ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

อินเดียเตรียมเปิดท่าเรือใหม่ ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงโลจิสติกส์โลก

เริ่มโดย mrtnews, ม.ค 14, 17, 06:21:15 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

สาธารณรัฐอินเดีย มหาอำนาจของภูมิภาคเอเชียทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของเอเชีย รองจากจีนและญี่ปุ่น เพียงไตรมาสแรกของปี 2559 อินเดียมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกถึง 7.9% พร้อมตลาดผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อแฝงอยู่จำนวนมาก ขณะที่รัฐบาลเร่งสร้างความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะการพัฒนาท่าเรือเพื่อเป็นจุดยุทธศาสตร์ทั้งด้านความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจ เพื่อลดอิทธิพลของประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีนในภูมิภาคเอเชียใต้ภายหลังการเกิดโครงการสร้างท่าเรือ Gwada Seaport ที่ปากีสถานและการสร้างท่าเรือที่ศรีลังกาตามนโยบาย One Belt, One Road ของจีน


ด้วยภูมิศาสตร์ของอินเดียนั้น ถูกห้อมล้อมด้วยมหาสมุทรเหนือน่านน้ำทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง ทั้งฝั่งด้านตะวันตกที่ติดกับทะเลอาระเบียน และฝั่งทะเลตะวันออกซึ่งติดอ่าวเบงกอล มีชายฝั่งทะเลทอดยาวถึง 7,517 กิโลเมตร พร้อมด้วยมีหมู่เกาะอันดามันและหมู่เกาะนิโคบาร์ ซึ่งถูกพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษจำเพาะทางทะเลที่สำคัญในปัจจุบัน ด้วยจุดแข็งดังกล่าว บวกกับการพัฒนาโครงข่ายความเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางทะเลกับนานาประเทศ โดยเฉพาะกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามนโยบาย Act East Policy กระทั่งการมีท่าเรือขนาดใหญ่มากกว่า 139 แห่ง สามารถรองรับสินค้าได้มากกว่า 1,500 ล้านตัน อินเดียจึงถูกจัดให้เป็นพี่ใหญ่ในด้านการขนส่งสินค้าทางทะเลของภูมิภาคเอเชียใต้ และดูเหมือนว่าการพัฒนาความแข็งแกร่งในด้านดังกล่าวของอินเดียจะไม่หยุดเพียงแค่นั้น

ล่าสุด รัฐบาลอินเดียทุ่มงบประมาณกว่า 4,100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.47 แสนล้านบาท ปัดฝุ่นโครงการสร้างท่าเรือน้ำลึกเพื่อขนถ่ายสินค้าแห่งใหม่ที่เมือง Enayam รัฐทมิฬนาฑู ทางตอนใต้สุดของประเทศอินเดีย หลังจากที่โครงการนี้เคยถูกเสนอขึ้นเมื่อราว 25 ปีก่อน โดยรัฐบาลอินเดียหวังจะใช้ท่าเรือ Enayam นี้เป็นท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่สำหรับขนส่งสินค้าแบบถ่ายลำ (Trans-shipment) รองรับการขนส่งสินค้าไปยังปลายทางในประเทศที่ 3 รวมถึงใช้เป็นศูนย์กลางในการจัดการด้านการขนส่งสินค้าทางทะเลในเส้นทาง East-West Shipping Route เชื่อมโยงการค้าและการเดินเรือระหว่างโลกตะวันตกและโลกตะวันออก

โครงการก่อสร้างท่าเรือ Enayam คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดใช้งานระยะแรกได้ภายในปี 2561 ด้วยศักยภาพรองรับการขนส่งสินค้าได้ถึง 10 ล้านตู้ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบโลจิสติกส์และเพิ่มการขนส่งสินค้าทางทะเลของอินเดียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


เนื่องจากปัจจุบันศูนย์กลางหลักการขนส่งทางฝั่งทะเลตะวันออกของอินเดียมีเพียงแห่งเดียว คือท่าเรือเมืองเจนไน ซึ่งไม่เพียงพอต่อปริมาณการขนส่งสินค้าทางทะเลของอินเดียที่เพิ่มสูงถึง 8.6% ในแต่ละปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มเป็น 10% ในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากนี้ ความได้เปรียบด้านที่ตั้งของท่าเรือ Enayam ยังจะช่วยรองรับสินค้าระหว่างเมืองท่าสำคัญในแต่ละรัฐ ไม่ว่าจะเป็น มุมไบ โกจี เจนไน และกัลกัตตา ที่จะถูกส่งไปยังประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ด้วย

เมื่อท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ดังกล่าวของอินเดียพร้อมบริการ นั่นหมายถึงโอกาสและลู่ทางการลงทุนของประเทศคู่ค้าหลักอย่างไทย โดยอินเดียครองอันดับ 1ในฐานะคู่ค้าของไทยในเอเชียใต้ มูลค่าการค้าหลักมาจากผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกล และชิ้นส่วนยานยนต์ ปัจจุบันการขนส่งทางทะเลระหว่างไทยและอินเดียจากท่าเรือแหลมฉบังไปยังท่าเรือหลักของอินเดียนั้น มีต้นทุนสูงและใช้เวลายาวนานถึง 18-20 วัน คาดว่าท่าเรือ Enayam จะกลายเป็นกุญแจดอกสำคัญ ในการเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าการค้าการลงทุนระหว่างไทยและอินเดีย พร้อมเชื่อมเศรษฐกิจต่อไปยังประเทศที่ 3ได้ ยิ่งไปกว่านั้น รัฐทมิฬนาฑู ที่ตั้งของท่าเรือ Enayam ยังเป็นศูนย์รวมเมืองเศรษฐกิจสำคัญอย่าง เมืองเจนไน เมืองโคอิมบาตูร์ และเมืองมาดูไร ที่รู้จักกันในฐานะศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ สามารถต่อยอดเป็นจุดกระจายสินค้าคุณภาพให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมของไทยได้

สำหรับผู้ประกอบการไทยรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ จำเป็นต้องรู้จักพื้นที่ และวางแผนเพื่อไม่ให้เสียโอกาสคว้าศักยภาพที่ยังซ่อนอยู่อีกมากของแดนภารตะนี้ ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยได้สร้างฐานธุรกิจในอินเดียและประสบความสำเร็จมาแล้วมากมาย เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทอิตัลไทยฯ และบริษัทไทยซัมมิทฯ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,226 วันที่ 12 – 14 มกราคม 2560



ที่มา Data & Images -


..