ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

เวิลด์วาไรตี้ : มหาสมุทรสุดหยั่งกับขยะ อีกบทเรียนเอ็มเอช 370

เริ่มโดย mrtnews, เม.ย 05, 14, 19:48:08 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นวัตถุลอยน้ำมากมายหลายร้อยชิ้น ในมหาสมุทรอินเดีย บวกกับเทคโนโลยีดาวเทียมสื่อสารที่ใช้คำนวณเส้นทางเที่ยวบินล่องหนเอ็มเอช 370 จุดความหวังวูบหนึ่งว่าจะพบชิ้นส่วนเครื่องบินโบอิ้งของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ ราวปลายสัปดาห์ที่สองของการค้นหา แต่เมื่อเวลาล่วงเลยต่อมาอีกเกือบสองสัปดาห์ ก็ยังไม่พบหลักฐานจับต้องได้ เพื่อนำมาใช้ยืนยันชะตากรรมเที่ยวบินนี้


ยิ่งชวนสงสัยว่าเครื่องบินลำมหึมาจะดิ่งลงทะเลโดยไม่มีอะไรลอยขึ้นมาให้เห็นบ้างเลยหรือ นอกจากขยะ

แต่สำหรับผู้คร่ำหวอดในการศึกษามหาสมุทรแล้ว ไม่รู้สึกแปลกใจ ที่ทีมค้นหาและกู้ภัยมองไกลๆ เห็นวัตถุลอยน้ำหลายอย่าง แต่บอกไม่ได้ว่าคืออะไร ขณะผู้ศึกษาขยะทะเลบางท่านเรียกสิ่งเหล่านั้นง่ายๆ ว่า ซากอารยธรรมมนุษย์ดีๆ นี่เอง และถึงแม้เครื่องบินมีขนาดใหญ่ แต่อย่าได้อาจเทียบกับมหาสมุทรที่ครอบครองพื้นผิวโลก 71% และ 97% ของสิ่งมีชีวิตบนหรือในพื้นน้ำนี้ ก็มีมนุษย์ไปวนเวียนและเรียนรู้รวมอยู่ด้วยไม่กี่ล้านคน อาทิ ชาวเรือพาณิชย์ ชาวประมง ผู้โดยสารเรือสำราญ กลาสีกองเรือทั่วโลก คนงานขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง นักวิจัยและชนเผ่าเร่ร่อนในทะเล

เดวิด เฮลวาร์ก ผู้อำนวยการบลู ฟรอนเทียร์ กลุ่มนโยบายและอนุรักษ์ทางทะเล เขียนบทความลงลอสแองเจลิส ไทม์สว่า เหตุผลหนึ่งที่เราไม่ได้เคยล่าอาณาทะเลนิคม ดังจินตนาการนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์บางคน ก็เพราะทะเลบ้าคลั่งและเดายากเกินต้านทาน แม้แต่มนุษย์อวกาศที่ต้องหลีกเลี่ยงขยะอวกาศและดาวเคราะห์น้อยเนืองๆ ว่าเสี่ยงมากแล้วก็ตาม


เฮลวาร์กชี้ว่า โอกาสในการค้นหาอาจสูงกว่านี้ หากมีการลงทุนสำรวจและทุ่มวิจัย หรือติดตั้งเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการค้นหาใต้ทะเลมากกว่าที่เป็นอยู่ ที่ผ่านมา มีมนุษย์นับร้อยคนเดินทางไปตะลุยอวกาศ แต่มีมนุษย์แค่ 3 คนบนโลกเท่านั้นที่ลงทุนลงไปยังจุดต่ำสุดของเปลือกโลก 11.2 กิโลเมตร ในบริเวณที่เรียกว่า มาเรียนา เทรนช์ หรือร่องลึกก้นมหาสมุทรมาเรียนา โดยคนล่าสุดก็คือวิศวกรและผู้สร้างภาพพยนตร์ออสการ์นามว่า เจมส์ คาเมรอน ที่ออกทุนเองสำหรับภารกิจในปี 2555

องค์การบริหารอวกาศและการบินสหรัฐ(นาซา) ขนาดไม่ได้อยู่ในยุครุ่งเรืองเหมือนก่อนแล้ว แต่ยังได้งบใช้จ่ายสำรวจอวกาศ มากกว่าการสำรวจมหาสมุทรขององค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศสหรัฐ(โนอา) ราว 1,000 ต่อ 1

เฮลวาร์ก หวังว่าไม่ว่าเที่ยวบินเอ็มเอช 370 จะคลี่ปมอย่างไร บทเรียนที่ควรถอดออกมาคือการลงทุนเพื่อสำรวจและทำความเข้าใจดินแดนนี้มากขึ้น ทะเลยังกว้างใหญ่ดังที่เป็น แต่ความสามารถของมนุษย์ในการปฏิบัติตนอย่างฉลาดเพื่อผลประโยชน์ของตนเองยังจำกัดอยู่มากในความเห็นของนักอนุรักษ์ท่านนี้ ที่ย้ำว่ายังต้องศึกษาทะเลอีกมากในฐานะที่เป็นความท้าทายด้านอาหาร ความปลอดภัยและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับประเทศอื่น สถาบันต่างๆในสหรัฐและยุโรป ทำการสำรวจมหาสมุทรของโลกมากที่สุด รวมถึงการติดตามขยะในทะเล สัตว์น้ำและการจัดทำแผนที่ใต้ทะเล เพียงแต่การศึกษามุ่งน่านน้ำใกล้แอตแลนติกและแปซิฟิกมากกว่า ดังนั้น ข้อมูลการพบเห็นเศษซากหักพังในมหาสมุทรส่วนมากที่หน่วยงานในสหรัฐมี ไม่ได้มาจากมหาสมุทรอินเดีย อีกทั้งบริเวณที่คาดว่าเครื่องบินหายไปทางตะวันตกของออสเตรเลียนั้น เป็นจุดที่ยังรู้จักน้อยมาก

สำหรับเรื่องของปริมาณขยะในทะเลนั้น ยากจะหาข้อมูลชัดเจน แต่ผลศึกษาโครงการทำความสะอาดชายฝั่งหลายชิ้นบ่งชี้ว่า อะไรๆ ที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร มาจากบนบกถึง 4 ใน 5


ของชิ้นใหญ่ๆ ที่พบในทะเล อาจเป็นที่นอน ดาดฟ้าเรือ ลัง คอนเทนเนอร์ และแหอวนจับปลาพันกันยุ่งเป็นแพขนาดใหญ่ ทุ่นลอย และอุปกรณ์เครื่องมือนานาชนิด หรือแม้แต่เรือประมงผี ลำขนาด 30-50 ฟุตก็มี

ชาร์ลส มัวร์ ผู้ศึกษาเรื่องขยะทะเล สถาบันวิจัยทางทะเล ในแคลิฟอร์เนีย ประเมินว่า ปัจจุบัน มีเศษซากหักพังเป็นมลพิษทางทะเลราว 200 ล้านตัน แถมเพิ่มขึ้นอีกราว 15 ล้านตันในแต่ละปี นอกจากนี้ขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้จากคลื่นสึนามิปี 2547 ในอินโดนีเซีย อาจยังลอยเคว้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดียก็เป็นได้

"การหาชิ้นส่วนเครื่องบินไม่น่าเปรียบกับการมองหาเข็มในมหาสมุทร แต่เป็นการมองหาเข็มในโรงงานเข็มมากกว่า" นักอนุรักษ์อาวุโสท่านหนึ่งกล่าวไว้

ที่มา -