ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

เอ็มซีที ซับมารีน เคเบิ้ล สร้างอนาคตสดใสเปิดให้บริการระบบเคเบิ้ลใต้น้ำ

เริ่มโดย mrtnews, เม.ย 01, 17, 05:51:23 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ร่วมฉลองการเปิดให้บริการระบบเคเบิ้ลใต้น้ำมาเลเชีย-กัมพูชา-ไทยแลนด์ (MCT)และสถานีภาคพื้นดินในกัมพูชา


พนมเปญ กัมพูชา/28 มีนาคม2560 – บริษัท เทลโคเทค จำกัด บริษัทลูกของ EZECOMและกลุ่มบริษัทพันธมิตร อันประกอบด้วยมาเลเชีย เทเลคอม, มาเลเซีย เบอร์ฮัด และซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น ของไทย ร่วมฉลองการเปิดให้บริการระบบเคเบิ้ลใต้น้ำมาเลเชีย-กัมพูชา-ไทยแลนด์ (MCT)และสถานีภาคพื้นดินในกัมพูชา โดย หัวเว่ย มารีน ผู้จัดหาโซลูชั่นซับมารีนเน็ตเวิร์คระดับโลก ได้รับเลือกให้เป็นผู้ออกแบบและติดตั้งระบบทั้งหมด

พิธีสำคัญครั้งประวัติศาสตร์นี้ถือเป็นการเริ่มต้นยุคใหม่ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพและมั่นคงยิ่งขึ้นระหว่างกัมพูชากับประเทศเพื่อนบ้าน โดยงานนี้ได้รับเกียรติจากสมเด็จกลาโหม ซอร์ เค็ง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกัมพูชา สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเตโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฯพณฯ ตรัม เอียว ตึก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม รวมถึงเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและแขกผู้มีเกียรติจากหลายประเทศ

สมเด็จกลาโหม ได้กล่าวชื่นชมและแสดงความยินดีกับบริษัทและสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และได้กล่าวว่า เขารู้สึกกระตือรือร้นที่จะได้สัมผัสกับ "ประสบการณ์การใช้งานที่เร็วกว่าเดิม"และหวังว่าประชาชนชาวกัมพูชาจะได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เสถียรในราคาที่ประหยัดขึ้นกว่าแต่ก่อนเช่นเดียวกับเขา

มร. พอล บลองช์-ฮอร์แกน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท EZECOM กล่าวในระหว่างพิธีเปิดว่า "เราทุกคนเฝ้าคอยเวลานี้มานานโครงการนี้เริ่มขึ้นเมื่อ 6 ปีที่แล้ว และในปี 2560 นี้ ระบบทุกอย่างก็สามารถที่จะเชื่อมโยงถึงกันได้หมด เหมือนกับความฝันของเราได้กลายเป็นจริงแล้ว"

"ผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดเจนของระบบเคเบิ้ลคือการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะมีความมั่นคงมากขึ้นและตอนนี้เราก็สามารถที่จะเชื่อมโยงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้โดยตรงผ่านสายเคเบิ้ล ซึ่งหมายถึงการเชื่อมโยงที่มั่นคงยิ่งขึ้นสำหรับกัมพูชา ดังที่สมเด็จกลาโหมเข้าใจ สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในแง่บริบทของความมั่นคงระดับชาติ รวมไปถึงภาคอุตสาหกรรมหลักต่างๆ อาทิ ธนาคาร" เขากล่าวเสริม

