ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

รัฐบาลเดินหน้าหนุนกิจการพาณิชย์นาวี

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 15, 13, 06:56:34 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

รัฐบาลเดินหน้าหนุนกิจการพาณิชย์นาวี "กิตติรัตน์"มอบคลังศึกษาเว้นภาษีค่าบริหารท่าเรือ เร่ง"เอ็กซิม แบงก์"ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ


นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมพาณิชย์นาวี ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีคลัง เป็นประธาน ว่าที่ประชุมได้รับทราบข้อเสนอของผู้ประกอบการเดินเรือที่เสนอให้รัฐยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) ของอัตราค่าภาระบริการท่าเรือ เหลือ 0% จากที่จัดเก็บในปัจจุบัน7% เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจ รวมทั้งให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ โดยที่ประชุมได้ฯ มอบหมายให้กระทรวงการคลังไปศึกษาความเป็นไปได้ให้ชัดเจนก่อน จากนั้นจึงเสนอกลับมาให้ที่ประชุมฯ พิจารณาอีกครั้ง

"คงเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังเป็นหลัก เพราะดูแลเรื่องการจัดเก็บภาษี ส่วนแนวทางจะเป็นอย่างไรคงต้องรอผลศึกษาออกมาก่อน โดยนายกิตติรัตน์ ได้บอกไปว่า ยังไม่ได้อนุมัติในทันที เพราะต้องดูให้รอบคอบหากช่วยเหลือไปแล้วอาจเข้าข่ายเลือกปฏิบัติเพียงเฉพาะผู้ประกอบการบางรายเท่านั้น เพราะตอนนี้ยังมีผู้ประกอบการอีกหลายรายที่ได้รับความเดือดร้อน"

ที่ประชุมฯยังเห็นชอบให้กระทรวงการคลัง ไปประสานกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิม แบงก์) ในการจัดเตรียมวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) ให้กับผู้ประกอบการเดินเรือน้ำมัน สามารถกู้เงินเพื่อต่อเรือใหม่ ให้มีลักษณะตามข้อกฎหมายการเดินเรือทางทะเลระหว่างประเทศในปี 2558 ที่กำหนดให้เรือขนส่งน้ำมันระหว่างประเทศต้องมีโครงสร้างเปลือกเรือเป็นสองชั้น จากเดิมที่มีเปลือกเรือเพียงชั้นเดียว เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่งน้ำมันทางเรือ ทำให้ผู้ประกอบการเรือน้ำมันหลายรายของไทยต้องเร่งปรับเปลี่ยนเรือใหม่ให้ทันก่อนที่กฎหมายฉบับใหม่จะมีข้อบังคับ ทั้งนี้ยังเห็นมีความเห็นตรงกันในการเร่งรัดส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือในประเทศไทยโดยให้ใช้เงินจากกองทุนพัฒนากองเรือพาณิชย์ไทยวงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาทเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเรือในประเทศไทยซึ่งปัจจุบันยังมีต้นทุนสูงกว่าในต่างประเทศ

นอกจากนั้นที่ประชุมยังได้หารือถึงการออกกฎหมายมารองรับอนุสัญญาแรงงานทางทะเล เมื่อปี 2549 ที่จัดทำขึ้นโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ไอแอลโอ) และองค์การทะเลโลก (ไอเอ็มโอ)ซึ่งอนุสัญญาฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 ส.ค.นี้ โดยเฉพาะการออก พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล ซึ่งล่าสุดกฎหมายฉบับดังกล่าวอาจมีผลบังคับใช้ไม่ทัน เพราะล่าสุดกระทรวงแรงงาน ยังอยู่ระหว่างการจัดเตรียมร่างพ.ร.บ.เสนอให้รัฐสภาพิจารณา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบเป็นมติก่อน เพื่อให้ครอบคลุมข้อบังคับที่มีรายละเอียดตามสัญญากว่า 14 ข้อ ให้ผู้ประกอบการสามารถเดินเรือไปยังประเทศที่เป็นภาคีสมาชิก 30 ประเทศได้โดยไม่ผิดระเบียบข้อตกลง

สำหรับข้อกฎหมายดังกล่าว เป็นอนุสัญญาที่บังคับใช้กับเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ หลังจากอนุสัญญาฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 ส.ค. 56 ซึ่งเรือทุกลำจะต้องมีใบสำคัญรับรองแรงงานทางทะเล และใบประกาศการปฏิบัติด้านแรงงานทางทะเล เพื่อให้เจ้าหน้าที่ใช้ในการตรวจสอบเมื่อเรือเทียบท่าขนส่งสินค้าในเขตท่าเทียบเรือของของประเทศสมาชิกทั้ง30 ประเทศได้ ซึ่งหากไทยไม่สามารถดำเนินการได้ทันจะส่งผลเสียต่อการประกอบธุรกิจ เพราะจะเกิดปัญหาในขั้นตอนการเดินเรือ ที่มีวิธีการตรวจสอบที่เข้มงวด และใช้เวลานานมาก

ที่มา -