ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

หวั่นภัยจีนคุกคาม ปินส์ขอเรือสหรัฐ เสริมป้องน่านน้ำ

เริ่มโดย mrtnews, ม.ค 16, 14, 20:16:38 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

รัฐบาลฟิลิปปินส์อยากได้เรือตรวจการณ์จากสหรัฐเพิ่มอีก 2 ลำ เพื่อเสริมขีดความสามารถในการปกป้องน่านน้ำและรับมือภัยคุกคามจากจีน


เอเอฟพีรายงานคำกล่าวของพลเอกเอมมานูเอล เบาติสตา ประธานคณะเสนาธิการทหารกองทัพบกฟิลิปปินส์ ที่เผยกับสถานีโทรทัศน์เอเอ็นซีเมื่อวันพุธว่า เรือตรวจการณ์ลำใหม่ที่ฟิลิปปินส์ต้องการมาเพิ่มนี้จะอยู่ภายใต้แผนความช่วยเหลือทางทหารครั้งใหม่ที่จอห์น แคร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ประกาศไว้ระหว่างการเยือนฟิลิปปินส์เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว

"ในปีที่แล้ว เราตระหนักได้ว่า มีภัยคุกคามอย่างแท้จริงอยู่ข้างนอกนั่น ในด้านการรักษาความปลอดภัยและปกป้องดินแดน" นายทหารผู้นี้กล่าว พร้อมกับชี้ว่า ในทางหลักการ ฟิลิปปินส์ต้องการเรือฟริเกตเพิ่มอีกประมาณ 6 ลำเพื่อรักษาการณ์ชายฝั่งอันยาวเหยียดของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

"จริงๆ แล้ว ตอนนี้เรากำลังพยายามขอเรือฟริเกตเพิ่มอีก 2 ลำ และหวังว่าจะได้ภายใน 2 ปีข้างหน้า" พลเอกเบาติสตากล่าว

นายทหารฟิลิปปินส์กล่าวด้วยว่า ในฐานะผู้บัญชาการทหาร เขาถือว่า "การตระหนักรู้ถึงอาณาเขตทางทะเล" และการปกป้องอาณาเขตนี้เป็นข้อวิตกที่สำคัญ ส่วนงบประมาณที่จะใช้เสริมการป้องกันทางทะเลนั้น จะมาจากความช่วยเหลือทางทหารมูลค่า 40 ล้านดอลลาร์ที่แคร์รีรับปากไว้เมื่อเดือนที่แล้ว

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์ได้รับมอบเรือฟริเกตจากสหรัฐที่นำมาบูรณะใหม่แล้ว 2 ลำ ปัจจุบันเรือทั้งสองลำปฏิบัติการลาดตระเวนอยู่ในทะเลจีนใต้ เรือลำแรกที่ได้คือบีอาร์พี เกรโกริโอ เดล ปิลาร์ เคยประจันหน้ากับเรือของจีนที่สันดอนสการ์โบโรห์ นอกเกาะลูซอนเมื่อปี 2555 แต่สุดท้ายเรือฟิลิปปินส์ยอมล่าถอยแล้วปล่อยให้จีนได้ควบคุมสันดอนนี้ แม้ต่อมาฟิลิปปินส์จะยื่นฟ้องต่อคณะอนุญาโตตุลาการของสหประชาชาติ แต่จีนไม่ยอมรับ

รัฐบาลฟิลิปปินส์ต้องการความช่วยเหลือจากสหรัฐมากขึ้นในช่วงยามที่ความตึงเครียดกับจีนเพิ่มพูนขึ้นจากข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ช่วงหลายปีมานี้ ฟิลิปปินส์ยังกำลังเจรจากับสหรัฐเพื่อเพิ่มบทบาทของกำลังพลสหรัฐในประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายหันเหสู่เอเชียของรัฐบาลบารัค โอบามา ด้วย

เบาติสตาอ้างด้วยว่า มีเรือประมงของจีนหลายลำอยู่ที่ทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตกขณะที่เขาให้สัมภาษณ์อยู่นี้ แต่เขาปฏิเสธจะระบุว่าเรือของจีนอยู่ในน่านน้ำที่เป็นข้อพิพาทด้วยหรือไม่.