สมเด็จกลาโหม ซอร์ เค็ง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแห่งกัมพูชา กล่าวว่า "วันนี้ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศกัมพูชาด้านสารสนเทศและการสื่อสาร ผมรู้สึกภูมิใจในความทุ่มเทของทุกภาคส่วนที่ได้ทำงานอย่างหนักมาเป็นเวลาหลายปี เพื่อให้โครงการนี้ประสบผลสำเร็จ ขอขอบคุณระบบเคเบิ้ลใต้น้ำMCT ตอนนี้ประเทศกัมพูชาก็จะมีการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตที่เชื่อถือได้ ราคาคุ้มค่า และที่สำคัญที่สุดคือ มั่นคงยิ่งขึ้น สำหรับทุกๆ คน ความสำเร็จในครั้งนี้ได้ส่งสัญญาณถึงความมั่นคงและความเชื่อมั่นที่ประเทศกัมพูชาพึงใจในทุกวันนี้อย่างเห็นได้ชัด ผมมั่นใจว่า มันจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเราให้เติบโตต่อเนื่อง และทำให้สถานะของเราทั้งในอาเซียนและระดับโลกแข็งแกร่งยิ่งขึ้น"

โรไซมี ราห์มัน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายขาย เทเลคอมมาเลเซีย กล่าวถึงความสำเร็จในครั้งนี้ว่า "ประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทเลคอมมาเลเซีย มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำคัญระดับภูมิภาคอีกโครงการหนึ่ง และได้รับโอกาสเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัท เทลโคเทคของกัมพูชา และซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น ของไทยในการเชื่อมโยงภูมิภาคแห่งนี้ ระบบเคเบิ้ลใต้น้ำ MCT ที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นลงแล้วนี้ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของเทเลคอมมาเลเซีย ในฐานะที่เป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจแบบค้าส่งของภูมิภาค ซึ่งมุ่งหวังจะยกระดับการติดต่อสื่อสารในอาเซียนให้ก้าวไกลยิ่งขึ้น"

นายธีรรัตน์ ปัณฑรสูตร กรรมการผู้จัดการ บริษัทซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่นจำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย ได้กล่าวแสดงความรู้สึกเช่นเดียวกันว่า "เรารู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบเคเบิ้ลใต้น้ำ MCT ซึ่งเป็นระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลระบบแรกของไทยที่ลงทุนโดยบริษัทเอกชน ถือเป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่และเปี่ยมด้วยศักยภาพสำหรับวงการโทรคมนาคมของไทยเพราะจะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการของซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น ทั้งการเชื่อมโยงภายในประเทศและระหว่างประเทศ รวมถึงสนับสนุนกิจการโทรคมนาคมของไทยและประเทศต่าง ๆ ในเอเซียให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น"

"ผมเชื่อว่า ประเทศไทยจะได้ประโยชน์มหาศาล เพราะระบบนี้จะสามารถรองรับความต้องการบริการจากลูกค้าของเราที่กำลังเพิ่มขึ้นเพื่อเชื่อมโยงไปยังประเทศต่างๆและสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาลด้วย สำหรับภูมิภาคของเรา ผมมองว่า ความต้องการด้านโทรคมนาคมยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น MCT จะช่วยขยายศักยภาพการเชื่อมโยงสื่อสารของเอเชียให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป"


มร. ไมค์ คอนสเตเบิ้ล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวเว่ย มารีน กล่าวว่า "นี่คือช่วงเวลาแห่งความภาคภูมิใจที่บริษัทของเราได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการวางสายภาคพื้นดินโครงการเคเบิ้ลใต้น้ำระบบแรกเข้าสู่กัมพูชา และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการเชื่อมโยงสื่อสารความเร็วระดับสูงข้ามประเทศ เราได้ดำเนินการติดตั้งเทคโนโลยีล่าสุดในระบบนี้ และได้ส่งมอบโครงการนี้ตามกำหนดเวลาท่ามกลางความท้าทายต่างๆ ในฤดูมรสุม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารจัดการโครงการของหัวเว่ย มารีน เน็ตเวิร์ค ผมขอขอบคุณพันธมิตรของเรา บริษัท เทลโคเทค, เทเลคอมมาเลเซีย และซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่นส์ และขอชื่นชมวิสัยทัศน์ของทุกฝ่ายในการพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคที่สำคัญสำหรับภูมิภาคนี้"

