ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

กรมเจ้าท่าทุ่มกว่า 2 พันล้าน เฟสแรกขยายเส้นทางประหยัดพลังงาน นำร่องแม่น้ำป่าสัก

เริ่มโดย mrtnews, ก.ย 13, 13, 17:35:38 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

กรมเจ้าท่าทุ่มกว่า 2 พันล้าน เฟสแรกขยายเส้นทางประหยัดพลังงานนำร่องแม่น้ำป่าสัก เร่งลดต้นทุนขนส่ง สร้างแต้มต่อผู้ประกอบการไทยรับศึกการค้าเออีซี


นายพ้อง ชีวานันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมพื้นที่โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าในลำน้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่า กรมเจ้าท่าเตรียมลงทุนขยายเส้นทางขนส่งประหยัดพลังงาน ตามนโยบายลดต้นทุนโลจิสติกส์ของรัฐบาล กรมเจ้าท่าได้เสนอตั้งงบประมาณจำนวน 11,180 ล้านบาท ใน พรบ.เงินกู้ เพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งโครงการนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก เร่งดำเนินโครงการขยายลำน้ำในแม่น้ำป่าสัก พัฒนาทางเดินเรือจาก กม.0- กม.52 (ช่วงใต้เขื่อนพระรามหก) โดยเร่งขุดลอกแก้ไขจุดที่มีปัญหาตื้นเขิน และก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง 12 แห่ง เพื่อขยายหน้าตัดลำน้ำ พัฒนาพื้นที่หลบเรือ เพิ่มความสะดวก ลดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ประกอบการ ใช้งบประมาณเบื้องต้น 2,070 ล้านบาท ตามแผนจะดำเนินการปี 2557-2559

ส่วนระยะที่ 2 ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพร้อมขุดลอกส่วนที่เหลือ และก่อสร้างหลักผูกเรือ ติดตั้งเครื่องหมายช่วยการเดินเรือ รวมทั้งจัดระเบียบการจราจร ระยะเวลาดำเนินการปี 2558-2563 ใช้งบประมาณ 8,765 ล้าน ภายหลังโครงการฯแล้วเสร็จดาดว่าจะได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนวิธีการขนส่งในภาพรวม 20,887.34 ล้านบาทต่อปี

สำหรับโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการขนส่งในลำน้ำป่าสัก เนื่องจากเห็นถึงศักยภาพของตำแหน่งของแม่น้ำป่าสัก ที่มีการไหลผ่านในย่านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม และอยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร สามารถรองรับการขนส่งสินค้าจากภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มาลงเรือที่แม่น้ำป่าสัก ขนถ่ายต่อไปยังท่าเรือชายฝั่งที่คลองเตย แหลมฉบัง และออกสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้สะดวกยิ่งขึ้น สินค้าที่นิยมขนส่งทางเรือ ขาล่อง ได้แก่ มันสำปะหลัง ปูนซีเมนต์ หินก่อสร้าง ส่วนสินค้าขาขึ้น ได้แก่ ถ่านหิน ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม มีปริมาณขนส่งสินค้าต่อเที่ยว 4000-6000 ตัน หรือเทียบเท่ารถบรรทุก 300-400 คัน

"หากสามารถพัฒนาเส้นทางขนส่งในแม่น้ำป่าสักให้ต่อเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ออกสู่อ่าวไทย และไปจนถึงท่าเรือแหลมฉบังได้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนถ่ายระบบการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะสินค้าหนัก เช่นปูนซีเมนต์ ถ่านหิน น้ำมัน ข้าว ข้าวโพด จากการขนส่งทางถนนมาใช้ทางน้ำสะดวกยิ่งขึ้น ลดเวลา ลดค่าใช้จ่าย หากคิดระยะทางขนส่งทางน้ำจากท่าเรือแหลมฉบังมายังป่าสักระยะทางรวม 260 กม พบว่าจะช่วยประหยัดต้นทุนการขนส่งได้มากถึง 3 เท่า"นายพ้องกล่าว


นายพ้องกล่าวว่าการขนส่งทางน้ำถือเป็นเส้นทางขนส่งที่ประหยัดพลังงานมากที่สุด เพราะมีต้นทุนที่ถูกกว่าทางถนน แต่ปัจจุบันยังไม่ได้รับความนิยม เพราะยังมีปัญหาลำน้ำแคบเรือบรรทุกสินค้าไม่สามารถผ่านได้ กรมเจ้าท่าจึงต้องเร่งพัฒนาขยายลำน้ำป่าสัก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนด้านโลจิกส์ติกให้กับผู้ประกอบการไทย ใช้เป็นแต้มต่อในการแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างยั่งยืน ภายหลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ระบุว่า อัตราการใช้พลังงานต่อหน่วยการขนส่งสินค้า หากเป็นการขนส่งทางน้ำจะใช้พลังงานน้อยกว่าการขนส่งทางรถยนต์และมีผลทางอ้อมคือด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยลดปริมาณคาร์บอนปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ ได้น้อยกว่าการขนส่งทางรถยนต์และลดอุบัติเหตุทางรถยนต์จำนวนมาก

ที่มา -