ที่มา -




ฟิลิปปินส์เสริมกองทัพรับภัยคุกคามจากจีน

ฟิลิปปินส์เผยต้องการเรือรบจากสหรัฐ อีก 2 ลำ เพื่อนำมาเสริมเขี้ยวเล็บในการปกป้องเขตแดนทางทะเลท่ามกลางการถูกคุกคามจากจีน


เสนาธิการทหารของกองทัพฟิลิปปินส์ "พลเอกเอ็ดมันด์ เบาติสต้า" เปิดเผยว่า ฟิลิปปินส์ต้องการเรือรบจากสหรัฐ อีก 2 ลำ เพื่อนำมาเสริมเขี้ยวเล็บในการปกป้องเขตแดนทางทะเล ท่ามกลางการถูกคุกคามจากจีน

การขอเรือรบของฟิลิปปินส์อยู่ภายใต้ความช่วยเหลือล่าสุดของกองทัพสหรัฐที่ประกาศโดยนายจอห์น เคอร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศ ในช่วงที่เขาไปเยือนฟิลิปปินส์เมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากที่ฟิลิปปินส์เล็งเห็นว่า เมื่อเดือนที่แล้ว มีภัยคุกคามอย่างแท้จริงในเงื่อนไขด้านความมั่นคง ทำให้ฟิลิปปินส์จำเป็นต้องปกป้องดินแดน

เสนาธิการทหารฟิลิปปินส์ บอกด้วยว่า ตามความคิดของเขา ยังจำเป็นต้องมีเรือฟรีเกตอีก 6 ลำเพื่้อรักษาความปลอดภัยบริเวณชายฝั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ตอนนี้ ต้องการ 2 ลำ ตามความจำเป็นเร่วด่วน และหวังว่าจะได้รับมอบภายใน 2 ปี ส่วนเรื่องงบประมาณที่จะใช้ในการปกป้องน่านน้ำอาจจะมาจากความช่วยเหลือมูลค่า 40 ล้านดอลลาร์ ตามที่นายเคอร์รี่รับปากไว้เมื่อเดือนธันวาคม

ฟิลิปปินส์ ได้รับเรือฟรีเกต 2 ลำ ที่ผ่านการปรับปรุงมาจากสหรัฐก่อนหน้านี้แล้ว 2 ลำ เมื่อ 2 ปีก่อน และตอนนี้ถูกใช้ในการลาดตระเวณในทะเลจีนใต้

ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ซึ่งได้ชื่อว่า เป็นพันธมิตรทางทหารอย่างยาวนานของสหรัฐ กำลังมีข้อพิพาทกับจีนเรื่องแนวประการังและหมู่เกาะในบริเวณที่ฟิลิปปินส์ เรียกว่า ทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตก และเมื่อปี 2555 เรือบีอาร์พี เกรกอริโอ เดล พิลาร์ ซึ่งเป็นเรือฟรีเกตลำแรกที่ได้จากสหรัฐ ได้เผชิญหน้ากับเรือจีนที่บริเวณหมู่เกาะปะการัง สการ์บอรอฟ โชล ที่อยู่ไม่ไกลจากเกาะลูซอน ซึ่งเป็นเกาะหลักของฟิลิปปินส์ และจีนได้เข้าไปสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ที่ฟิลิปปินส์พยายามเรียกร้องให้สหประชาชาติเข้าไปแก้ไขข้อพิพาทนี้ แต่จีนปฏิเสธ

ปัจจุบัน ฟิลิปปินส์พยายามขอความช่วยเหลือจากสหรัฐมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีการเจรจาที่ทำให้ทหารอเมริกัน เข้าไปประจำการในฟิลิปปินส์ ภายใต้แผนการเข้าไปแย่งอิทธิพลในเอเชียจากจีน

ที่มา -