ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

ทำความรู้จักสถานีเก็บ FSRU เบื้องต้น โดย กฟผ. กับการจัดส่ง LNG

เริ่มโดย mrtnews, พ.ย 25, 17, 06:35:33 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ทำความรู้จัก FSRU เบื้องต้นว่าคืออะไร? LNG คืออะไร และ สถานการณ์ LNG ในประเทศไทยนำไปสู่โครงการ FSRU โดย กฟผ. เป็นอย่างไร


FSRU คืออะไร?
FSRU ย่อมาจาก Floating Storage and Regasification Unit แปลได้ว่า โครงการสถานีเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซแบบลอยน้ำ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อการสร้างความมั่นคงในการจัดหาก๊าซธรรมชาติระยะยาว และการรองรับเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ โดยการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ ที่ผ่านกระบวนการเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquefied Natural Gas – LNG) และขนส่งโดยเรือขนส่ง LNG เดินทางมายังท่าเทียบเรือประเทศปลายทาง ก่อนจะขนถ่าย LNG เข้าสู่ FSRU เพื่อแปลงสภาพเป็นก๊าซส่งเข้าสู่ท่อลำเลียงไปยังจุดหมายปลายทางต่อไป

LNG คืออะไร?
ก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG เริ่มต้นจากการได้ 'ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas – NG)' จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ นำไปผ่านกระบวนการคัดแยกจนกลายเป็นของเหลว หรือ LNG นั่นเอง

จุดเด่นของ LNG คือ มีปริมาตรเล็กกว่าก๊าซธรรมชาติถึง 600 เท่า ทำให้สะดวกต่อการขนส่งได้ในปริมาณมากๆ สะอาด ปลอดภัย ไร้กลิ่น ปราศจากสารกัดกร่อน และติดไฟยาก เพราะเมื่อเกิดการรั่วไหล LNG จะระเหยขึ้นสู่อากาศทันที ไม่เหลือสารตกค้างในดิน โดย LNG ถูกนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมกว่า 50 ปี ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นเชื้อเพลิงในยานพาหนะ และให้ความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรม

สถานการณ์ LNG ในประเทศไทยนำไปสู่โครงการ FSRU โดย กฟผ.
ปัจจุบันประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยและนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเริ่มลดลง แต่ความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมกลับสูงขึ้น โดยคาดการณ์ว่าจากปัจจุบัน 5 ล้านตันต่อปี จะเป็น 22 ล้านตันต่อปี ในปี 2579 โดยคิดเป็นสัดส่วนของ LNG ที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 70 ของปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศ ประกอบกับการต่ออายุสัมปทานรอบใหม่ยังไม่ชัดเจน ทำให้ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวเพิ่มขึ้น

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น มติการประชุมคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ (กพช.) ได้เห็นชอบหลักการแข่งขันกิจการก๊าซธรรมชาติ โดยมอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เป็นผู้จัดหา LNG รายใหม่ และดำเนินโครงการ FSRU

องค์ประกอบของโครงการ FSRU ของ กฟผ. แบ่งเป็น 3 โครงการ 1. โครงการสถานีเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซแบบลอยน้ำ (FSRU) : มีลักษณะเหมือนเรือ ทำหน้าที่กักเก็บและเปลี่ยนเป็นสถานะก๊าซ เพื่อส่งไปยังโรงไฟฟ้าด้วยท่อส่งก๊าซธรรมชาติ โดยสถานี FSRU สามารถรับ LNG ได้สูงสุดถึง 260,000 ลูกบาศก์เมตร 2. โครงการท่าเทียบเรือ FSRU : เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ยึดสถานี FSRU ให้ลอยในตำแหน่งเดิมเพื่อรองรับเรือขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Carrier – LNGC) 3. โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจาก FSRU ไปยังโรงไฟฟ้าพระนครใต้ เป็นระยะทาง 60 กิโลเมตรโดยประมาณ

กฟผ. กับการจัดส่ง LNG ในโครงการ FSRU ครั้งแรก
จากมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ (กพช.) เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับเชื้อเพลิงให้กับประเทศ และเสริมความมั่นคงในการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาว กพช. มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้ดำเนินโครงการ FSRU รายใหม่ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน เพื่อนำเข้า LNG ในปริมาณ 5 ล้านตันต่อปี และจัดส่งให้กับโรงไฟฟ้าพระนครใต้ โดยโรงไฟฟ้าพระนครใต้มีความต้องการใช้ LNG ประมาณ 3 ล้านตันต่อปี ดังนั้น จึงส่งอีก 2 ล้านตันต่อปีไปยังโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ รวมทั้งจัดส่งก๊าซธรรมชาติเข้าสู่โครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน โดยกำหนดส่งก๊าซธรรมชาติได้ ในปี 2567

