ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

TTA คาดปี 60 พลิกเป็นกำไรหลังค่าระวางเรือฟื้น สรุปดีล M&A ปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า

เริ่มโดย mrtnews, ก.ย 07, 16, 06:26:34 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 2 กันยายน 2559 - นายวิทวัส เวชชบุษกร ผู้อำนวยการสายงานการเงินและบริหารการลงทุน บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) เปิดเผยว่า บริษัทคาดว่าผลการดำเนินงานในปี 60 จะพลิกกลับมามีกำไร หลังจากเริ่มเห็นสัญญาณค่าระวางเรือฟื้นตัวตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จากความต้องการใช้เรือบรรทุกสินค้าเพิ่มขึ้นและปริมาณกองเรือในอุตสาหกรรมเริ่มลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ทำให้ปริมาณการสั่งต่อเรือลดลง โดยคาดว่าอัตราค่าระวางเรือจะปีหน้าจะมากกว่า 7,500 เหรียญสหรัฐ/ลำ/วัน สูงกว่าจุดคุ้มทุนของบริษัทที่ 7,000 เหรียญสหรัฐ/ลำ/วัน


ทั้งนี้ ภาพรวมของแนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของบริษัทคาดว่าจะดีกว่าครึ่งปีแรก แต่ยังไม่มั่นใจว่าจะมีกำไรหรือขาดทุน แม้ว่าธุรกิจเดินเรือเริ่มมีทิศทางที่ฟื้นตัวขึ้นแล้ว หลังจากที่อัตราค่าระวางเรือจึ้นมาที่ 7,500 เหรียญสหรัฐ/ลำ/วัน จากครึ่งปีแรกอยู่ที่ราว 5,000 เหรียญสหรัฐ/ลำ/วัน เนื่องจากความต้องการใช้เรือขนส่งเพิ่มขึ้น จากปริมาณการนำเข้าถ่านหินในจีนมีจำนวนสูงขึ้น และเป็นช่วงฤดูฝนทำให้เกษตรกรมีการใช้การขนส่งสินค้าทางการเกษตรมากขึ้น ซึ่งบริษัทประเมินอัตราค่าระวางเรือในครึ่งปีหลังจะอยู่เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 7,000 เหรียญสหรัฐ/ลำ/วัน

ขณะที่ธุรกิจวิศกรรมใต้น้ำที่ดำเนินงานโดย บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด และ ธุรกิจผลิตและจำหน่ายปุ๋ยเคมี ในประเทศเวียดนามที่ดำเนินงานโดย บมจ. พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย (PMTA) ยังสร้างผลการดำเนินงานที่ดีให้กับบริษัทอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีธุรกิจที่ยังกดดันผลประกอบการ คือ ธุรกิจจัดจำหน่ายถ่ายหินและให้บริการโลจิสติกส์ขนส่งภายใต้ บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS)  ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้าธุรกิจ โดยมองหาโอกาสในการลงทุนในธุรกิจประเภทอื่น เช่น พลังงานและพลังงานทดแทน  เป็นต้น แต่ยังไม่สามารถระบุความชัดเจนได้ในขณะนี้


นายวิทวัส กล่าวว่า ธุรกิจวิศวกรรมใต้น้ำแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง แต่แนวโน้มปริมาณงานที่เข้ามาก็ยังมีต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีงานในมือ (backlog) มูลค่า 240 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะรับรู้ในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ 120 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ยังได้รับการต่อสัญญาว่าเรือขุดเจาะแบบสามขา จำนวน 2 ลำ เพิ่มอีก 3 ปี แต่มูลค่าสัญญาใหม่อาจจะลดลงเล็กน้อย ตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลง

นอกจากนี้ บริษัทคาดว่าจะมีความชัดเจนในการเข้าซื้อกิจการใหม่ (M&A) เข้ามาภายในช่วงปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า โดยเป็นหนึ่งในธุรกิจที่บริษัทสนใจในกลุ่มพลังงาน ขนส่ง สาธารณูปโภค สินค้าอุปโภคบริโภค อาหารและเครื่องดื่ม เพื่อต่อยอดการเติบโตในอนาคต ปัจจุบันมีการเจรจากับธุรกิจที่สนใจเข้าซื้อทั้งในและต่างประเทศ  ขณะที่แหล่งเงินทุนที่จะมาจากกระแสเงินสดในมือที่มีอยู่ 1.2 หมื่นล้านบาท และเงินกู้ยืมจากสถาบันทางการเงิน ซึ่งบริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) อยู่ที่ 0.76 เท่ายังมีความสามารถสูงในการกู้ยืมเงินอีกมาก



ที่มา Data & Images -