ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

พิรุธข้อมูลน้ำมันรั่วจับตามั่วใช้ "ซิลิคกอน"

เริ่มโดย mrtnews, ส.ค 01, 13, 18:27:15 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

โดย...ธนวัฒน์ เพ็ชรล่อเหลียน/ธเนศน์ นุ่นมัน

ระหว่างที่วิบัติการณ์คราบน้ำมันประชิดชายฝั่งเกาะเสม็ด จ.ระยอง กำลังดำเนินไป


ความคลุมเครือบังเกิดขึ้น ... บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (พีทีทีจีซี) ต้องตอบคำถาม

ประการแรก ตัวเลขปริมาณการรั่วไหลของน้ำมันทั้งหมดเท่าไร? นั่นเพราะเดิมที พีทีทีจีซี ให้ข้อมูลว่า 50-70 ตัน และเทียบเคียงปริมาตร 5-7 หมื่นลิตร จากนั้นได้ยกอ้างตัวเลขดังกล่าวเพื่อใช้อธิบายมาตลอด

อย่างไรก็ตาม การเปรียบเทียบโดยใช้ตรรกะ 1 ตัน เท่ากับ 1,000 ลิตร ... 50 ตัน เท่ากับ 5 หมื่นลิตร คงไม่ถูกนัก นั่นเพราะในปริมาตรที่เท่ากัน ... น้ำมันเบากว่าน้ำ

สมพร ช่วยอารีย์ ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และ|เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อธิบายว่า ในเมื่อน้ำมันมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ นั่นเท่ากับว่าน้ำมันเบากว่าน้ำ ดังนั้นในน้ำหนักที่เท่ากัน (50 ตัน) น้ำมันย่อมมีปริมาตรมากกว่าน้ำ (มากกว่า 5 หมื่นลิตร)

อาจารย์สมพร อธิบายว่า ได้ใช้ทฤษฎีคำนวณ|ปริมาตรน้ำมันกรณีเกิดรั่วไหลของ Bonn Agreement ประเทศเยอรมนี ซึ่งติดตามกรณีน้ำมันรั่วไหลบริษัท |บีพี ในอดีต ประกอบเข้ากับแผนที่ผ่านดาวเทียมสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จีสด้า) เมื่อวันที่ 27 ก.ค. โดยคิดจากพื้นที่การรั่วไหลขั้นต่ำคือ 10 ตารางกิโลเมตร

พบว่า มีโอกาสที่น้ำมันรั่วไหลอย่างต่ำ 108,600 ลิตร และอาจมากถึง 191,500 ลิตร

คำถามคือ ปริมาณน้ำมันที่ พีทีทีจีซี ยืนยันมาตลอดเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่?

หรือมีเจตนาปกปิดข้อมูลในลักษณะเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในออสเตรเลียเมื่อปี 2552 โดยขณะนั้น พีทีที|อีพี ออสเตรเลีย ระบุว่า มีน้ำมันรั่วจากแท่นขุดเจาะ 4,000-3 หมื่นตัน ซึ่งเป็นช่วงที่กว้างมากจนคลุมเครือ

ประการต่อมา พีทีทีจีซี เลือกใช้สารละลายน้ำมัน (Didpersant) ชนิดใด และจำนวนเท่าใด?

นั่นเพราะจนถึงขณะนี้ พีทีทีจีซี ยังไม่ยอมเปิดเผยชนิดของสารต่อสาธารณะ มีเพียงข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ระบุว่า พีทีทีจีซี ใช้สาร "ซิลิคกอน" (Slickgone NS Type 2/3)

ที่พิรุธและ พีทีทีจีซี จำเป็นต้องให้ความกระจ่างคือ จำนวนสารที่ใช้ไปแล้ว เนื่องจาก พรศรี มิ่งขวัญ ผู้อำนวยการส่วนแหล่งน้ำทะเล สำนักจัดการคุณภาพน้ำ ให้ข้อมูลไว้ว่า พีทีทีจีซี รายงานข้อมูลเมื่อวันที่ 30 ก.ค.ว่า ได้ใช้ "ซิลิคกอน" ไปแล้ว 3.2 หมื่นลิตร

หากพิจารณาตามตัวเลขที่ พีทีทีจีซี ยกอ้างคือมีน้ำมันรั่วไหลจำนวน 5-7 หมื่นลิตรแล้ว การใช้ "ซิลิคกอน" เพียง 5,000 ลิตรน่าจะเพียงพอ เนื่องจากข้อมูลจากกระทรวงพลังงานระบุถึงสัดส่วนการใช้ "ซิลิคกอน" ไว้ว่า "น้ำยากำจัดคราบน้ำมัน Slickgone NS เป็นสารกำจัดคราบน้ำมันประเภทที่ 2/3 โดยมีอัตราส่วนการกำจัดคราบน้ำมัน 1 ส่วน Slickgone NS ต่อ 20 ส่วนน้ำมัน หรือ 1:20"