โครงการเคเบิ้ลใต้น้ำ MCT มีความยาว 1,300 กิโลเมตร และใช้เทคโนโลยี 100Gbpsอันทันสมัย ซึ่งจะมีศักยภาพรองรับการใช้งานได้อย่างน้อย 30Tbpsโครงการนี้จะเชื่อมต่อไปยังระบบเคเบิ้ลใต้น้ำอื่นๆ อาทิ เทลโคเทค ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติกัมพูชาเพียงหนึ่งเดียวที่เป็นสมาชิกของเกตเวย์เอเชีย-อเมริกา และโครงการสื่อสารใต้น้ำระยะทาง 20,000 กิโลเมตร ซึ่งเชื่อมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังสหรัฐอเมริกา

ระบบนี้ยังใช้ประโยชน์ต่อยอดจากสถานีภาคพื้นดินต่างๆ โดยหนึ่งในนั้นคือ "สถานีภาคพื้นดินมิตเพียบ" ที่สีหนุห์วิลล์ ส่วนมาเลเซีย ตั้งอยู่ที่กวนตัน (เชราติ้ง) และที่ระยองในประเทศไทย นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่า ระบบเคเบิ้ลใต้ทะเล MCT จะเอื้อประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในกัมพูชาและดึงดูดเงินลงทุนมายังกัมพูชาได้มากยิ่งขึ้นด้วย

-จบ-

เกี่ยวกับเทลโคเทค
เทลโคเทคก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2007 เป็นบริษัทที่ชาวกัมพูชาเป็นผู้ถือครองโดยทั้งหมด มีการเติบโตอย่างรวดเร็วเพื่อส่งเสริมพันธกิจด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยมีผู้เกี่ยวข้องที่มากด้วยความรู้และประสบการณ์ทางธุรกิจที่เหนือชั้นในกัมพูชาครอบคลุมบุคลากรทั้งในและนอกวงการโทรคมนาคม รวมถึงระดับนานาชาติ

เทลโคเทคได้รับอนุญาตจากรัฐบาลกัมพูชาให้เป็นผู้พัฒนาและดำเนินโครงการวางสายเคเบิ้ลไฟเบอร์ออพติคใต้ทะเลและเชื่อมต่อระบบเครือข่ายพื้นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์อันดับแรกคือ เพื่อยกระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของกัมพูชา ด้วยการจัดหาโซลูชั่นที่เป็นสุดยอดเทคโนโลยีแก่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมและองค์กรขนาดใหญ่เพื่อให้บริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

เทลโคเทคเป็นสมาชิกสัญชาติกัมพูชาเพียงหนึ่งเดียวที่เข้าร่วมในเกตเวย์เอเชีย-อเมริกา ซึ่งเป็นโครงการเคเบิ้ลใต้ทะเลรวมระยะทาง 20,000 กม. เชื่อมต่อสหรัฐอเมริกากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงเป็นผู้ดำเนินการโครงการวางระบบเคเบิ้ลใต้น้ำแห่งแรกของกัมพูชาที่เชื่อมต่อระหว่างมาเลเซีย กัมพูชา และไทย (MCT) รวมระยะทาง 1,300 กม. เทลโคเทคได้นำโมเดลธุรกิจการค้าส่งแบบ Carrier-to-Carrier มาใช้ โดยเน้นการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย เชื่อมต่อได้ราบรื่น และสอดคล้องตามข้อตกลงเพื่อรับประกันการบริการ(Service Level Agreements)ที่ดีที่สุดแก่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในกัมพูชา เพื่อสร้างผลกำไรให้แก่ลูกค้าเหล่านี้ได้มากที่สุด

ทีมบริหารของเทลโคเทคประกอบด้วยบุคลากรที่มีประสบการณ์สูง มีความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งในระดับประเทศและระดับโลกแม้จะบริหารงานโดยทีมงานมืออาชีพระดับสากลแต่เทลโคเทคก็ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศให้ยั่งยืนในระยะยาว

