ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

บิ๊ก ITD "เปรมชัย" เปิดใจ โปรเจ็กต์ทวายตลาดยังไม่วาย

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 10, 13, 06:44:11 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

1 สมาชิก และ 3 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

สัมภาษณ์พิเศษ -  ทั่วโลกกำลังจับตาอภิมหาโปรเจ็กต์ "ท่าเรือน้ำลึกและอุตสาหกรรมทวาย" ของประเทศเมียนมาร์ บนพื้นที่ 204.5 ตารางกิโลเมตร มูลค่าการลงทุนร่วม 3 แสนล้านบาท โดยมียักษ์รับเหมาชั้นแถวหน้าของไทย


"ITD-บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์" รับสัมปทานการลงทุนยาว 75 ปี ภายใต้บริษัทลูก คือ "DDC-บริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด"

ปัจจุบัน แม้โปรเจ็กต์นี้กำลังเดินเครื่องพัฒนาในเฟสแรกมูลค่าการลงทุนกว่า 100,000 ล้านบาท ให้เสร็จทันเดดไลน์ตามที่รัฐบาลเมียนมาร์ประกาศไว้ปี 2558 นี้

แต่ พลันที่ "อิตาเลียนไทย" ยอมลดสัดส่วนการลงทุนโครงการเหลือ 25% เป็นไปตามแนวทางของ "รัฐบาลเพื่อไทย" ที่เข้ามาสวมบทเป็น "โปรโมเตอร์" ออกแรงช่วยทั้งผลักและดันโครงการเพื่อให้เกิดได้โดยเร็ว นำมาสู่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงสถานะของโปรเจ็กต์นี้ รวมทั้งบทบาท "อิตาเลียนไทย" วินาทีสุดท้ายแล้วจะยืนอยู่ตรงไหนของโครงการควบคู่กับกระแสข่าวหนาหูว่า "อิตาเลียนไทย" กำลังจะถูกเขี่ยให้พ้นจากโครงการ ประเมินจากปฏิบัติการถูกลด

บทบาท จาก "ผู้ถือหุ้น" 100% ในโครงการเหลือเป็นแค่ "ผู้รับจ้างก่อสร้าง" สร้างอารมณ์คล้อยตามได้พอสมควร เพราะบังเอิญว่าตลอด 1-2 ปีที่ผ่านมา พิสูจน์ได้ระดับหนึ่งว่าโครงการทวาย

ภายใต้การบริหารของบิ๊กอิตาเลียนไทย...ไม่ดังเปรี้ยงปร้างอย่างที่คิด

"ประชา ชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษ "เปรมชัย กรรณสูต" ประธานบริหาร บริษัทอิตาเลียนไทย ถึงความคืบหน้าของการก่อสร้างทวาย และก้าวย่างต่อไปของโครงการนับจากนี้

- ความคืบหน้าล่าสุด

โครงการ ยังเดินหน้าอยู่ ตอนนี้ดูเรื่องการบริหารจัดการจะเร่งก่อสร้างให้เร็วขึ้น เพราะรัฐบาลพม่าต้องการให้เราเปิดดำเนินการให้เร็วขึ้น 2 ปี หรือในปี 2557 เพื่อรองรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ทำตลาดส่งออก และได้รับการยกเว้นภาษี GSP ซึ่งในเมืองไทยจะมีการยกเลิกสิทธิ์นี้ก็มีการประเมินกันว่าจะมีโรงงานย้าย ฐานการลงทุนมาที่ทวายมากขึ้นตั้งแต่ปีนี้และปีหน้า เช่น อุตสาหกรรมยางพารา อิเล็กทรอนิกส์ เขากำลังหาที่ไปกัน จะไปเวียดนาม เขมร หรือไม่ก็มาพม่า ขึ้นอยู่กับว่าใครพร้อมรองรับได้มากกว่ากัน ตอนนี้รัฐบาลไทยก็สนับสนุนและเราก็เตรียมพร้อมด้านอินฟราสตรักเจอร์ให้เร็ว ขึ้น