ขณะที่ข้อมูลจากเว็บไซต์ Dasic international ซึ่งเป็นบริษัทผลิตและจัดจำหน่าย "ซิลิคกอน" อธิบายสัดส่วนการใช้ คือ 1:10 ถึง 1:20 นั่นหมายความว่า หากเทียบสัดส่วนเข้มข้น 1:10 แล้ว "ซิลิคกอน" จำนวน 5,000 ลิตร เพียงพอที่จะละลายคราบน้ำมันได้ถึง 5 หมื่นลิตร

ล่าสุด วิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุม|มลพิษ (คพ.) ให้ข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 28 ก.ค.ที่ผ่านมา พีทีทีจีซี ขออนุญาตโปรยสาร "ซิลิคกอน" จำนวน 2.5 หมื่นลิตร แต่ คพ.ประเมินจากสัดส่วนการใช้งานของสารดังกล่าวในอัตรา 1:10 จึงอนุญาตให้ใช้เพียง 5,000 ลิตรเท่านั้น

"ผมดูแล้วไม่จำเป็นต้องใช้เยอะ จึงลงนามให้ใช้ 5,000 ลิตร โดยตั้งแต่เกิดเหตุได้ลงนามอนุญาตไปเพียงครั้งเดียว" อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ระบุ

นั่นหมายความว่า ปริมาณ "ซิลิคกอน" ที่เหมาะสมคือ 5,000 ลิตร และกรมควบคุมมลพิษได้อนุญาตให้ใช้เพียง 5,000 ลิตร แต่ พีทีทีจีซี กลับใช้ไปแล้วถึง 3.2 หมื่นลิตร


คำถามมี 2 ประการ

หนึ่งคือ เหตุที่ต้องใช้สารละลายน้ำมันเกินกว่าความจำเป็น เนื่องจากปริมาณการรั่วไหลของน้ำมันมีมากกว่าที่เปิดเผยใช่หรือไม่

อีกหนึ่งคือ หากปริมาณน้ำมันรั่วมีเพียง 5 หมื่นลิตรตามที่ พีทีทีจีซี กล่าวอ้าง การใช้ "ซิลิคกอน" ปริมาณมากจะยิ่งเป็นพิษต่อท้องทะเลใช่หรือไม่

ประการสุดท้าย เหตุใด พีทีทีจีซี จึงเลือกใช้ "ซิลิคกอน" และเมื่อใช้ไปแล้ว ได้ผลหรือไม่?

นั่นเพราะผู้บริหารพีทีทีจีซี ให้ข้อมูลว่า ในวันที่ 28 ก.ค. ได้ใช้เครื่องบินซี-130 พ่นสารเคมีถึง 2 รอบ จนแล้วเสร็จในเวลา 17.00 น.

"จะเรียนว่าการขจัดคราบน้ำมันของเราเสร็จสิ้นแล้ว ท้องทะเลกลับมาใสเหมือนเดิมนะครับ คราบดำๆ ที่เห็นเมื่อวานได้กำจัดไปเรียบร้อยแล้ว" พรเทพ บุตรนิพันธ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ พีทีทีจีซี ระบุ

อย่างไรก็ดี เพียง 4 ชั่วโมงให้หลัง คือในเวลา 21.00 น. กลับพบคราบน้ำมันเคลื่อนตัวสู่อ่าวพร้าว

ศิริชัย ธรรมวานิช สาขาสมุทรศาสตร์เคมี ภาควิชาวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อพบคราบน้ำมันเคลื่อนไปสู่ชายฝั่ง แสดงว่าคราบน้ำมันไม่เกิดการแตกตัวในน้ำ นั่นหมายถึงการใช้ "ซิลิคกอน" ไม่ได้ผล

"ผู้บริหารพีทีทีจีซี บอกว่า เมื่อพ่นสารไปแล้วปรากฏว่าคราบน้ำมันหายหมด แต่ก็สั่งให้พ่นซ้ำอีกเพราะน้ำยาเหลือ แต่จู่ๆ กลับมีน้ำมันโผล่ขึ้นมาใหม่ เห็นได้ชัดว่าน้ำมันไปถึงฝั่ง นั่นหมายความว่าน้ำมันมีสองผืนหรือพ่นไปแล้วมันไม่แตก เพราะหากพ่นได้ผลก็ไม่ควรมีคราบน้ำมันมาถึงฝั่ง" นักเคมีรายนี้ระบุ

อาจารย์ศิริชัย อธิบายว่า สารเคมีที่ใช้ต้องสอดคล้องหรือจำเพาะกับชนิดน้ำมัน เมื่อเลือกชนิดที่เหมาะสมแล้วก็ต้องคำนวณสัดส่วนการใช้ นั่นเพราะหากใช้น้อยเกินไปน้ำมันก็จะไม่แตกตัว หรือถ้ามาก|เกินไปก็ไม่เกิดประสิทธิภาพ สำหรับ "ซิลิคกอน" เป็นสารที่ผลิตขึ้นในประเทศอังกฤษ ซึ่งคิดค้นเพียงให้สลายคราบน้ำมันชนิดครอบจักรวาลเท่านั้น

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อเคลือบแคลงที่สังคมต้องการคำตอบอยู่

ที่มา -