เทลโคเทคจะยังเป็นผู้พัฒนาระบบโทรคมนาคมชั้นนำของกัมพูชา ด้วยการนำเสนอเทคโนโลยีที่เหนือชั้นและสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ผ่านการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องในวงการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

เกี่ยวกับเทเลคอม มาเลเซีย เบอร์ฮัด
เทเลคอม มาเลเซีย เบอร์ฮัด (TM) ผู้คว้ารางวัล Malaysia's Convergence Champion และผู้ให้บริการอันดับหนึ่งด้านการสื่อสารแบบหลอมรวมเทคโนโลยี ที่มีบริการและโซลูชั่นการติดต่อสื่อสารที่ครอบคลุมตั้งแต่ระบบโทรศัพท์และบรอดแบนด์แบบฟิกซ์ ระบบการสื่อสารแบบเคลื่อนที่ คอนเทนต์ WiFiและสมาร์ทดีไวซ์ ในฐานะผู้ให้บริการชั้นนำในตลาด TM มุ่งมั่นสร้างสรรค์คุณค่าเพื่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในสภาวะที่มีการแข่งขันสูง มุ่งเน้นการมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้นแก่ลูกค้า ผ่านทางระบบบริการลูกค้าที่มีการยกระดับคุณภาพอย่างต่อเนื่องและมีนวัตกรรม พร้อมทั้งมุ่งเน้นประสิทธิภาพการดำเนินงานและดูแลผลิตภาพให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น

TM มีความโดดเด่นในการเป็นผู้ขับเคลื่อนมาเลเซียสู่การเป็นอินเทอร์เน็ตฮับและดิจิทัลเกตเวย์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการนำระบบการเชื่อมโยงสื่อสารที่ครอบคลุมอยู่ทั่วโลก ระบบเครือข่ายพื้นฐานและความรู้ความชำนาญที่มีร่วมกันมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์

ในฐานะบรรษัทพลเมืองต้นแบบซึ่งได้รับรางวัลมากมาย ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใส TMจะยังคงยึดถือความซื่อสัตย์ทั้งการบริหารงาน ความซื่อสัตย์ต่อบุคคล ชื่อเสียงเกียรติภูมิ รวมทั้งคำนึงถึงความยั่งยืนในการทำธุรกิจทั้งนี้หลักจริยธรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่บริษัทยึดถือมาโดยตลอดยังตอกย้ำถึงความตระหนักในความรับผิดชอบทั้งสี่ด้านที่มีต่อระบบตลาด สถานประกอบการ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้กลุ่ม TM ยังส่งเสริม 3 แพลตฟอร์มหลักๆ อันได้แก่ การศึกษา การสร้างความแข็งแกร่งในชุมชนและในชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นไปในด้านไอซีทีผ่านทางโครงการReaching Out ที่บริษัทได้ริเริ่มขึ้น

TM จะยังสร้างสรรค์ประโยชน์จากการลงทุนตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ตั้งแต่ที่ได้ริเริ่มไว้ในWebeและTM Business Solutions เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายในการก้าวสู่ยุคแห่งการหลอมรวมเทคโนโลยี (Convergence) และ "ก้าวสู่ดิจิทัล" (Go Digital) ให้เป็นจริง ควบคู่ไปกับการเดินหน้านำเอาบริการด้านการเชื่อมโยงระบบสื่อสารมาไว้ในบริการใหม่ๆ ด้านดิจิทัลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม บริษัทได้นำวิธีบริหารจัดการแบบองค์รวมมาใช้เพื่อให้ครอบคลุมประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า การดำเนินงานให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด และการแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ นำไปสู่การเสริมสร้างแรงงานที่เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลและมีศักยภาพสูงขึ้น พร้อมเป็นผู้ขับเคลื่อนไปสู่การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลให้กับTM ตลอดจนผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลของมาเลเซียให้เติบโตต่อไป

