ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

กระทรวงเกษตรฯ หวั่นปัญหาการค้ามนุษย์กระทบอุตสาหกรรมประมงเร่งแก้ไขปัญหา

เริ่มโดย mrtnews, ก.ค 18, 13, 15:10:44 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการที่สื่อมวลชนต่างประเทศได้ให้ความสนใจประเด็นการใช้แรงงานในอุตสาหกรรมภาคการประมงของไทยและมีการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาด้านแรงงานที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมภาคการประมงของไทย โดยระบุว่ามีการใช้แรงงานเถื่อน แรงงานบังคับ มีการทารุณกรรมแรงงาน รวมถึงการใช้แรงงานเด็ก แรงงานผิดกฎหมาย ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมประมงของไทย กรมประมงในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลักของประเทศในการควบคุม กำกับดูแลการบริหารจัดการประมง การแปรรูปสินค้าสัตว์น้ำ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา จึงได้ร่วมมือกับหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและเอกชนในการที่จะช่วยกันเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว


โดยเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2556 ทาง Gabriel Mata Adrover ส.ส. รัฐสภายุโรปในฐานะกรรมการประมง เชิญสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบรัสเซล สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ กรมประมง ร่วมชมสารคดีจัดทำโดย NGOs อังกฤษ (Environmental justice Foundation, EJF) เกี่ยวกับการค้ามนุษย์บนเรือประมงไทย เรื่อง Sold to the Sea, Human trafficking in Thailand's Fishing Industry โดยสารคดีดังกล่าวให้ข้อมูลว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตและส่งออกสินค้าอาหารทะเลเป็นอันดับสามของโลก เป็นศูนย์กลางของการค้ามนุษย์ คือ การใช้แรงงานต่างด้าวเป็นแรงงานทาสที่มีการกักขังให้ทำงานหนักบนเรือประมงเป็นเวลานานโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ค่าจ้าง (ทำให้สินค้าประมงของไทยมีต้นทุนต่ำ และมีความสามารถในการแข่งขันสูง) นอกจากนี้ ยังมีการทำร้ายร่างกายแรงงานต่างด้าวดังกล่าว และการทารุณต่างๆ ซึ่งหลังจากสารคดีชุดนี้ถูกเผยแพร่ออกไป ส่งผลกระทบด้านสินค้าประมงทั้งระบบ ตลอดจนภาพลักษณ์ของประเทศโดยรวมอีกด้วย

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องแรงงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยลำดับ ได้แก่ การจัดทำแนวทางปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี การควบคุมเรือเข้า-ออกท่า การจัดระเบียบเรือประมงการตรวจสอบเรือประมง คนทำงานบนเรือประมง และอุปกรณ์การทำงานให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ การพัฒนาระบบเรือเพื่อใช้ในการบอกตำแหน่งและติดตามเรือประมง การส่งเสริมให้มีการใช้จรรยาบรรณของผู้ประกอบการภาคการประมง การส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างเทคโนโลยีลดจำนวนการใช้แรงงานบนเรือ การจัดตั้งศูนย์ประสานแรงงานประมง และการพัฒนาคู่มือการฝึกอบรมและดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำการประมงทะเล

สำหรับการเผยแพร่สารคดีของส.ส. รัฐสภายุโรป และ EJF กระทรวงเกษตรฯ เห็นว่าจำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนของหลายหน่วยงานเพื่อชี้แจงหรือตอบโต้พร้อมทั้งประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเรื่องสู่คณะกรรมการระดับนโยบายในการแก้ไขปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ทั้งระบบ ในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ จะได้นำประเด็นที่เกี่ยวข้องเร่งหารือในคณะกรรมการนโยบายประมงต่อไป

"การแก้ไขปัญหาแรงงานการค้ามนุษย์บนเรือประมง ถือเป็นภารกิจร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินงานอย่างจริงจัง ซึ่งจะสามารถเรียกความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคและประชาคมโลกว่า...สินค้าประมงของไทยปราศจากการใช้แรงงานบังคับการค้ามนุษย์ในเรือประมง เพื่อรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของสินค้าประมงไทย และรักษาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมภาคการประมงของไทยให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป" นายยุคล กล่าว

ที่มา -




กรมประมงเตรียมชี้แจงอียู

ก.เกษตรฯ 17 ก.ค. 56 - กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมชี้แจงอียู กรณีเผยแพร่สารคดีทำลายภาพลักษณ์ประมงไทย


นายวิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมงเชิญผู้ประกอบการประมงทั่วประเทศประชุมด่วนในวันพรุ่งนี้ เพื่อหารือถึงผลกระทบหลังจากที่เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 56 ที่ผ่านมา ส.ส.รัฐสภายุโรปในฐานะกรรมการประมง เชิญสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบรัสเซลส์ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ กรมประมง ร่วมชมสารคดีซึ่งจัดทำโดย NGOs อังกฤษ เกี่ยวกับการค้ามนุษย์บนเรือประมงไทย

โดยให้ข้อมูลว่าไทยเป็นแหล่งผลิตและส่งออกสินค้าทะเลเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นศูนย์กลางการค้ามนุษย์และใช้แรงงานทาสที่กักขังให้ทำงานบนเรือประมงโดยไม่จ่ายค่าจ้าง เพื่อทำให้ต้นทุนต่ำ ซึ่งทำลายภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมประมงไทยเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นจะทำหนังสือและเดินทางเข้าชี้แจงคณะทำงานสหภาพยุโรปในประเทศไทยในต้นสัปดาห์หน้า พร้อมสั่งการให้ประมงจังหวัดสำรวจจำนวนแรงงานต่างด้าวบนเรืออวนลากในประเทศ ที่มีอยู่กว่า 2หมื่นลำ คาดแล้วเสร็จใน 1 เดือน เพื่อสร้างฐานข้อมูลที่ชัดเจนก่อนยกระดับเป็นประเด็นหารือสู่คณะกรรมการระดับนโยบายในการแก้ไขปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ทั้งระบบต่อไป ควบคู่กับคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติด้วย.-

ที่มา -