ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

เผยภาพที่ยากจะเห็นของชีวิตคนงานในเรือผ่าครึ่ง บนสุสานซากเรือบังกลาเทศ

เริ่มโดย mrtnews, ก.พ 01, 17, 06:26:13 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เผยภาพที่ยากจะเห็นของชีวิตคนงานในเรือผ่าครึ่ง บนสุสานซากเรือบังกลาเทศ ที่ทุกวันต้องเสียงอันตราย - ช่างภาพชาวเดนมาร์ก Jan Moller Hansen ตัดสินใจถ่ายทอดภาพการทำงานในสภาพแวดล้อมีที่ยากลำบาก หลังจากใช้ชีวิตอยู่ในเมืองธากา ประเทศบังกลาเทศ มาได้ 5 ปี


ถ่ายทอดภาพการทำงานของเหล่าคนงานในสุสานเรือบนชายหาด Sitakunda ที่หน้าที่แตกละวันคือการรื้อถอนซากเพื่อนำเศษเหล็กไปขาย จนกลายเป็นอุตสาหกรรมที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในทุกวันนี้ และทำให้กลุ่มประเทศในเอเชียใต้กลายเป็นหนึ่งในผู้น้ำอุตสาหรรมซากเรือทะเล ทุกๆปีจะมีซากเรือเหล็กจำนวน 200 ลำ ถูกถอดเป็นชิ้นๆแล้วส่งไปยังอู่ต่อเรือกว่า 100 แห่งคลอบคลุมตลอดชายฝั่ง 15 กิโลเมตร

ช่างภาพกล่าวว่าการจะเข้าไปสำรวจชีวิตการทำงานของคนงานที่นี้ถือเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก เพราะหากเข้าถูกเจ้าหน้าที่จับได้ จะถูกยึดภาพทั้งหมดทันที ดังนั้นภาพเหล่านี้จึงเป็นภาพที่ไม่ได้จะเห็นกันง่ายๆ



คนงานที่นี้ทำงาน 12-14 ชั่วโมงต่อวันโดยค่าแรงต่อวันเพียงประมาณ 70 บาท ในแต่ละวันคนงานจะเผชิญกับอันตรายต่างๆ เช่นต้องเจอกับแร่ใยหินที่เป็นพิษ คนงานส่วนใหญ่ที่นี้ไร้การศึกษา และไม่มีทางเลือก ไม่มีการจัดสรรอุปกรณ์ที่เหมาะสมให้แก่คนงาน ไม่มีอุปกรณ์ไหนที่การันตีความปลอดภัยของคนงานได้ แม้แต่สายรัดดึงขึ้นเรือ กระบวนการรื้อถอนที่เหนื่อยเลือดตาแทบกระเด็นนี้ใช้เวลาถึง 4 เดือนด้วยคนงานจำนวน 500 คน

ช่างภาพกล่าวว่า อุตสาหกรรมนี้ทั้งหมดเต็มไปด้วยการทุจริตและผลประโยชน์ โดยที่เหล่าคนได้แต่ก้มหน้าทำหน้าที่ไปวันๆ เพื่อความอยู่รอด แม้ว่าเศษซากเรือจะสามารถทำเงินได้นับล้าน แต่คนงานก็ยังได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด ค่าแรงที่ไม่คุ้มกับการที่ต้องเสี่ยงตกลงมาจากดาดฟ้าเรือหรือถูกเศษเล็กตกทับ


แม้ว่าจะมีการออกกฎหมายใหม่ที่คุ้มครองแรงงาน แต่ช่างภาพเชื่อว่านั้นมันยังอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง


https://www.thesun.co.uk/living/2716285/eye-opening-photos-of-ship-breaking-graveyards-offer-a-rare-insight-into-the-daily-struggle-of-bangladeshi-workers/

ที่มา Data & Images - thesun.co.uk เรียบเรียงโดย jarm.com