโธปกรณ์ กระทรวงกลาโหม กมย.กห.ที่ 2/2547 ระดับ 3
- มีเกราะใต้ท้องสามารถป้องกันระเบิดตามมาตรฐาน NATO Level 2b (STANAG 4569)
- มีระบบป้องกันนิวเคลียร์ เคมี ชีวะ ภายในห้องโดยสาร
- มีระบบกล้องตรวจการณ์รอบตัวรถและระบบแสดงผล

ซึ่งทั้งสองโครงการ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ของประเทศ ส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศกับภาคเอกชน และเป็นการพึ่งพาตนเองเพื่อสนับสนุนการสร้างความมั่นคง เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีด้วยฝีมือคนไทยต่อไป



ที่มา Data & Images -



..