ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

‘สหไทยเทอร์มินอล’ ระดมทุน ขยายท่าเรือรับลูกค้าต่างชาติ

เริ่มโดย mrtnews, ต.ค 17, 17, 06:16:47 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ธุรกิจขนส่งกำลังได้รับความนิยมในตลาดทุน ซึ่งเป็นผลจากการที่ไทยเป็นจุดเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญ โดยเฉพาะทางน้ำที่ถือว่ามีต้นทุนการขนส่งที่ถูกกว่าระบบการขนส่งอื่น โดยหนึ่งในผู้นำอย่าง สหไทย เทอร์มินอล มีความได้เปรียบ จากการเป็นท่าเรือเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในไทย จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ในปีนี้ เสาวคุณ ครุจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สหไทย เทอร์มินอล หรือ PORT  มองว่าโอกาสการเติบโตของการขนส่งทางน้ำยังมีอยู่อีกมาก


"การขนส่งทางน้ำในอดีตไม่ได้รับความนิยมมากนักเมื่อเทียบกับการขนส่งทางบกแม้ว่าจะมีต้นทุนถูกกว่า ข้อมูลในอดีตพบว่า การขนส่งทางรถยนต์คิดเป็น 95% ขนส่งทางรถไฟ 4% และทางเรือไม่ถึง 1% แต่ปัจจุบันขนส่งทางเรือเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น โดยมีสัดส่วนการขนส่งอยู่ที่ 10% สิ่งสำคัญต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐให้การขนส่งทางเรือได้รับความนิยมมากขึ้น"

ที่ผ่านมาการขนส่งทางน้ำคนไทยอาจจะไม่เห็นประโยชน์มากนักและมองว่าจะเกิดขึ้นได้ยากในไทย แต่ในวันนี้เริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น และเชื่อว่าการมีท่าเรือใหม่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่เพื่อการแข่งขันกันเอง แต่เป็นการพัฒนาการขนส่งในประเทศให้มีต้นทุนต่ำลง 

ปัจจุบัน ท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยามีทั้งสิ้น 5 ท่าที่ดำเนินการโดยเอกชน และท่าเรือเอกชนที่ใหญ่ที่สุดคือ สหไทย

จุดเริ่มต้นธุรกิจของสหไทย เกิดจากบริษัทแม่ที่ทำธุรกิจเหล็กม้วน ต้องขนส่งเหล็กและวัตถุดิบและการนำเข้าและส่งออกโดยตรงจากต่างประเทศเพื่อลดต้นทุน หลังจากนั้นทางผู้ใหญ่เห็นโอกาสการพัฒนาขนส่งทางน้ำในไทย โดยเฉพาะการขนส่งด้วยเรือชายฝั่งภายในประเทศ ไปแหลมฉบังเพื่อต่อเรือขนาดใหญ่ส่งสินค้าออกต่างประเทศ

ปี 2552 บริษัทขอไลเซ่นส์บริหารท่าเรือภายใต้กรมศุลกากร ได้รับการอนุมัติและเริ่มดำเนินการในปี 2554 ทำให้บริษัทสามารถรองรับเรือขนาดใหญ่จากต่างประเทศให้เข้ามาได้ นอกจากนี้ บริษัทขออนุญาตจัดตั้งท่าเรือจากกระทรวงคมนาคม โดยใบอนุญาตจะมีอายุ 10 ปี และสามารถต่ออายุได้ทุก 10 ปี โดยปัจจุบันบริษัทสามารถรองรับเรือจากต่างประเทศได้อยู่ที่ 3 ลำต่อสัปดาห์ เพื่อรองรับการขนส่งจากสิงคโปร์ จีน มาเลเซีย เวียดนาม ซึ่งในสิ้นปีนี้ บริษัทจะรองรับเรือจากต่างประเทศได้ 5 ลำต่อสัปดาห์ 

ส่วนในประเทศนั้น บริษัทสามารถรองรับการขนตู้สินค้าได้ 18 ตู้ต่อชั่วโมง โดยรองรับการขนส่งสินค้าตลอด 24 ชั่วโมง ส่งผลให้ปัจจุบันมีสัดส่วนของการรองรับลูกค้าจากต่างประเทศ 30% และการขนส่งในประเทศ 70%

นอกจากนี้ บริษัทยังมีนโยบายการขยายการเติบโตไปในส่วนอื่นๆ ร่วมกันพันธมิตรด้วย โดยจัดตั้งบริษัท บางกอก บาร์จ เทอร์มินอล จำกัด (BBT) ซึ่งดำเนินธุรกิจให้บริการท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์สำหรับเรือชายฝั่งหรือเรือบาร์จ (Barge) ซึ่งใช้ขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือ BBT และท่าเรือแหลมฉบัง โดยบริษัท ถือหุ้นใน BBT 51.00% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ส่วนที่เหลืออีก 49.00% ของทุนจดทะเบียนถือโดยบริษัท เอ็ม โอ แอล ไลนส์เนอร์ จำกัด รองรับลูกค้าของเอ็มโอแอลโดยเฉพาะ

