ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ลุยไฟลดภาษีหนุนเอกชนลงทุน! เข็นยุทธศาสตร์ขนส่งทางน้ำ เทหมดหน้าตัก 4.6 หมื่นล้าน

เริ่มโดย mrtnews, ก.ย 29, 17, 10:53:16 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

นายพิชิต อัคราทิตย์ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การขนส่งทางน้ำของประเทศตามนโยบายเชื่อมโยงรูปแบบการขนส่งของประเทศ (Shift Mode) เพื่อเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันและลดต้นทุนโลจิสติกส์ของชาติ เน้นขยายขีดความสามารถและพัฒนาคุณภาพขนส่งเชื่อมโยงในอนุภูมิภาคอาเซียน โดยตั้งเป้าเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าทางน้ำต่อปริมาณการขนส่งสินค้าทั้งหมด เพิ่มขึ้นจาก 12% เป็น 17% พร้อมลดต้นทุนขนส่งสินค้าต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ให้เหลือไม่เกิน 12% ในระยะเวลา 20 ปี


สำหรับแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ต้องใช้วงเงินลงทุน 46,286 ล้านบาท มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ (EIRR) อยู่ที่ 17% เน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางชายฝั่งตลอด จนแผนบริหารจัดการและมาตรการจูงใจเอกชนเช่นการยกเว้นภาษี ประกอบด้วย

1.แผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 40,260 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างเขื่อนยกระดับแม่น้ำเจ้าพระยาและน่านเพื่อการเดินเรือ 27,080 ล้านบาท โครงการเพิ่มศักยภาพการขนส่งทางน้ำเชื่อมจากแม่น้ำป่าสักผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเล 11,180 ล้านบาท และโครงการพัฒนาท่าเรือสงขลาอีก 2,000 ล้านบาท

2.แผนก่อสร้างท่าเรือชายฝั่งใหม่ 3 แห่ง วงเงินลงทุน 4,447 ล้านบาทได้แก่ โครงการท่าเทียบเรือ 20G บริเวณเขื่อนตะวันออก ท่าเรือกรุงเทพ 1,000 ล้านบาท โครงการท่าเทียบเรือชายฝั่ง A ท่าเรือแหลมฉบัง 1,864 ล้านบาท โครงการพัฒนาท่าเรือชายฝั่งที่สงขลา 1,500 ล้านบาท และการสร้างพื้นที่จอดเรือบริเวณสามแยกท่าทอง (ร่องน้ำบ้านดอน) และบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง ซึ่งอยู่ฝั่งสนามกอล์ฟ ร่องน้ำบางปะกง 83 ล้านบาท และ 3.การลงทุนรักษาร่องน้ำทั่วประเทศ 1,579 ล้านบาท

ส่วนด้านมาตรการทางภาษีนั้น จะเน้นไปที่การลดภาษีเพื่อส่งเสริมและจูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุนมากขึ้น นอกจากนี้ จะขอความร่วมมือไปยังกรมศุลกากรให้ปลดล็อกข้อบังคับการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อลดต้นทุนการขนส่งให้กับผู้ส่งออกสินค้า โดยต้องอนุญาตให้ผู้ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศสามารถใช้ตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าในประเทศได้เพื่อลดภาระต้นทุน จากเดิมที่ต้องวิ่งคอนเทนเนอร์เปล่า เพื่อไปรับสินค้ามาขนส่งที่ท่าเรือ.



ที่มา Data & Images -




กทท. เดินหน้าท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ขานรับนโยบายขับเคลื่อนโครงการ EEC

โครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม และออกแบบรายละเอียดสำหรับการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ (Public Review) (ค.3)


ร้อยตำรวจตรีมนตรี ฤกษ์จำเนียร ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า การสัมมนาครั้งนี้ ได้นำเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับศักยภาพของท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 เช่น มีพื้นที่ท่าเรือถึง 1,600 ไร่ ความยาวท่าเรือ 4,500 เมตร มีท่าเทียบเรือขนส่งรถยนต์ 1 ท่า ท่าเรียบเรือชายฝั่ง 1 ท่า และท่าเทียบเรือตู้สินค้า 4 ท่า สามารถรองรับทั้งปริมาณเรือและตู้สินค้าได้สูงถึง 18 ล้าน TEU/ปี

นอกจากนี้ ในงานสัมมนายังนำเสนอมาตรการป้องกัน และลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนและชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง โดยศึกษาครอบคลุมระยะต่างๆ ได้แก่ ระยะก่อนก่อสร้าง และระยะก่อสร้าง สามารถแบ่งได้ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1.ด้านเศรษฐกิจ-สังคม และการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น จัดให้มีช่องทางการร้องเรียนที่หลากหลาย 2.ด้านการกัดเซาะและการทับถมของตะกอนชายฝั่ง เช่น ควบคุมการตอกเสาเข็มให้แล้วเสร็จ ในระยะเวลาที่กำหนดและใช้แพท้องแบนดำเนินการตอกเสาเข็มและวางคานเพื่อลดสิ่งกีดขวางกระแสน้ำ

3.ด้านมลภาวะทางอากาศ เสียง และการสั่นสะเทือน เช่น ก่อสร้างรั้วปิดล้อมรอบบริเวณพื้นที่ก่อสร้างที่อยู่ใกล้ชุมชนหรือพื้นที่กองวัสดุก่อสร้าง ระยะดำเนินการ แบ่งได้ 3 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการคมนาคมขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ เช่น ติดตั้งป้ายเครื่องหมายสัญญาณเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้ถนน รวมถึงการขุดลอกร่องน้ำบริเวณปากคลองบางละมุงเป็นประจำเพื่อให้เรือชาวประมงสัญจรได้สะดวก 2.ด้านการระบายน้ำและบำบัดน้ำเสีย เช่น ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปประจำอาคารต่าง ๆ ในพื้นที่โครงการ 3.ด้านการจัดการกากของเสีย เช่น มีมาตรการจัดเก็บขยะให้หมดต่อวันเพื่อไม่ให้มีขยะตกค้าง พร้อมติดตั้งถังรองรับขยะมูลฝอยให้เพียงพอ

ทั้งนี้ การท่าเรือฯ ยังมีมาตรการช่วยเหลือชดเชยเยียวยาแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมทั้งส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชน ในพื้นที่โดยรอบอย่างยั่งยืน เช่น การจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม จัดให้มีตัวแทนชุมชนรอบพื้นที่ท่าเรือร่วมติดตาม ตรวจสอบ การดำเนินมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของชุมชน การจัดสรรพื้นที่ทำกินภายในเขตท่าเรือ เผยแพร่พิกัดแหล่งปะการังเทียมใหม่ให้กับกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านและประมงชายฝั่งเพื่อทำการประมง เป็นต้น

สำหรับโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 นับเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งและคมนาคมทางน้ำ โดยเฉพาะแผนพัฒนาพื้นที่ระเบียง  เขตเศรษฐกิจตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ที่เป็นแผนเร่งด่วนที่รัฐบาลกำลังขับเคลื่อน  ให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตูการค้าสู่เมียนมา กัมพูชา เวียดนาม และ สปป.ลาว นอกจากนี้ ยังเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของการคมนาคม ขนส่ง และกระจายสินค้าตลอดจนส่งเสริมขีดความสามารถใน การแข่งขันทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียด้วย ทั้งนี้ ประชาชนที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ทาง www.laemchabangportphase3.com



ที่มา Data & Images -





..