ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

สหรัฐส่งอุปกรณ์ไฮเทค 'โดรนใต้ทะเล' ภารกิจค้นหากล่องดำ 'เอ็มเอช370'

เริ่มโดย mrtnews, เม.ย 03, 14, 23:06:17 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

1 สัปดาห์เต็ม ที่ "ราจิบ ราซัค" นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ประกาศการสิ้นสภาพของเครื่องบิน "เอ็มเอช 370" แม้ยังไม่พบชิ้นส่วนชิ้นแรกของเครื่องบินลำนี้ แต่ทีมปฏิบัติการค้นหาจาก 6 ประเทศ ร่วมส่งนักบินและบุคลากรที่ทำงานบนอากาศ 100 ชีวิต และบนน่านน้ำทะเลอีก 1,000 ชีวิต ยังคงดินหน้าค้นหาต่อไป ในพิกัดบริเวณทะเลฝั่งตะวันตก ห่างจากเมืองเพิร์ธ 2,060 กิโลเมตร


ท่ามกลางปริศนาการหายไปของเที่ยวบิน เอ็มเอช 370 ประเทศไทย ถูกตั้งข้อสงสัยถึงความล่าช้าในการเปิดเผยข้อมูลเส้นทางการบินที่ผิดปกติ หลังจาก "กองทัพไทย" จับสัญญาณเรดาร์ได้ว่า เที่ยวบินเอ็มเอช 370 ได้บินเข้ามาใกล้น่านน้ำไทย และบินวกกลับไปในช่องแคบมะละกา  กลายเป็นประเด็นที่สื่อต่างประเทศช่องหนึ่ง หยิบยกไปโจมตีไทยอย่างรุนแรง

"เทพชัย หย่อง" บรรณาธิการเครือเนชั่น ถามข้อสงสัยนี้กับ "พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" ผู้บัญชาการทหารอากาศ ชี้แจงว่า กองทัพไทยจะให้ความสำคัญในการบิน 2 ระดับ คือจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับการบินของทหาร และการบินที่เป็นภัยคุกคามเป็นอันดับแรก รองมาจะเป็นสายการบินพาณิชย์ ที่อยู่ในน่านฟ้าของไทย สำหรับประเภท 1 เครื่องบินทางทหารที่อาจเป็นภัยคุกคาม กองทัพไทยจะดูเลยจากพื้นที่ชายแดนไทยไป 100 ไมล์ แต่ถ้าเป็นเครื่องบินพาณิชย์ จะดูเฉพาะน่านฟ้าไทย ทั้งนี้ สายการบินพาณิชย์จะอยู่ภายใต้การดูแลของหอบังคับการบินของแต่ละประเทศอยู่แล้ว กองทัพจึงมอนิเตอร์เป็นครั้งคราวเท่านั้น

"ส่วนเครื่องบินของมาเลเซียที่บินจากกัวลาลัมเปอร์ ผ่านอ่าวไทย แล้วขึ้นไปเวียดนาม ปักกิ่ง ซึ่งอยู่นอกพื้นที่รับผิดชอบทางการทหารของไทย จึงไม่ได้รับผิดชอบการตรวจ และเครื่องบินลำดังกล่าวอยู่ห่างเกิน 50 ไมล์จากน่านฟ้าไทย และทิศทางไม่ได้เป็นภัยคุกคามต่อประเทศไทย ในแง่ของความมั่นคง เราไม่มีหน้าที่ไปมอนิเตอร์ตั้งแต่แรก ซึ่งลักษณะการบินช่วงแรกเป็นไปตามรูทปกติ..." พล.อ.อ.ประจิน ตอบข้อสงสัย

ย้อนกลับมาที่ปฏิบัติการค้นหาเที่ยวบินเอ็มเอช 370 ในวันที่ 25 เหลืออีกเพียง 5 วันเท่านั้น หากยังไม่พบ "กล่องดำ" ความหวังจะยิ่งริบหรี่ การค้นหาจะยิ่งยากลำบาก เนื่องจากกล่องดำสำรองแบตเตอรี่ได้เพียง 30 วัน

"อเมริกา" จึงส่งอุปกรณ์ไฮเทค 2 ชิ้น มาให้ทีมงานค้นหา นั่นคือ "บลูฟินโดรน" หรือ "โดรนใต้ทะเล" และ "ทีพีแอล" (TPL: Towed Pinger Locator) โดยการทำงานของอุปกรณ์ไฮเทค 2 ชิ้นนี้ จะนำขึ้นเรือค้นหาของออสเตรเลีย เพื่อนำไปสำรวจใต้ท้องทะเลบริเวณพิกัดที่มีการตรวจพบวัตถุต้องสงสัย ซึ่งคาดว่าจะเป็นชิ้นส่วนของเครื่องบิน "เอ็มเอช 370"

โดย "บลูฟินโดรน" น้ำหนักราว 750 กิโลกรัม จะถูกหย่อนลงสู่ก้นทะเลลึก บังคับควบคุมโดยรีโมทคอนโทรลจากบนเรือ สามารถปฏิบัติการค้นหาได้ 25 ชั่วโมง แล้วต้องนำขึ้นมาชาร์จแบตเตอรี่ใหม่ ส่วน "ทีพีแอล" น้ำหนัก 30 กิโลกรัม ไม่ใช้แบตเตอรี่ แต่จะใช้สายเคเบิลลากจากเรือ