- ตามสัญญาเฟสแรกต้องเสร็จปี"58

ใช่...เราก็ยังยืนยัน ตามนั้น แต่ปีนี้งานก่อสร้างเริ่มแล้วในส่วนของพื้นที่อุตสาหกรรมระยะเริ่มต้น พื้นที่ 2 ตารางกิโลเมตร จะให้เสร็จปี 2557 ภายในประกอบด้วยอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก เช่น แปรรูปไม้ อาหาร ยาง และเหมืองแร่ ที่จะย้ายฐานการผลิตเข้ามา

สำหรับระบบสาธารณูปโภคที่จำ เป็นในระยะนี้ ก็จะมีการพัฒนาท่าเรือขนาดเล็กทางด้านใต้ของโครงการซึ่งจะเสร็จปีนี้ นอกจากนี้ จะลงทุนเพิ่มทำถนนลูกรังภายในพื้นที่ และอ่างเก็บน้ำธรรมชาติ

แต่ ว่าการสร้างเฟสแรกจริง ๆ ทั้งโครงการใช้เงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท ประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึกระยะที่ 1 ถนนขนาด 4 ช่องจราจรเชื่อมกับชายแดนไทย อ่างเก็บน้ำ ระบบประปา จะเสร็จสมบูรณ์ปลายปี 2558 ซึ่งยืนยันว่าเสร็จทัน

- การเวนคืนที่ดินเคลียร์ชุมชนหมดหรือยัง

ตอน นี้เคลียร์ได้ประมาณ 40% จากทั้งหมด 4,400 ครอบครัว หรือประมาณกว่า 20,000 คน เรากำลังจ่ายค่าชดเชย ทุกวันนี้ควักเงินจ่ายไปแล้ว 40% ประมาณ 4,000 ล้านบาท เท่ากับเฉพาะเงินเวนคืนที่ต้องจ่ายทั้งหมดตกราว ๆ 1 หมื่นกว่าล้านบาท

- ที่ผ่านมาบริษัทลงทุนไปเท่าไร

น่าจะประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท เราใช้เงินของเราเองลงทุนนำร่องไปแล้ว จากทั้งหมดการลงทุนในเฟสแรกจะใช้เงินกว่า 100,000 ล้านบาท

- เงินลงทุนส่วนที่เหลือจะหามาจากไหน

เรา จะกู้ทางรัฐบาลญี่ปุ่น เช่น ไจก้า (องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น) เพราะดอกเบี้ยจะต่ำกว่าเราซึ่งเป็นเอกชนกู้มาลงทุนเอง รัฐบาลไทยได้เข้ามาช่วยสนับสนุนเพื่อให้เรากู้เงินจากประเทศญี่ปุ่นได้ เพื่อให้โครงการได้เกิดเร็วขึ้นที่สำคัญการที่นายกรัฐมนตรีของไทย (น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ได้เชิญนายกฯญี่ปุ่นมาเยือนประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา ก็เพื่อเข้ามาเป็นผู้ร่วมลงทุนในโครงการด้วย และทางญี่ปุ่นก็ตอบรับแล้วที่จะให้กู้ ขณะนี้อยู่ระหว่างทำรายละเอียดและประเมินมูลค่าการลงทุน

เหตุผลที่ ต้องหาผู้มาร่วมลงทุน เพราะเฟสแรกเป็นเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ใช่โครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์หรือคอมเมอร์เชียล ทำให้การหาแหล่งเงินกู้ในระยะยาวค่อนข้างลำบาก กว่าจะคืนทุนจะใช้เวลานานกว่าปกติ

เพราะฉะนั้น เพื่อให้โครงการเดินหน้าและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ทางรัฐบาลไทยจึงต้องเข้ามาช่วยเหลือหาผู้ร่วมลงทุนให้เรา เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนว่าระบบ สาธารณูปโภคต่าง ๆ มีพร้อมที่จะรองรับการลงทุน

