ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

เล็งใช้ไอทีคุมขนส่งวัตถุอันตรายจากเรือ เร่งผู้ประกอบการทำประกันภัยลดการสูญเสีย

เริ่มโดย mrtnews, ส.ค 16, 16, 06:20:56 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 3 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

กรมเจ้าท่าเตรียมใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยให้นายทะเบียนตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตรายทางเรือ เชื่อจะช่วยเจ้าหน้าที่ทำงานง่าย ลดอันตราย และกำจัดกากของเสียได้อย่างรวดเร็ว


นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า หลังจากกรมเจ้าท่าได้ออกระเบียบกรมเจ้าท่าว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองผู้ให้บริการจัดเก็บและบำบัดของเสียจากเรือ ประเภทน้ำมันใช้แล้ว น้ำปนน้ำมันหรือเคมีภัณฑ์ และน้ำเสียต่างๆ พ.ศ.2558 และประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 49/2558 เรื่อง การจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความชัดเจนในเงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ ซึ่งก่อนมีประกาศฉบับนี้ ได้กำหนดความคุ้มครองไว้สูงเกินไป ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายไม่สามารถจัดทำประกันภัยได้ ทางกรมเจ้าท่าจึงได้มอบหมายให้สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒทำการศึกษาวิจัยและจัดทำระบบในติดตามตรวจสอบ เพื่อให้มีหลักประกันว่า หากการขนส่งของเสียจากเรือ ไปตามถนน แล้วเกิดปัญหาต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม ก็จะได้รับความคุ้มครอง ที่สำคัญผู้มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบจะมีเครื่องมือในการติดตามตรวจสอบว่าผู้ประกอบการได้มีการจัดทำประกันภัยอย่างแท้จริงหรือไม่ หรือมีเงื่อนไขความคุ้มครองที่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างไร เพื่อป้องกันการใช้กรมธรรม์ที่ไม่ถูกต้องหรือเอกสารปลอม

นายศรศักดิ์กล่าวด้วยว่า การดำเนินงานในแนวทางดังกล่าว กรมเจ้าท่าเชื่อว่าระบบติดตามตรวจสอบจะทำให้ประชาชนมีความมั่นใจ หากมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจากการขนส่งของเสียจากเรือต่อบุคคลและสภาพแวดล้อมจะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ สามารถทำความสะอาดและบำบัดให้คืนสภาพเดิมได้ ทั้งนี้ที่ผ่านมาสถิติของการเกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกของเสียที่มาจากเรือมีน้อยมาก โดยแต่ละวันจะมีการขนส่งของเสียจากเรือวันละ 4,000 ตัน มี 17 บริษัทที่รับผิดชอบในการขนส่ง ซึ่งขณะนี้มีบริษัทที่ขายกรมธรรม์ดังกล่าวจำนวน 5 บริษัท ได้แก่บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เมืองไทยประกันภัย จำกัด มหาชนกรุงเทพประกันภัยจำกัด (มหาชน) ไทยศรีประกันภัย สยามซิตี้ประกันภัยจำกัด (มหาชน) และศรีอยุธยาประกันภัย

"ระบบติดตามตรวจสอบ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบไอที จะช่วยให้นายทะเบียนตรวจสอบได้ง่าย และมีฐานข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับการขนส่งวัตถุ อันตรายและกากของเสีย รวมถึงการเกิดอุบัติเหตุของโรงงานบำบัดและกำจัดกากของเสียได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้องได้" อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าว


ส่วน ผศ.ดร.ปฐมทัศน์ จิระเดชะ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบไอที จะช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อนและยากต่อการปฏิบัติของการทำประกันภัย ทั้งนี้บริษัทประกันภัยต้องดำเนินการส่งข้อมูลการรับประกันภัยให้หน่วยงานควบคุมและดูแลในทันทีที่มีการรับประกันภัย (Online Real Time) เพื่อเชื่อมต่อกับระบบการขออนุญาตขนส่งของเสียและการขออนุญาตบำบัดของเสีย ซึ่งจะช่วยให้เกิดการตรวจสอบข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

ด้านนายประสิทธิชัย สุนทราภิรมย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัททิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กรมธรรม์ประกันภัยความผิดทางกฎหมายในการขนส่งวัตถุอันตรายทางบก มีราคากรมธรรม์ 1 แสนบาทต่อปี วงเงินคุ้มครองไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อครั้ง รับผิดชอบความสูญเสียไม่เกิน 200,000 บาทต่อราย โดยมีสาระของการคุ้มครองความเสียหายร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก และคุ้มครองความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมทั้งสัตว์และพืช อย่างไรก็ตามหลังจากเริ่มมีการจัดทำระบบในวันที่ 10 ส.ค.นี้ แล้ว ในปีหน้าอาจมีการปรับวงเงินราคากรมธรรม์ตามสถิติประกันภัยที่แท้จริง เพราะที่ผ่านมายังไม่มีการเก็บข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุของรถบรรทุกของเสียจากเรือ



ที่มา Data & Images -