ความก้าวหน้าของโครงการ FSRU ในปัจจุบัน
กฟผ. จะจัดทำรายงาน EIA (Environmental Impact Assessment) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และจัดงานด้านมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ ชี้แจงรายละเอียดแก่หน่วยงานและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงการกำหนดจัดรับฟังความคิดเห็น 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเริ่มต้นในวันที่ 22-25 พฤศจิกายน 2560 นี้ ที่ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ ตามกระบวนการจัดทำรายงาน และเสนอรายงาน EIA ฉบับสมบูรณ์ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งกระบวนการในการจัดทำรายงานเรื่องสิ่งแวดล้อม และความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการจะต้องจัดทำให้เสร็จสิ้น ภายในปี 2561



ที่มา Data & Images -

-/-

กฟผ. ระดมสมองโครงการ FSRU

นางศิวพร ฉั่วสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เปิดผยในการเป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 ในการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการของ กฟผ. จำนวน 3โครงการ ได้แก่ (1) โครงการสถานีเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซแบบลอยน้ำ(Floating Storage and Regasification: FSRU) บริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนบน (2) โครงการท่าเทียบเรือ FSRUและ (3) โครงการท่อส่ง ก๊าซธรรมชาติจาก FSRU ไปยังโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ซึ่งมีบริษัท อีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด เป็นบริษัทที่ปรึกษาในการศึกษาและจัดทำรายงาน EIAโดยว่าที่ พ.ต.อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการชุมชนสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้ให้ข้อมูลโครงการและความจำเป็นในการทำโครงการ ซึ่งมีหน่วยงานราชการ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น สถาบันการศึกษา สถานพยาบาล องค์กรเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และสื่อมวลชน ในจังหวัดสมุทรปราการ เข้าร่วมรับฟัง ตั้งแต่เวลา 09.30 – 12.00น. ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ


การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียโครงการ FSRU ครอบคลุมพื้นที่ที่โครงการท่อส่งก๊าซ พาดผ่านทั้งในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด จำนวน 18 พื้นที่ มีระยะดำเนินการตั้งแต่เดือน พ.ย. 60 – ม.ค. 61 โดยการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในวันนี้ ถือเป็นครั้งที่ 1 ในเวทีระดับจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อนำเสนอข้อมูลรายละเอียดโครงการในเบื้องต้น ตลอดจนชี้แจงขอบเขตและแนวทางการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของกลุ่มผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียทุกกลุ่ม อันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมาตรการป้องกันแก้ไขและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการให้ครอบคลุมทุกประเด็นและทุกพื้นที่เพื่อให้โครงการมีผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด โดยผู้สนใจทุกท่านสามารถสอบถามรายละเอียดของโครงการเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท อีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด (คุณพงศ์พชร พินิจปรีชา โทรศัพท์ 0-2679-5200และคุณกาญจนา สุขน้อย โทรศัพท์ 0-2347-0154)

สำหรับโครงการนี้ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการประชุม ครั้งที่ 5/2559 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2559ได้มอบหมายให้ กฟผ. เป็นผู้ดำเนินโครงการ FSRU ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน ซึ่งเป็นโครงการ FSRU แห่งแรกของประเทศไทย สำหรับรองรับการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในปริมาณ 5 ล้านตันต่อปี เพื่อจัดส่ง ก๊าซธรรมชาติให้กับโรงไฟฟ้าพระนครใต้และโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ รวมทั้งจัดส่งก๊าซธรรมชาติเข้าสู่โครงข่ายระบบท่อส่ง ก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน โดยมีกำหนดแล้วเสร็จและสามารถส่งก๊าซธรรมชาติให้กับโรงไฟฟ้าได้ในปี 2567 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้รับทราบมติการประชุมของ กพช. นี้ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560

โดยโครงการ FSRU ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบนจะช่วยให้ประเทศไทยมีผู้ประกอบการรายใหม่ในกิจการก๊าซธรรมชาติ ตลอดจนช่วยเพิ่มจุดเชื่อมต่อ (entry point) ให้กับระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นการเพิ่มความมั่นคงของระบบจัดหาก๊าซธรรมชาติและส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติมากขึ้นด้วย ซึ่งก๊าซธรรมชาติถือว่าเป็นพลังงานหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป



ที่มา Data & Images -





..