พื้นที่การค้นหาของอุปกรณ์ 2 ชิ้นนี้ "บลูฟินโดรม" มีรัศมีการค้นหาลึกจากระดับน้ำทะเล 4 กิโลเมตร ส่วน "ทีพีแอล" จะค้นหาได้ลึกถึง 6 กิโลเมตร ทั้งนี้ มีการคาดคะเนว่าส่วนที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรอินเดียทางตอนใต้ น่าจะลึกราวๆ 5 กิโลเมตร

ปฏิบัติการค้นหาของอุปกรณ์ใต้ไฮเทค 2 ชิ้นนี้ เริ่มจากทีมงานตีกรอบพื้นที่การค้นหาแบ่งเป็นโซนๆ ค้นหาแบบเป็นรูปตัวยู(U) โดยใช้สัญญาณโซนาร์ตรวจจับวัตถุต้องสงสัย แล้วบันทึกภาพ 3 มิติ ส่งกลับมาจากห้องควบคุมบนเรือ เพื่อตรวจสอบ ทั้งนี้ อุปกรณ์ทั้ง 2 ชิ้นนี้ เป็นเครื่องมือสำหรับค้นหาโบราณวัตถุใต้ท้องทะเลของนักโบราณคดี แต่นำมาดัดแปลงใช้ในกรณีค้นหาเที่ยวบินเอ็มเอช 370

ถ้าหากอุปกรณ์ไฮเทคนี้ ตรวจพบ "กล่องดำ" ก็ยังไม่สามารถเก็บกู้ได้ทันที แต่จะติดต่อไปที่ศูนย์ควบคุมบนเรือ หากยืนยันว่าเป็นกล่องดำจริง จึงส่งหุ่นยนต์โดรน พร้อมตะกร้าลงมา เนื่องจากระยะความลึกของทะเลระดับ 5 กิโลเมตร หุ่นยนต์ไม่สามารถหยิบเอาขึ้นมาถึงผิวน้ำได้ จึงต้องนำตะกร้าไปใส่ด้วย

สำหรับ "กล่องดำ" จะมีอยู่ 2 กล่อง คือ กล่องดำเก็บข้อมูล และกล่องดำเก็บเสียง ถ้าหากพบกล่องดำ ความจริงทุกอย่างจะปรากฏ แต่มันไม่ง่ายแบบนั้น ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า กล่องดำเก็บข้อมูลเสียงในห้องกัปตันนั้น จะบันทึกไว้เพียง 2 ชั่วโมงสุดท้ายเท่านั้น ก็จะบันทึกทับของเดิมๆ ไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ ช่วงเวลาที่เครื่องบินเกิดอุบัติเหตุ มักจะเกิดตอนนำเครื่องขึ้น และเครื่องลงจอด เวลา 2 ชั่วโมงจึงน่าจะเพียงพอในการบันทึกข้อมูล แต่ส่วนข้อมูลเครื่องบิน จะบันทึกทุกอย่างเกี่ยวกับระบบการทำงานของเครื่องบินทั้งหมดในรูปของตัวเลขดิจิทัล

นับถอยหลัง 5 วัน...ลุ้นระทึกภารกิจค้นหากล่องดำกับความหวังสุดท้ายที่รอการคลี่คลาย หรือ "เที่ยวบินเอ็มเอช 370" จะยังเป็นปริศนาต่อไป ?!!


รู้จัก..โดรนใต้ทะเล

"ยานใต้น้ำไร้คนขับ" หรือ "โดรนใต้ทะเล" ถูกออกแบบโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรัทเกอร์ มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ ของสหรัฐ ซึ่งมีลักษณะคล้ายตอร์ปิโดมีความยาว 2.2 เมตร สามารถขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากแรงลอยตัว มีความเร็วสูงสุด 35 กิโลเมตรต่อวัน นำทางด้วยระบบเซ็นเซอร์และจีพีเอส

โดรนใต้นํ้าชนิดนี้ จะถูกใช้ในภารกิจเก็บข้อมูลใต้ท้องทะเล หรือการทำแผนที่ใต้ท้องทะเลลึกที่มนุษย์ไม่สามารถดำนํ้าสำรวจได้ โดยข้อมูลที่บันทึกจะถูกส่งผ่านดาวเทียมเมื่อโดรนลอยขึ้นสู่ผิวนํ้า

เมื่อสัปดาห์ก่อน "อเมริกา" ตัดสินใจส่ง "โดรนใต้ทะเล" ไปยังออสเตรเลีย พร้อมอุปกรณ์แบบใช้เรือลากจูงเพื่อใช้ค้นหาตำแหน่งของเครื่องส่งสัญญาณ ในปฏิบัติการค้นหาเครื่องบิน "เอ็มเอช 370"  โดยอุปกรณ์ไฮเทคนี้ ติดโซนาร์ซึ่งมีความไวสูงในการตรวจจับสัญญาณบอกตำแหน่งที่ส่งออกมาจากกล่องดำของเครื่องบิน

ทั้งนี้ กองทัพสหรัฐเคยให้ฝรั่งเศสยืมอุปกรณ์ดังกล่าวค้นหาตำแหน่งเครื่องส่งสัญญาณนี้ เพื่อค้นหากล่องดำของเครื่องบินสายการบินแอร์ฟรานซ์ที่ตกลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกในเดือนมิถุนายน 2552 หากอุปกรณ์ชิ้นนี้ ค้นพบซากครื่องบินของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์แล้ว คาดว่าเรือสินค้าออสเตรเลียจะทำหน้าที่เป็นผู้ลากจูงกลับมา อย่างไรก็ตาม "เพนตากอน" ย้ำว่า อุปกรณ์ไฮเทคทั้ง 2 ชิ้นนี้ เพื่อช่วยให้การค้นหาถูกจำกัดให้แคบลงมาเท่านั้น

ที่มา -