รวมถึงการต่อยอดธุรกิจโดยจัดตั้ง บริษัทบางกอก บาร์จ เซอร์วิส จำกัด (BBS) ซึ่งดำเนินธุรกิจจัดหาบริการเรือบาร์จ สำหรับขนส่งสินค้าทางน้ำ และท่าเรือแหลมฉบัง โดยบริษัทถือหุ้นใน BBS 40.00% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ส่วนที่เหลืออีก 60.00 % ของทุนจดทะเบียนถือโดยบริษัท เซาธ์อีส เอเชีย

รวมถึง บริษัท บางกอก คอนเทนเนอร์ เดโป เซอร์วิส จำกัด (BCDS) ซึ่งดำเนินธุรกิจให้บริการจัดการ ล้างและซ่อมแซม ปรับปรุง ตู้คอนเทนเนอร์ โดยบริษัทถือหุ้นใน BCDS 100%  เพื่อดูแลรักษาตู้เปล่า ตู้ที่ไม่มีการบรรจุสินค้า ดูแลรักษาและซ่อมแซมเพื่อให้ลูกค้าส่งสินค้าออกอีกที เพื่อขยายจำนวนตู้การส่งออก

กลยุทธ์การต่อยอดธุรกิจดังที่กล่าว ส่งผลให้บริษัทมีสัดส่วนรายได้จากท่าเทียบเรือ 85% คลังสินค้า 6% และธุรกิจนอกเหนือท่าเรือ 9%
จุดได้เปรียบของบริษัทเมื่อเทียบกับท่าเรืออื่น คือ การพัฒนาการของบริษัทรวดเร็ว ทั้งการบริการลูกค้า และบริการก่อนและหลังการขาย รวมถึงพัฒนาระบบไอที ตั้งแต่วันแรกที่เปิดบริษัทสหไทยตั้งใจทำธุรกิจให้มีมาตรฐาน ทั้งระบบบัญชี  ต้องใช้ผู้สอบบัญชี 1 ใน 5 รายใหญ่ที่สุด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นลูกค้าต่างชาติ ทำให้สหไทยสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้เร็ว โดยใช้เวลาเตรียมตัวไม่ถึง 1 ปี  ซึ่งจากการสร้างมาตรฐานสากล ทำให้มีลูกค้าระดับโลก 2 รายมาเช่าโกดังของบริษัท ขณะเดียวกัน บริษัทมีแผนจะขยายธุรกิจเพื่อรองรับลูกค้าต่างชาติเพิ่มเติม

การเข้าระดมทุนครั้งนี้บริษัทวางแผนจะนำเงินที่ได้รับจากไอพีโอมาเพิ่มศักยภาพของบริษัท เพื่อรองรับจำนวนลูกค้าที่มากขึ้น พร้อมทั้งแยกพื้นที่ลานบรรจุตู้สินค้าเพิ่มขึ้น ช่วยให้รองรับปริมาณตู้มากขึ้น และคาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางปีหน้า โดยจะรองรับได้ 1.8 หมื่นทียูต่อเดือน จากปัจจุบันที่ 1.4 หมื่นทียูต่อเดือน

แผนในอนาคต 3-5 ปีข้างหน้า ธุรกิจท่าเรือจะเติบโต และทั้งกลุ่มบริษัทจะมีมูลค่าเพิ่ม และในอีก 5 ปีสหไทยจะไปโตในตลาดเพื่อนบ้าน หลังจากที่บุกเบิกการขนส่งทางน้ำในประเทศเป็นอันดับที่ 1ก็มีผู้สนใจดึงสหไทยไปในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในกัมพูชา เวียดนาม หรือ เมียนมา เป็นการร่วมทุนทำท่าเรือในประเทศ



ที่มา Data & Images -




สหไทย เทอร์มินอลคาดเสนอขายหุ้น IPO 120 ล้านหุ้น เข้าตลาด mai ภายใน พ.ย.นี้

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 11 ตุลาคม 2560 - บมจ.สหไทย เทอร์มินอล (PORT) ผู้ให้บริการท่าเรือเอกชนครบวงจรรายใหญ่ของประเทศไทย วางแผนที่จะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 120 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 26.09% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วภายหลังการเสนอขายหุ้น ภายในเดือน พ.ย.นี้ โดยจำนวน 6 ล้านหุ้นจะถูกจัดสรรให้กับกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทที่ราคาขาย IPO โดยการระดมทุนครั้งนี้มีแผนจะนำเงินไปเป็นเงินทุนในการขยายธุรกิจ ชำระคืนเงินกู้ยืม และเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน


นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (MBKET) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน เปิดเผยว่า เตรียมนำ PORT เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยจะมีการเปิดจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในช่วงปลางเดือน พ.ย. ก่อนที่จะเข้าซื้อในช่วงปลายเดือน พ.ย. นี้

