ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

“คมนาคม” ทบทวนข้อมูลลงทุนเชื่อมทวาย หวั่นไม่จูงใจ ยันไม่เร่งมอเตอร์เวย์-รถไฟ

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 09, 13, 23:18:56 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

"คมนาคม" สั่ง สนข.วิเคราะห์รายละเอียดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมทวายเพิ่มเติม 5 ด้าน ลงลึกตัวเลขการลงทุนและเป้ารายได้รายปี ชี้ประมาณการหลายตัวยังไม่ชัดเจน หวั่นตั้งค่าบริการไว้สูงไม่จูงใจนักลงทุน เตรียมสรุปก่อนประชุมร่วมไทย-พม่า วันที่ 6-8 มี.ค.นี้ ขณะที่ญี่ปุ่นแนะแยกท่าเรือคอนเทนเนอร์กับท่าเรืออุตสาหกรรม


นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการประสานงานร่วมไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย วานนี้ (11 ก.พ.) ว่า เป็นการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ สาขาโครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) วิเคราะห์รายละเอียดเพิ่มเติมใน 5 ด้าน คือ 1. ปริมาณความต้องการสินค้าเข้า-ออก 2. โครงสร้างด้านราคา เข่น ค่าผ่านทาง ค่าภาระและระวางเรือที่กำหนดเป็นแบบขั้นบันไดเหมาะสมหรือไม่ เป็นไปได้หรือไม่ 3. ประมาณการลงทุนกำหนดไว้ถูกต้องหรือไม่ 4. ระยะเวลาเหมาะสมหรือไม่ และ 5. ด้านเทคนิคต่างๆ เช่น ตำแหน่งของท่าเรือเหมาะสมหรือไม่

ทั้งนี้ ข้อมูลหลักที่คณะอนุกรรมการฯ วิเคราะห์มาจากบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ซึ่งจะต้องทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันทั้งท่าเรือ นิคมอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ถนน ทางรถไฟ เพื่อให้สินค้าเคลื่อนผ่านได้อย่างรวดเร็วที่สุด ซึ่งขณะนี้มีข้อมูลหลายตัวที่ยังไม่ตรงกัน เช่น ต้นทุนค่าน้ำประปา ITD คิดไว้ที่ 23.5 บาท ต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนการประปาส่วนภูมิภาคคิดว่าควรอยู่ที่ 28.5 บาทต่อลูกบาศก์เมตร เป็นต้น และล่าสุดทางญี่ปุ่นได้ให้ความเห็นว่าตำแหน่งของท่าเรือไม่เหมาะสมควรแยกท่าเรือคอนเทนเนอร์กับท่าเรืออุตสาหกรรมออกจากกัน เพราะตัววัตถุดิบจะเกิดก่อนและเพื่อให้การเข้าออกสะดวกไม่แออัดด้วย ซึ่งจะเป็นรูปแบบเดียวกับท่าเรือแหลมฉบังที่รองรับตู้คอนเทนเนอร์แยกกับท่าเรือมาบตาพุดที่เป็นอุตสาหกรรม

"นอกจากนี้ ข้อมูลที่ ITD คิดไว้กับที่ภาครัฐมีก็ยังไม่ตรงกันอีก ต้องเขียนใหม่ให้ถูกต้อง โดยเฉพาะอัตราค่าบริการต่างๆ ถ้ากำหนดไว้สูงจะกระทบต่อผลตอบแทนการลงทุนโครงการ (IRR) แล้วยังจะทำให้ไม่มีนักลงทุนกล้าเข้ามาด้วย ตอนนี้รายละเอียดมีมาก ที่ต้องทำตัวเลขให้ชัดคือ ตัวเลขการลงทุนต่อปี รายได้หรือ Cash Flow ต่อปี ปริมาณสินค้าที่เข้าออกเป็นอย่างไร เพื่อให้นักลงทุนเข้าใจมากขึ้น ตอนนี้มีแค่ประมาณว่าจะลงทุนรวม 2 เฟส ประมาณ 2.9 แสนล้านบาท เป็นการลงทุนฝั่งไทยกว่า 9 หมื่นล้านบาท ฝั่งพม่า 1.9 แสนล้านบาท" นายชัชชาติกล่าว

ส่วนโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์ เส้นทางบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ระยะทาง 98 กิโลเมตร จะดำเนินการแน่นอน แต่ส่วนที่ต่อจากกาญจนบุรี-พุน้ำร้อน ชายแดนไทย-พม่า ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตรนั้นยังไม่ต้องเร่งพิจารณา รวมถึงเส้นทางรถไฟ ซึ่งเป็นแผนเฟส 2 ที่จะเริ่มดำเนินการหลังปี 2558 โดยทางพม่าต้องการให้ใช้รางความกว้าง 1.435 เมตร เนื่องจากฝั่งไทยไปถึงชายแดนพม่ามีระยะทางสั้นกว่าทางพม่า ควรรอดูท่าทีของพม่าก่อน หากทางพม่าชัดเจนและเริ่มก่อสร้างแล้วไทยค่อยลงทุนก็ยังทัน

โดยฝ่ายไทยจะมีการประชุมคณะกรรมการประสานงานร่วมไทย-เมียนมาร์ ที่มีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในวันที่ 18 กุมภาพันธ์นี้ เป็นการเตรียมประเด็นไว้สำหรับการประชุมในระดับคณะกรรมการร่วมไทย-เมียนมาร์ (JCC) วันที่ 6-8 มีนาคม 56

