ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ปตท. ปรับโครงสร้างธุรกิจพื้นฐาน รุกธุรกิจท่อก๊าซอาเซียนตั้งเป้ายอดขาย 4 แสนล้าน

เริ่มโดย mrtnews, มี.ค 17, 14, 22:59:27 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

บอร์ด ปตท.ไฟเขียวตั้งกลุ่มธุรกิจโครงสร้างบริษัทพื้นฐานรองรับการขยายตัว มุ่งรับงานวางท่อก๊าซฯในอาเซียน พร้อมปรับแผนลงทุนช่วงกลางปี เล็งสถานการณ์การเมืองก่อนพิจารณา


นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า คณะกรรมการ ปตท.(บอร์ด) ได้อนุมัติการปรับโครงสร้างบริษัทเพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจ ด้วยการแยกทรัพย์สินที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานออกจาก 2 กลุ่มธุรกิจเดิม คือ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย แล้วตั้งเป็นกลุ่มธุรกิจโครงการสร้างพื้นฐานและแต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (COO) ใหม่ขึ้นมาบริหาร รวมถึงตั้งหน่วยธุรกิจไฟฟ้าขึ้นมาใหม่ โดยมีบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (GPSC) เป็นแกนหลัก

ทั้งนี้ ทรัพย์สินที่ ปตท.จะแยกเข้ามาอยู่ในกลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานในปีนี้ คือ ธุรกิจก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ท่อก๊าซธรรมชาติ, หน่วยธุรกิจไฟฟ้า และหน่วย Operation Excellent ที่มีบริษัทที่ปรึกษาและบริษัทบำรุงรักษาที่ให้บริการแก่หลายบริษัทในกลุ่ม ปตท. จากนั้นจะพิจารณาแยกทรัพย์สินอื่น ๆ เช่น บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ โลจิสติกส์ จำกัด (PTTPL) ที่ทำธุรกิจด้านโลจิสติกส์ให้ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกในกลุ่ม ปตท. คลังน้ำมันและท่าเรือ ขณะที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติยังอยู่ภายใต้กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ เพราะช่วยเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้แก่ก๊าซ รวมถึงจะมีการแยกบัญชีของกลุ่มธุรกิจนี้ เพราะ ปตท.ต้องการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการจัดทำแผนแยกกิจการ ขณะเดียวกัน วางแผนให้กลุ่มธุรกิจนี้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างท่อก๊าซฯให้กับกลุ่ม ปตท. และบริษัทไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน

ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างใหม่จะช่วยรองรับการขยายตัวทางธุรกิจของ ปตท.ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นจาก 300,000 ล้านบาท เมื่อเริ่มจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาที่เพิ่มเป็น 3 ล้านล้านบาทในปี 2556 และจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก หากไม่ปรับจะเท่ากับว่าผู้บริหารแต่ละคนต้องรับผิดชอบยอดขายประมาณ 300,000-400,000 ล้านบาท ซึ่งมองว่าหนักเกินไปอาจจะกระทบต่อประสิทธิภาพการบริหาร

ขณะเดียวกัน ในหน่วยธุรกิจ เช่น หน่วยธุรกิจน้ำมันจะต้องรับผิดชอบสายงานที่ยาวตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงค้าปลีก หรือต้องรับผิดชอบการจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว (LPG) ให้กับคนไทย ขณะที่ต้องดูแลการขยายสถานีบริการไปต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่แตกต่างกันมาก

ดังนั้น การปรับโครงสร้างบริษัทใหม่จึงจะทำให้รูปแบบการดำเนินธุรกิจมีความเหมาะสมมากขึ้น ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น และกลุ่มธุรกิจเดิมมีภาระลดลงจึงสามารถจะทำธุรกิจได้หลากหลายขึ้น

"ถ้าโครงสร้างพื้นฐานอยู่รวมกันจะเป็น Cost Center แต่ถ้าแยกออกไปเป็นกลุ่มธุรกิจใหม่แล้วไปรับจ้างวางท่อให้กับผู้ประกอบการรายอื่นตามที่ ปตท.มีความเชี่ยวชาญ Cost Center ก็จะกลายเป็น Profit Center เพราะเขาก็จะมีงบดุลของตัวเองจึงต้องออกไปทำธุรกิจให้ได้กำไร" นายไพรินทร์กล่าว


นายไพรินทร์กล่าวเพิ่มเติมว่า ปตท.จะทบทวนแผนลงทุน 5 ปีในช่วงกลางปีนี้ โดยจะนำปัจจัยทางการเมืองและเศรษฐกิจภายในประเทศมาพิจารณา รวมทั้งมีการปรับลดต้นทุนการดำเนินการแต่ละแผนธุรกิจระยะยาว เช่น การก่อสร้างท่อก๊าซฯบนบกเส้นนครสวรรค์และนครราชสีมา จะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแผนนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ตามมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) รวมทั้งอยู่ในระหว่างพิจารณาว่าจะดำเนินธุรกิจปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศอินโดนีเซียด้วย

สำหรับยอดขายของ ปตท.ในปี 2557 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย เพราะสถานการณ์ทางการเมือง และปริมาณการบริโภคพลังงานภายในประเทศลดลง โดยยอดขายน้ำมันกลุ่มเบนซินในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ลดลง ส่วนยอดขายน้ำมันดีเซลคงที่ ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่ายอดขายก๊าซธรรมชาติลดลงหรือไม่ เพราะในปีนี้มีสภาพอากาศหนาวเย็นกว่าปกติส่งผลให้ยอดใช้ไฟลดลง

เมื่อความต้องการใช้ไฟลดลง อาจส่งผลให้ปริมาณก๊าซที่จะต้องส่งป้อนให้กับโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลดลง ก็จะเป็นตัวสะท้อนสภาพเศรษฐกิจไทยได้เป็นอย่างดี และการนำเข้า LNG อาจจะต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 3 ล้านตัน

ที่มา -