ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

“จีน-ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ” ลงนามข้อตกลงการเดินเรือ “ลดการเผชิญหน้าทางทะเล”

เริ่มโดย mrtnews, เม.ย 23, 14, 20:40:10 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เอเอฟพี – จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และอีกกว่า 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกร่วมลงนามข้อตกลงการเดินเรือ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้การสื่อสารที่ผิดพลาดระหว่างเรือของชาติต่างๆ ลุกลามจนนำไปสู่การเผชิญหน้ากลางทะเล

       
ระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการเผชิญหน้าอย่างไม่คาดฝันในทะเล (The Code for Unplanned Encounters at Sea) ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากผู้แทนกองทัพเรือกว่า 20 ประเทศในการประชุมที่เมืองชิงเต่าของจีนเมื่อวานนี้(22) จะช่วยลดโอกาสเกิด " เหตุการปะทะในเส้นทางเดินเรือที่คับคั่ง อันมีสาเหตุมาจากความเข้าใจผิด" หนังสือพิมพ์ไชนาเดลี รายงาน
       
ปัญหาเขตแดนระหว่างจีนกับเพื่อนบ้านในทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออกทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันอยู่เนืองๆ และบางครั้งถึงขั้นมีการส่งเครื่องบินรบขึ้นไปป้องปรามกัน แต่เท่าที่ผ่านมายังไม่เคยมีการปะทะเกิดขึ้นอย่างเปิดเผย
       
เดือนธันวาคมปีที่แล้ว เรือลาดตระเวน ยูเอสเอส คาวเพนส์ (Cowpens) ติดตั้งขีปนาวุธนำวิถีของสหรัฐฯ ต้องหักหลบอย่างกะทันหัน เพื่อหลีกเลี่ยงการชนเข้ากับเรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิงของจีนในน่านน้ำสากล
       
แกรี ลี นักวิเคราะห์จากบริษัทที่ปรึกษาไอเอชเอส เอ่ยถึงข้อตกลงด้านการเดินเรือว่า "เป็นสิ่งวิเศษสุดที่จีนยอมรับ นั่นก็คือ กฎการสัญจร"
       
"มันอาจไม่ใช่ระเบียบปฏิบัติที่ครอบคลุมทุกด้าน แต่ก็เป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยลดการเผชิญหน้าได้... หากเกิดเรื่องทำนองนี้ขึ้นอีก เช่น เรือจีนไปเจอเข้ากับเรือรบของสหรัฐฯ ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันจะต้องเกิดบ่อยขึ้นในอีกหลายสิบปีข้างหน้า เพราะจีนเองก็เร่งพัฒนาศักยภาพเรือรบให้สามารถออกปฏิบัติการไกลจากฝั่งมากขึ้นเรื่อยๆ"
       
"ดังนั้น ผมจึงมองว่าข้อตกลงเช่นนี้มีความสำคัญ เพื่อจะได้ไม่เกิดเหตุการณ์เหมือนคราวเรือ ยูเอสเอส คาวเพนส์ อีก"

       
ข้อตกลงฉบับนี้ได้รับการเห็นชอบจากที่ประชุมกองทัพเรือภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก (Western Pacific Naval Symposium) ซึ่งจึดขึ้นทุกๆ 2 ปี โดยมีผู้แทนจากสหรัฐฯและอีกกว่า 20 ประเทศเข้าร่วม รวมไปถึงญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ซึ่งบาดหมางกับจีนเรื่องเขตแดนทางทะเล
       
สหรัฐฯ หันมาใช้ยุทธศาสตร์มุ่งสู่เอเชีย และพยายามที่จะขยายบทบาททางทหารเข้ามาในภูมิภาคนี้ ซึ่งสร้างความไม่พอใจต่อจีน แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้อีกหลายประเทศที่เป็นคู่ขัดแย้งกับจีนรู้สึกฮึกเหิม
       
จีนเตรียมรับมือด้วยการทุ่มงบพัฒนากองทัพให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น โดยเรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิงลำแรกของจีนถูกนำมาใช้งานเมื่อ 18 เดือนก่อน ขณะที่สถาบันนานาชาติเพื่อการศึกษาด้านยุทธศาสตร์ (ไอไอเอสเอส) เผยในรายงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ว่า แสนยานุภาพของกองทัพจีนในเวลานี้ถือว่าเหนือว่าญี่ปุ่นในทุกๆ ด้าน

ที่มา -




..-