ที่มา -




คมนาคมสั่ง สนข. ทวนแผนโครงสร้างพื้นฐานผุดทวาย

คมนาคมสั่ง สนข. ทวนแผนโครงสร้างพื้นฐาน ในโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย หลังข้อมูลส่วนกลางยังมีรายละเอียดบางส่วนแตกต่างกับข้อมูลของอิตัลไทย

เมื่อวันที่ 11 ก.พ. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการโครงสร้างพื้นฐาน โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ว่า ที่ประชุมมอบหมายให้ สนข. กลับไปวิเคราะห์ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแต่ละสาขาเพิ่มเติม ทั้ง ถนน ท่าเรือ รถไฟ และนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากข้อมูลของส่วนกลางยังมีรายละเอียดที่แตกต่างกับข้อมูลของ บริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทาน โดยจะต้องนำข้อมูลทั้ง 2 ฝ่ายมาวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อหาข้อมูลที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงมากที่สุด เพราะหากข้อมูลยังแตกต่างกันอาจส่งผลกระทบต่อการคำนวณอัตราผลตอบแทนการลงทุนและความเป็นไปได้ของโครงการ

สำหรับประเด็นที่ สนข.จะต้องกลับไปวิเคราะห์เพิ่มเติมประกอบด้วย 1. ความต้องการใช้สาธารณูปโภค 2. โครงสร้างการคิดคำนวณค่าบริการสาธารณูปโภคในสาขาต่างๆ 3. ปริมาณเงินลงทุนในโครงการ 4. ระยะเวลาการดำเนินการของโครงการและ 5. ข้อมูลทางด้านเทคนิคการก่อสร้างสาธารณูปโภค เช่น ตำแหน่งของการก่อสร้างท่าเรือภายในนิคม ซึ่งล่าสุดรัฐบาลญี่ปุ่นเสนอแนะว่า การวางตำแหน่งท่าเรือไม่เหมาะสมอาจส่งผลกระทบต่อการจรจาภายใน โดยเสนอให้มีการแยกท่าเรือคอนเทนเนอร์ ออกจากท่าเรือขนส่งวัตถุดิบ

นายชัชชาติ กล่าวว่า ที่ผ่านมาหน่วยงานราชการมีข้อมูลจำกัดมาก ดังนั้น จำเป็นต้องขอข้อมูลของอิตัลไทยมาทบทวนเพื่อหาจุดที่เหมาะสม โดยต้องวิเคราะห์ให้ชัดว่า แต่ละปีจะมีการลงทุนเท่าไหร่ จะมีกระแสเงินสดในโครงการเท่าไหร่ เพื่อสร้างความมั่นใจด้านรายได้และรายจ่ายให้กับนักลงทุนที่จะตัดสินใจเข้ามาลงทุน คาดว่าจะได้ข้อสรุปเบื้องต้น และเสนอให้ที่ประชุมอนุกรรมการฯ พิจารณาในการประชุมครั้งต่อไปวันที่ 18 ก.พ. นี้

"ที่ผ่านมาข้อมูลบางส่วนของอิตัลไทยไม่ตรงกับข้อมูลของหน่วยงานราชการ เช่น ข้อมูลด้านต้นทุนค่าน้ำประปาภายในนิคม การประชาส่วนภูมิภาควิเคราะห์ว่ามีต้นทุนประมาณ 28.50 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนอิตัลไทยระบุบว่าอยู่ที่ 23 บาทต่อลูกบาสก์เมตร วันนี้ข้อมูลแต่ละหน่วยยังไม่ชัดเจน ไม่รู้ว่าจะมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ทั้ง ท่าเรือ ถนน รถไฟ นิคมอุตสาหกรรม ดังนั้น ต้องเร่งศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ระบบขนส่งภายในนิคมเกิดความสมดุลกัน" นายชัชชาติ กล่าว

นายชัชชาติ กล่าวต่อถึงการตั้งบริษัทนิติบุคคลเฉพาะกิจ (เอสพีวี) ขึ้นมาระดมทุน เพื่อไปลงทุนในโครงการทวาย ว่า ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด ขณะที่กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการใช้เงิน เบื้องต้นอาจจต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากอัตราการคืนทุนในโครงการดังกล่าวอาจต้องใช้เวลานาน เพราะเบื้องต้นจะมีการคิดอัตราค่าบริการสาธารณูปโภคภายในนิคมในอัตราที่ไม่สูงมากนัก ทั้งนี้ เพื่อดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุน เช่น น้ำประปาอาจใช้เวลาคืนทุน 20 ปี สำหรับการลงทุนสร้างสาธารณูปโภคฝั่งไทยที่จะเชื่อมไปยังนิคมทวายของพม่านั้น

ในส่วนของทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร จะเร่งดำเนินการเนื่องจากเป็นโครงการทีี่มีความสำคัญต่อประเทศไทย ส่วนการสร้างถนนเชื่อมจากมอเตอร์เวย์จากจังหวัดกาญจนบุรีไปยังบ้านบ้านพุน้ำร้อน ระยะทาง 70 กิโลเมตรนั้น ฝ่ายไทยจะต้องรอดูก่อนว่ารัฐบาลพม่าจะมีโครงการสร้างถนนเชื่อมต่อมายังไทย หรือไม่ หากพม่ามีโครงการที่เชื่อมต่อมายังไทยฝ่ายไทยก็จะเร่งดำเนินการต่อไป.

ที่มา -