ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

ปตท. ทุ่ม 2 หมื่น ล.ขยายท่าเรือ LNG2 "แดวู-ไอเอชไอ" ซิวก่อสร้างถังเก็บก๊าซ

เริ่มโดย mrtnews, เม.ย 05, 14, 19:44:58 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ปตท.เทงบฯ 20,000 ล. ขยายท่าเรือ LNG เฟส 2 ได้ "แดวู-ไอเอชไอ" เป็นผู้รับเหมา คาดก่อสร้างเสร็จปี"60 ขยายศักยภาพท่าเรือเพิ่มเป็น 10 ล้านตัน แถมแพลนจัดหาพลังงานเพิ่ม รองรับก๊าซในอ่าวไทย


นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ในงาน GASTECH 2014 ที่เมืองโกยาง ประเทศเกาหลีใต้ ถึงความคืบหน้าในแผนขยายท่าเรือ-คลังก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Receiving Terminal) ระยะที่ 2 รองรับนำเข้าได้ถึง 10 ล้านตัน จากปัจจุบันที่รองรับได้ 5 ล้านตัน

ล่าสุดได้ผู้รับเหมาก่อสร้างแล้ว คือ บริษัทแดวู เอ็นจิเนียริ่ง และบริษัทไอเอชไอ เพื่อก่อสร้างหน่วยเก็บก๊าซ LNG มูลค่า 20,000 ล้านบาท ที่คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2560 เพื่อนำเข้าก๊าซ LNG มารองรับความต้องการใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าใหม่

ทั้งนี้ คาดว่าในปีนี้จะมีการนำเข้าก๊าซ LNG อยู่ที่ 1.4-2 ล้านตัน ส่วนในปี 2556 ที่ผ่านมาจากเดิมที่วางเป้าหมายว่าจะมีการนำเข้าประมาณ 2 ล้านตัน/ปี แต่มีการนำเข้าจริงประมาณ 1.4 ล้านตันเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นว่าราคาก๊าซ LNG ในอนาคตจะลดลงได้เนื่องจากว่ามีแหล่งก๊าซ LNG ในแหล่งใหม่เพิ่มมากขึ้น เช่น ในอเมริกาเหนือ และในแอฟริกา เป็นต้น

นอกจากนี้ กลุ่มประเทศในเอเชียที่ถือเป็นผู้นำเข้าก๊าซ LNG รายใหญ่ คือ เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน และจีน จะร่วมตัวกันเพื่อต่อรองราคากับประเทศผู้จำหน่ายก๊าซ LNG เพื่อให้จำหน่ายในราคาที่ไม่สูงเกินไป และเป็นไปตามต้นทุนจริง

"ราคา LNG ในเอเชียปัจจุบันอ้างอิงราคาญี่ปุ่น ซึ่งแพงกว่าราคาของสหรัฐอเมริกาถึง 3 เท่าตัว ฉะนั้น เพื่อให้ราคาสะท้อนต้นทุนจริง ประเทศในเอเชียจึงต้องการเพิ่มอำนาจต่อรองมากขึ้น"

นายไพรินทร์กล่าวเพิ่มเติมถึงการนำเข้าก๊าซ LNG แบบสัญญาระยะยาว 20 ปี จากประเทศกาตาร์ปริมาณ 2 ล้านตัน ที่ได้ลงนามสัญญาซื้อไปก่อนหน้านี้ จะเริ่มนำเข้ามาลอตแรกในปี 2558 นี้แล้ว

ด้านนายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้น และก๊าซธรรมชาติกล่าวว่า ปตท.ในฐานะผู้จัดหาพลังงานเพื่อความมั่นคงของประเทศ ได้เตรียมพร้อมในกรณีที่ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่อาจจะมีรองรับการใช้ได้ไม่เกิน 12 ปี

