ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

ปตท. ยอมซื้อ LNG เชลล์ แลกร่วมทุนแหล่งก๊าซ

เริ่มโดย mrtnews, ก.ย 16, 13, 21:22:48 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ปตท. พร้อมเปิดโอกาสให้เชลล์ขายแอลเอ็นจีให้ แต่สร้างเงื่อนไขต้องเปิดให้ ปตท.ร่วมลงทุนแหล่งผลิต สนพ.ชี้ในอนาคตต้องจัดหากว่า 10 ล้านตันต่อปี ป้อนความต้องการโรงไฟฟ้า


นายภาณุ สุทธิรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่จัดหาและตลาดก๊าซธรรมชาติหน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บมจ.ปตท. เปิดเผยถึงกรณีผู้บริหารเชลล์ ประเทศไทย ต้องการเป็นผู้จัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ให้กับ ปตท.ว่า เชลล์สามารถเข้ามาลงทุนสร้างคลังรับแอลเอ็นจี เพื่อส่งขายให้กับกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม หรือสถานีบริการเอ็นจีวีได้อยู่แล้ว หลังจากที่ร่างระเบียบการแข่งขันการค้าก๊าซธรรมชาติ ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ดำเนินการแล้วเสร็จ
"เชลล์ซึ่งมีแหล่งก๊าซขนาดใหญ่อยู่ทั่วโลก และต้องการที่จะเป็นผู้จัดหาแอลเอ็นจีให้กับ ปตท. ก็ควรจะเปิดโอกาสให้กลุ่ม ปตท.เข้าไปมีความร่วมมือทางใดทางหนึ่ง หรือเข้าไปร่วมลงทุนในแหล่งผลิตด้วย จึงจะมีความเป็นไปได้ที่ ปตท.จะซื้อแอลเอ็นจีจากเชลล์" นายภาณุกล่าว

นายชาครีย์ บูรณกานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ปตท. กล่าวว่า ที่ผ่านมา ปตท.และเชลล์ยังไม่มีความร่วมมือทางการค้าระหว่างกันในเรื่องของแอลเอ็นอี โดย ปตท.มีการทำสัญญาระยะยาวในการซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับบริษัท กาตาร์ ลิคิวไฟด์ แก๊ส คอมพานี (กาตาร์แก๊ส) ในปริมาณ 2 ล้านตันต่อปี ตลอดอายุสัญญา 20 ปี ที่กำหนดเริ่มรับก๊าซแอลเอ็นจีตั้งแต่เดือน ม.ค.2558 เป็นต้นไป   

"มติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบให้ ปตท.สร้างคลังแอลเอ็นจีรองรับความต้องการใช้เพิ่มอีก 5 ล้านตันต่อปี รวมที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็น 10 ล้านตันต่อปี ซึ่งในอนาคต ปตท.จำเป็นต้องจัดหาแอลเอ็นจี ในส่วนที่เหลือให้เพียงพอกับความต้องการใช้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกับเชลล์ เพียงแต่ยังไม่ได้มีเปิดการเจรจากันอย่างเป็นทางการ" นายชาครีย์กล่าว 

แหล่งข่าวจากสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเปิดตลาดด้วยการเป็นผู้จัดหาแอลเอ็นจีให้กับ ปตท. ที่จะต้องจัดหาแอลเอ็นจีอีกประมาณ 8 ล้านตันต่อปีในอนาคต เพื่อรองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น โดยหากโรงไฟฟ้าใหม่ ไม่มีการกระจายเชื้อเพลิงไปเป็นถ่านหินหรือนิวเคลียร์ เชื่อว่าความต้องการใช้แอลเอ็นจีจะสูงมากกว่า 10 ล้านตันต่อปี ในอีก 20 ปีข้างหน้าอย่างแน่นอน โดยปัจจุบันกลุ่ม ปตท.มีความหวังที่จะผลิตแอลเอ็นจี จากที่ไปลงทุนในโมซัมบิกและออสเตรเลีย ซึ่งหากไม่สามารถผลิตแอลเอ็นจีได้ตามแผนก็จะต้องจัดหาแอลเอ็นจีจากแหล่งอื่น.

ที่มา -