TM ยังคงเดินหน้าให้บริการลูกค้าพร้อมนำเสนอเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องที่หลอมรวมไว้ด้วยกัน ผ่านกลุ่มบริการ 5 กลุ่มหลัก อันได้แก่ Smarter Living, Smarter Businesses, Smarter Cities, Smarter Communities และ Smarter Nation เพื่อส่งมอบประสบการณ์การใช้งานดิจิทัลที่ราบลื่นพร้อมโซลูชั่นที่ครบวงจรสำหรับธุรกิจ เพื่อตอบสนองลักษณะการใช้งานของแต่ละบุคคลและความต้องการด้านการสื่อสารของบริษัท ภายใต้แนวคิดที่มุ่งสู่ "ชีวิตและธุรกิจที่ง่ายขึ้น เพื่อก้าวต่อไปของมาเลเซียที่ดีกว่า"

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ TM โปรดไปที่ www.tm.com.my

เกี่ยวกับซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมระดับสากล โดยเป็นรายแรกในประเทศไทยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ในปี 2554 บริษัทได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อให้บริการวงจรเช่าระหว่างประเทศส่วนบุคคล(IPLC) และวงจรเช่าระหว่างประเทศส่วนบุคคลแบบเสมือน (IP-VPN) นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศและบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สองที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง

ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น มีบริการInternational Circuitคุณภาพสูง สำหรับองค์กรระดับโลกหรือกลุ่มธุรกิจต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการการเชื่อมต่อให้ครอบคลุมทั่วโลก นอกจากนี้ เรายังได้ออกแบบเครือข่ายสำหรับบริการที่เป็นเลิศ มีความน่าเชื่อถือและมีความปลอดภัยในระดับสูง พร้อมมอบโซลูชั่นที่ตอบสนองความต้องการของธุรกิจได้มากที่สุด

สำหรับประเทศไทย บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทเอกชนอันดับหนึ่งที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ให้เป็นผู้สร้างและดำเนินการวางระบบเครือข่ายเคเบิ้ลใต้น้ำในประเทศไทย นอกจากนี้ เรายังสร้างสถานีภาคพื้นดินสำหรับระบบเคเบิ้ลแห่งใหม่ที่ใช้ร่วมกันได้ ที่เรียกว่า"โมฬี เคเบิล แลนดิ้ง สเตชั่น" ที่จังหวัดระยอง ซึ่งจะเป็นจุดสำหรับให้โอเปอเรเตอร์ทั้งในประเทศและทั่วโลกสามารถลากสายเคเบิ้ลขึ้นฝั่งได้ที่นี่MCT จึงนับเป็นผู้ให้บริการระบบเคเบิ้ลรายแรกที่ขึ้นฝั่งที่สถานีนี้

เกี่ยวกับหัวเว่ย มารีน เน็ตเวิร์คส
บริษัท หัวเว่ย มารีน เน็ตเวิร์คส จำกัด (หัวเว่ย มารีน) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด และบริษัท โกลบอล มารีน ซิสเต็มส์ จำกัด จากความเชี่ยวชาญของทั้งสองบริษัท หัวเว่ย มารีน ได้ผสมผสานเทคโนโลยีรับ-ส่งสัญญาณผ่านเคเบิลใยแก้วอันทันสมัย ด้วยประสบการณ์ด้านวิศวกรรมทางทะเลและการติดตั้งที่มีมายาวนานถึง 160 ปี และความมุ่งมั่นอันแรงกล้าที่จะพัฒนาโครงข่ายสื่อสารผ่านเคเบิลใต้ทะเลทั่วโลก หัวเว่ย มารีน เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นระบบเคเบิลใต้น้ำที่มีความน่าเชื่อถือในระดับสูง คุ้มค่า และครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่บริการออกแบบระบบ บริการเชื่อมโยง และติดตั้ง โดยมุ่งสนับสนุนการให้บริการลูกค้าของผู้ให้บริการเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง




ที่มา Data & Images -





..