- นักลงทุนญี่ปุ่นจะเข้ามาถือหุ้นด้วย

ใช่ ครับ ทางประเทศญี่ปุ่นจะเข้ามาถือหุ้นด้วย แต่รูปแบบยังไม่สรุป เรารอรัฐบาลสรุปเช่นกันว่าจะช่วยยังไงได้บ้าง ภายในเดือนมีนาคมนี้จะชัดเจน แต่ที่แน่ ๆ ทางญี่ปุ่นจะมาร่วมถือหุ้นด้วยอย่างน้อย 20% ขึ้นไป โดยเป็นบริษัทเอกชนจากประเทศญี่ปุ่นที่มีอุตสาหกรรมสาขาต่าง ๆ คงไม่ใช่แค่รายเดียว น่าจะเป็นหลายรายและหลายกลุ่มอุตสาหกรรมจนถึงตอนนี้ทางญี่ปุ่นก็กำลังทำราย ละเอียดเช่นกัน เราจะลดสัดส่วนถือหุ้นเฟสแรกเหลือ 25% ส่วนที่เหลือรัฐบาลกำลังพิจารณาจะหารายอื่นเข้ามาร่วม ถ้าผมพูดไปก็จะเร็วไปหน่อย

- การลงทุนจะเป็นรูปแบบไหน

ตอนนี้ ที่คุยกันได้ข้อสรุปเบื้องต้นจากรัฐบาล ว่า จะเป็นรูปแบบ SPV, นิติบุคคล หรือบริษัทจัดการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการระดมทุน เป็นรูปแบบบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นจากหลาย ๆ ส่วน ซึ่งอิตาเลียนไทยจะเป็นส่วนหนึ่งในนั้น เรายังมีสิทธิ์ในโครงการแต่การลงทุนจะไม่ใช่เราเจ้าเดียว ปรับเป็นรูปแบบเป็นกลุ่มบริษัทต่าง ๆ เพื่อมาร่วมลงทุนในอินฟราสตรักเจอร์รองรับธุรกิจที่จะเข้ามาลงทุน

ส่วน พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมก็แล้วแต่อุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เข้ามาลงกันเอง ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก น้ำมัน ปิโตรเคมี ล่าสุดมีบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง สนใจจะร่วมลงทุนแล้วสัดส่วน 30% นั่นหมายความว่าในส่วนของพื้นที่นิคมอุตฯ อิตาเลียนไทยจะลดสัดส่วนการถือหุ้นเหลือ 60%

- หน้าที่ของ SPV

ใน เบื้องต้นเมื่อจัดตั้ง SPV แล้ว จะแยกเป็น SPV ของแต่ละโครงการ เช่น ถนน ท่าเรือ โดยมีรัฐบาล 3 รัฐบาล คือ ไทย พม่า และญี่ปุ่น เป็นคณะกรรมการร่วมบริหาร เวลามีปัญหาจะได้ช่วยซัพพอร์ต ส่วน SPV จะมีผู้ถือหุ้นมาดำเนินการ มีหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินคือถนนและท่าเรือที่สร้างเสร็จ พร้อมกับได้สิทธิ์ในการบริหารจัดการ โดยเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในนั้น

ความ คืบหน้ามีการติดตามกันทุกระยะ ในเดือนกุมภาพันธ์นี้รัฐบาลไทยและพม่าจะประชุมร่วมกันที่ประเทศไทยเพื่อ ติดตามความคืบหน้าโครงการและการลงทุนโครงการส่วนที่เหลือ ภายในเดือนมีนาคมน่าจะได้บทสรุปที่ชัดเจนทั้งหมด จากนั้นโครงการน่าจะมีการเดินหน้าอย่างเต็มที่

ที่มา -