ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

ญี่ปุ่นเริ่มออกเรือล่าวาฬเชิงพาณิชย์ครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปี

เริ่มโดย mrtnews, ก.ค 02, 19, 18:52:13 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เรือล่าวาฬของญี่ปุ่นเริ่มออกจากฝั่งเพื่อล่าวาฬเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปีเมื่อวันจันทร์ ยุติการอ้างเหตุผลบังหน้าล่าเพื่อวิทยาศาสตร์


รายงานสำนักข่าวเอเอฟพีเมื่อวันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2562 ว่าเรือล่าวาฬ 5 ลำออกจากท่าที่เมืองคูชิโร ทางภาคเหนือของญี่ปุ่นเมื่อเช้าวันเดียวกันนี้ เมื่อล่วงเข้าถึงช่วงบ่าย วาฬตัวแรกที่จับได้ก็ถูกส่งกลับเข้าฝั่ง

การล่าวาฬเชิงพาณิชย์ซึ่งยุติมานานกว่า 30 ปี เกิดขึ้นภายหลังญี่ปุ่นถอนตัวจากคณะกรรมการการล่าวาฬระหว่างประเทศ (ไอดับเบิลยูซี) ซึ่งทำให้ถูกนักเคลื่อนไหวและประเทศที่ต่อต้านการล่าวาฬรุมประณาม และสร้างความพอใจแก่ชุมชนล่าวาฬของญี่ปุ่น

สำนักงานประมงญี่ปุ่นกล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า ญี่ปุ่นกำหนดโควตาการจับวาฬสำหรับฤดูล่าวาฬปีนี้ซึ่งจะสิ้นสุดเดือนธันวาคม ที่ 227 ตัว แบ่งเป็นวาฬมิงก์ 52 ตัว, วาฬบรูดา 150 ตัว และวาฬเซ 25 ตัว โควตานี้กำหนดเป็นรายปีซึ่งยังถือว่าน้อยกว่าจำนวนวาฬที่ญี่ปุ่นเคยจับในมหาสมุทรแอนตาร์กติกช่วงไม่นานมานี้ ซึ่งอยู่ที่ 330 ตัว

โยชิฟูมิ ไค นายกสมาคมล่าวาฬชนิดเล็กแห่งญี่ปุ่น กล่าวต่อชุมชนนักล่าวาฬ, นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในเมืองคูชิโรก่อนปล่อยเรือออกจากท่าว่า หัวใจเขาพองโตด้วยความสุข เขาตื้นตันอย่างยิ่ง การล่าวาฬเป็นอุตสาหกรรมเล็กๆ แต่เขาก็ภาคภูมิใจ บ้านเกิดของผมล่าวาฬกันมานานกว่า 400 ปีแล้ว

นอกจากที่เมืองคูชิโรแห่งนี้ เช้าวันเดียวกันยังมีเรือล่าวาฬแล่นออกจากท่าเรืออื่นๆ ของญี่ปุ่น รวมถึงที่เมืองชิโมโนเซกิในภาคตะวันตก


ญี่ปุ่นอ้างว่าการล่าวาฬเป็นประเพณีเก่าแก่ของประเทศซึ่งไม่ควรเป็นประเด็นที่นานาชาติเข้ามาแทรกแซง แต่ในฐานะชาติสมาชิกของไอดับเบิลยูซี ญี่ปุ่นไม่สามารถล่าวาฬขนาดใหญ่ในเชิงพาณิชย์ได้ แม้ว่าญี่ปุ่นจะยังสามารถจับวาฬขนาดเล็กใกล้ชายฝั่งของตน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นสามารถหาช่องโหว่จากกฎข้อบังคับของไอดับเบิลยูซี แล้วล่าวาฬในน่านน้ำแอนตาร์กติกที่ได้รับการคุ้มครองด้วยข้ออ้างว่าเป็นการล่าเพื่อ "การวิจัยทางวิทยาศาสตร์"

นักเคลื่อนไหวกล่าวกันว่า การล่าวาฬที่ว่านี้ไม่ได้มีคุณค่าทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด และญี่ปุ่นก็ไม่เคยปิดบังข้อเท็จจริงที่ว่า เนื้อวาฬที่จับได้ถูกส่งขายเพื่อการบริโภค

ด้านองค์กรพิทักษ์สัตว์ ฮิวเมนโซไซตีอินเตอร์เนชันแนล ประณามการรื้อฟื้นการล่าวาฬเชิงพาณิชย์ของญี่ปุ่นว่า เป็นวันน่าเศร้าของการคุ้มครองวาฬทั่วโลก และเป็นจุดเริ่มต้นยุคใหม่อันน่าช็อกของการล่าวาฬแบบโจรสลัด

เนื้อวาฬเคยเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญของญี่ปุ่นหลายปีหลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ปัจจุบันอุตสาหกรรมล่าวาฬเป็นชุมชนขนาดเล็กมาก มีผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้โดยตรงราว 300 คน และการบริโภคเนื้อวาฬมีสัดส่วนไม่ถึง 0.1% ของเนื้อที่ชาวญี่ปุ่นบริโภคในแต่ละปี.



ที่มา Data & Images -







..