บริษัทจะเดินทางนำเสนอข้อมูลให้กับสถาบันต่างๆในกรุงเทพ ตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค.-พ.ย. โดยจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนมาใช้ในการขยายกิจการต่อเนื่อง และนำไปชำระหนี้สินบางส่วน จากปัจจุบันที่มีอยู่ราว 800 ล้านบาท ซึ่งมีระดับอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) 3 เท่า ซึ่งหลังจากชำระหนี้สินบางส่วนแล้ว D/E จะลดลงเหลือ 1.5 เท่า

PORT มีทุนจดทะเบียน 230 ล้านบาท โดยเป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 170 ล้านบาท (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท) เป็นผู้ให้บริการท่าเรือเอกชนครบวงจรรายใหญ่ของประเทศไทย ให้บริการท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์สำหรับทั้งเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Feeder) และเรือขนส่งชายฝั่ง (Barge) โดยท่าเรือของบริษัทตั้งอยู่ในทำเลที่สำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของธุรกิจโลจิสติกส์ของประเทศ (อำเภอปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ)

ปัจจุบัน บริษัทให้บริการแบบครบวงจร ตั้งแต่ 1.ธุรกิจการให้บริการท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์ครบวงจร สำหรับเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Feeder) และเรือขนส่งสินค้าชายฝั่ง (Barge) รวมถึงให้บริการบรรจุสินค้าเข้า และถ่ายสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ (CFS) และ ซ่อมแซมทำความสะอาดตู้คอนเทนเนอร์ (Container Depot) 2. ธุรกิจการให้บริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางบก ภายในบริเวณจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และบริเวณเขตพื้นที่แหลมฉบัง

3. ธุรกิจการให้บริการพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์และคลังสินค้า โดยให้บริการพื้นที่ลานพักตู้คอนเทนเนอร์และคลังจัดเก็บสินค้ากับลูกค้า ทั้งที่เป็นเขตให้บริการปกติและปลอดภาษีอากร (Free Zone) ซึ่งปัจจุบัน บริษัทให้บริการแก่กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลก กลุ่มธุรกิจ e-commerce และอีกหลากหลายอุตสาหกรรม 4.ธุรกิจการให้บริการเกี่ยวเนื่องอื่นๆ อาทิ การให้บริการ Freight Forwarding เป็นต้น

นายบัญชัย ครุจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PORT เปิดเผยว่า บริษัทว่าคาดรายได้ปีนี้จะมากกว่าปีก่อนที่ 1,080 ล้านบาท โดยทิศทางการเติบโตในช่วงครึ่งปีหลังจะมากกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจากในเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา บริษัท บางกอก บาร์จ เทอร์มินอล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกได้รับใบอนุญาต ICD (Inland Container Depot) ทางน้ำแห่งแรกของประเทศไทยจากกรมศุลกากรทำให้สามารถดำเนินการสินค้าเข้าได้ทันที เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่จากกรมศุลกากรมาให้ความสะดวกทั้งการชำระภาษีและตรวจสอบสินค้า ส่งผลให้มีลูกค้าเข้ามาใช้ท่าเรือของบริษัทมากขึ้น

"ทิศทางรายได้เราค่อนข้างมั่นใจว่าจะเติบโตกว่าปีก่อนแน่นอน เนื่องจากเราได้ใบอนุญาต ICD เข้ามาช่วยให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกสบาย และรวดเร็วในการขนส่งสินค้าทำให้ผู้ประกอบการต้องการใช้เรามากขึ้น แต่ในส่วนของกำไรยังต้องรอลุ้นเพราะช่วงต้นปีที่ผ่านมามีการลงทุนคลังสินค้าไปจึงมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ซึ่งต้องมารอลุ้นว่าครึ่งปีหลังกำไรจะเข้ามาทันหรือไม่"นายบัญชัย กล่าว

อนึ่ง เมื่อปี 58 บริษัทได้ร่วมทุนกับสายการเดินเรือรายใหญ่ของญี่ปุ่น Mitsui O.S.K. Lines (MOL) จัดตั้งบริษัทร่วมทุนชื่อ บริษัท บางกอก บาร์จ เทอร์มินอล จำกัด (BBT) โดยในเดือน ก.ค.60 BBT ได้รับใบอนุญาต ICD (Inland Container Depot) ทางน้ำแห่งแรกของไทยจากกรมศุลกากรทำให้สามารถดำเนินการสินค้าขาเข้าได้  นอกจากนี้ในปี 59 บริษัทได้ร่วมทุนกับสายการเดินเรือ Mediterranean Shipping Company (MSC) หนึ่งในสายการเดินเรือรายใหญ่ของโลก ภายใต้ชื่อบริษัท บางกอก บาร์จ เซอร์วิส จำกัด (BBS) เพื่อให้บริการบริหารจัดการเรือขนส่งสินค้าชายฝั่ง



ที่มา Data & Images -





..