และในกรณีที่การเจรจาความร่วมมือในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ และอาจจะกระทบต่อโรงงานปิโตรเคมีในเครือ ปตท.ว่า โดยวาง 2 แนวทางรองรับ คือ 1) นำวัตถุดิบอื่น ๆ นำเข้ามาใช้ทดแทน 2) ขณะนี้ให้บริษัท ปตท.โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเข้าแนฟทา (แนฟทา แครกเกอร์) เข้ามาใช้ จากปัจจุบันที่โรงงานปิโตรเคมีส่วนใหญ่จะใช้วัตถุดิบจากสายโอเลฟินส์

คาดว่าการศึกษาดังกล่าวน่าจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้หากต้องนำเข้าแนฟทาแครกเกอร์จริงอาจจะต้องปิดโรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้วสร้างโรงงานใหม่เพื่อรองรับการใช้แนฟทา แครกเกอร์

นอกจากนี้ ยังต้องรอความชัดเจนจากภาครัฐด้วยว่าจะลดการใช้ก๊าซจากอ่าวไทยเพื่อยืดเวลาการหมดหรือไม่ก่อนด้วย

"ทั้งนี้ ปตท.คาดว่าภายในปี 2568 ความต้องการใช้ก๊าซในประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็น 6,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน จากปัจจุบันที่มีการใช้อยู่ 4,800 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ซึ่งในปริมาณการใช้ดังกล่าวจะเป็นสัดส่วนจากก๊าซ LNG ประมาณร้อยละ 55 จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 3 หรือคิดเป็นปริมาณ 18-19 ล้านตัน/ปี ซึ่งการใช้ที่เพิ่มขึ้นในระดับนี้จะต้องขยายท่าเรือรับส่งก๊าซ LNG ในเฟส 3 เพิ่มเติม"


เปิดแผนจัดหาก๊าซ

นายชาครีย์ บูรณกานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยแผนจัดการจัดหาก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับในอนาคตว่า เมื่อแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ของประเทศ หรือ PDP (Power Development Plan) ฉบับล่าสุดระบุว่า ต้องมีโรงไฟฟ้าใหม่ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนที่ชัดเจนอย่างไร

จากนั้น ปตท.จะมากำหนดแผนในการจัดหาให้สอดคล้อง โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่ได้ก่อสร้างท่าเรือรับ-ส่ง (LNG Receiving Terminal) แล้วเสร็จในปี 2555

ที่ผ่านมามีการนำเข้าก๊าซ LNG ในช่วงเริ่มต้น (ตลาดจร) 500,000 ตัน และปัจจุบันนำเข้าที่ 1.4 ล้านตัน

และยังมีสัญญาซื้อขาย LNG ระยะยาวกับประเทศกาตาร์ ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก ที่จะนำเข้ามาลอตแรกในปี 2558 สัญญาซื้อขาย 20 ปี รวม 2 ล้านตัน

โดย ปตท.พยายามรักษาสมดุลระหว่างตลาดจรและการทำสัญญาซื้อแบบระยะยาว เพื่อให้ได้ราคาก๊าซ LNG ที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาค่าไฟฟ้าของประชาชนมากนัก

รายงานเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ปตท.ยังเตรียมที่จะซื้อขายก๊าซ LNG กับเจ้าของแหล่งสัมปทานโรวูมา (Rovuma offshore Area 1) ในสาธารณรัฐโมซัมบิก โดยเป็นแหล่งที่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จะถือหุ้นผ่านบริษัทโคฟ เอ็นเนอร์ยี่ (Cove Energy Plc.) ในปริมาณ 2.6 ล้านตัน

โครงการดังกล่าวจะเริ่มพัฒนาและผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2562 มีกำลังผลิตรวม 10 ล้านตัน/ปี จาก 2 โรงงาน โรงงานละ 5 ล้านตัน ส่วนกำลังผลิต LNG ที่เหลือจะถูกส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นและอินเดีย เฉพาะ LNG ส่วนที่นำเข้ามาในประเทศไทยนั้นจะถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก

ที่มา -